บริษัทรอยัลแอฟริกัน

บริษัทรอยัลแอฟริกันเป็นบริษัทค้าทาสซึ่งจัดตั้งขึ้นโดยราชวงศ์สจวตและพ่อค้าชาวกรุงลอนดอน เมื่อราชวงศ์สจวตกลับคืนสู่ราชบัลลังก์อังกฤษหลังจากการฟื้นฟูราชวงศ์อังกฤษ นำโดยเจมส์ที่ 2 ดยุคแห่งยอร์ก บริษัทดังกล่าวได้รับสิทธิ์ในการผูกขาดการค้าทาสของอังกฤษ ตามกฎบัตรซึ่งได้มีผลบังคับใช้ในปี ค.ศ. 1660 ด้วยความช่วยเหลือของกองทัพบกและกองทัพเรือ บริษัทได้ก่อตั้งสถานีการค้าตามแนวชายฝั่งแอฟริกาตะวันตก และบริษัทยังรับผิดชอบต่อการยึดเรือคู่แข่งสัญชาติอังกฤษลำใดที่ขนส่งทาสอีกด้วย

บริษัทถูกยุบในปี ค.ศ. 1667 ระหว่างสงครามกับเนเธอร์แลนด์ ซึ่งในตอนปลายสงคราม บริษัทได้สนับสนุนให้พลเรือเอก โรเบิร์ต โฮมส์ โจมตีสถานีการค้าทาสแอฟริกันของดัตช์ในปี ค.ศ. 1664 อย่างไรก็ตาม บริษัทได้ถือกำเนิดขึ้นมาใหม่ในปี ค.ศ. 1672 หลังจากได้รวมกับบริษัทของพ่อค้าแกมเบียจนกลายมาเป็นบริษัทรอยัลแอฟริกันแห่งใหม่ โดยมีกฎหมายให้จัดตั้งค่ายทหาร โรงงาน กองกำลัง และเพื่อใช้กฎอัยการศึกในแอฟริกาตะวันตก ตามด้วยการค้าทองคำ เงิน และทาส[1]

ในคริสต์ทศวรรษ 1680 บริษัทได้ขนส่งทาสกว่า 5,000 คนต่อปี ทาสจำนวนมากถูกตีตราด้วยตัวอักษร 'DY' ตามตำแหน่งของประธานบริษัท ดยุคแห่งยอร์ก ผู้ซึ่งสืบทอดราชบัลลังก์ต่อจากพระเชษฐาในปี ค.ศ. 1685 และกลายเป็นสมเด็จพระเจ้าเจมส์ที่ 2 ในขณะที่ทาสอีกส่วนหนึ่งถูกตีตราด้วยอักษรย่อของบริษัท RAC บนหน้าอกของพวกเขา[2] และระหว่าง ค.ศ. 1672-1689 บริษัทได้ขนส่งนักโทษรวมกว่า 90,000-100,000 คน กำไรของบริษัทได้มีส่วนสำคัญในการเพิ่มอำนาจทางการเงินแก่ผู้ซึ่งควบคุมลอนดอน

ในปี ค.ศ. 1698 บริษัทได้สูญเสียการผูกขาด ซึ่งเป็นประโยชน์แก่พ่อค้าในบริสตอล ถึงแม้ว่า เช่นเดียวกับชาวบริสตอล เอ็ดเวิร์ด โคลสตัน พวกเขาได้มีส่วนร่วมในส่วนผสมนี้แล้ว จำนวนทาสซึ่งได้รับการขนส่งโดยเรืออังกฤษจึงได้เพิ่มขึ้นอย่างมากหลังจากนั้น

บริษัทยังคงค้าทาสต่อไปจนกระทั่ง ค.ศ. 1731 เมื่อบริษัทละทิ้งการค้าทาสโดยหันไปค้าขายงาและผงทองแทน ชาร์ลส์ เฮยส์ (1678-1760) นักคณิตศาสตร์และผู้เชี่ยวชาญด้านลำดับเหตุการณ์ เป็นรองประธานบริษัทรอยัลแอฟริกันจนกระทั่งบริษัทถูกยุบในปี ค.ศ. 1752 บริษัทที่เข้ามารับหน้าที่แทน คือ บริษัทพ่อค้าแอฟริกัน

อ้างอิง

แก้
  1. Kitson, Frank. (1999) Prince Rupert: Admiral and General-at-Sea. London: Constable, p.238.
  2. Micklethwait, John, and Adrian Wooldridge. The Company: A Short History of a Revolutionary Idea. New York: Modern Library, 2003. ISBN 0-679-64249-8.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้