น้ำเต้าต้น

สปีชีส์ของพืช
น้ำเต้าต้น
Crescentia cujete
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Plantae
ไม่ได้จัดลำดับ: Angiosperms
ไม่ได้จัดลำดับ: Eudicots
ไม่ได้จัดลำดับ: Asterids
อันดับ: Lamiales
วงศ์: Bignoniaceae
สกุล: Crescentia
L.
สปีชีส์: C.  cujete
ชื่อทวินาม
Crescentia cujete
L.

น้ำเต้าต้น (อังกฤษ: Calabash Tree; ชื่อวิทยาศาสตร์: Crescentia cujete) เป็นพืชในวงศ์แคหางค่าง (Bignoniaceae) มีถิ่นกำเนิดในอเมริกากลาง[1]

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ แก้

น้ำเต้าต้นเป็นไม้พุ่มโปร่งขนาดกลาง ใบเดี่ยวเรียงเป็นกระจุกบนจุดตามกิ่ง ใบรูปหอกกลับ โคนใบสอบเรียว ปลายใบเป็นติ่งหนาม ขอบใบเรียบ ดอกเดียวสมบูรณ์เพศ ออกตลอดปี สมมาตรด้านข้าง ออกบนตุ่มตามกิ่งบริเวณที่ติดใบ กลีบเลี้ยงห้ากลีบ เชื่อมติดกัน จึงทำให้มองเห็นเป็นสองกลีบ โดยกลีบที่หนึ่ง ประกอบด้วยสองกลีบย่อย และกลีบที่สอง ประกอบด้วยสามกลีบย่อย กลีบดอกห้ากลีบ เชื่อมติดกันเป็นรูประฆัง ปลายกลีบแยกเป็นรูปปากเปิด ส่วนที่อยู่บนมีสองกลีบ สีเขียว เกสรเพศผู้มีสี่อัน เป็นแบบสองคู่ยาวไม่เท่ากัน ติดบนกลีบดอก อับเรณูติดกับก้านชูอับเรณูแบบถ่าง เกสรเพศเมียมีหนึ่งอัน ปลายแผ่แบน มีสี่คาร์เพล หนึ่งช่อง รังไข่เหนือวงกลีบ ผลกลม มีผิวเกลี้ยงและแข็ง ภายในจะมีเนื้อและเมล็ด แบน ๆ ออกดอกตลอดปี ขยายพันธุ์ด้วยการเพาะเมล็ด ตอนกิ่ง

ประโยชน์ แก้

เปลือกนำมาต้มกับน้ำ ดื่มแก้ท้องเดินและใช้ล้างแผล ผลดิบนำมาทานเป็นยาระบายอ่อน ๆ แต่ไม่ควรทานมากเพราะจะทำให้ท้องเสีย เนื้อในผลทานเป็นยาขับปัสสาวะ แก้บิด ยาระบาย แก้ไข้ พอกแก้ปวดศีรษะ แต่เป็นพิษต่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมตัวเล็ก ๆ และนกต่าง ๆ ใบสดนำมาตำหรือบดให้ละเอียด นำมาพอกแก้ปวดศีรษะได้[2]

สารเคมี แก้

ภายในเมล็ดของผลนั้นจะมีน้ำมัน ซึ่งคล้ายกับน้ำมันถั่วลิสงและน้ำมันมะกอก ส่วนในเนื้อผลนั้นมีกรดอยู่หลายชนิด เช่น กรดแทนนิก, กรดซิตริก, กรดทาร์ทาริก, คลอโรเจนิก, เครสเซนติก

อ้างอิง แก้

แหล่งข้อมูลอื่น แก้