นิราศพระประธม เป็นผลงานกวีนิพนธ์แบบกลอนประพันธ์โดยสุนทรภู่ สันนิษฐานว่าประพันธ์ในสมัยรัชกาลที่ 3 หลังจากลาสิกขาบทแล้วและอยู่ในพระอุปถัมภ์ของสมเด็จเจ้าฟ้าจุฑามณี กรมขุนอิศเรศรังสรรค์ สุนทรภู่น่าจะเดินทางในช่วงฤดูหนาว ปี พ.ศ. 2385 ด้วยปรากฏในบทนิราศว่าเดินทางไปโดยการพายเรือ ซึ่งควรต้องไปในฤดูน้ำขึ้น ต้นฉบับสมุดไทยนิราศพระประธม จำนวน 4 ฉบับ เก็บรักษาที่หอสมุดแห่งชาติ[1] มีความแตกต่างทางระดับถ้อยคำและบางแห่งมีความแตกต่างในหลายคำกลอน

นิราศพระประธม
กวีพระสุนทรโวหาร (ภู่)
ประเภทกลอนนิราศ
คำประพันธ์กลอนสุภาพ
ยุครัชกาลที่ 3
ปีที่แต่งพ.ศ. 2385
ส่วนหนึ่งของสารานุกรมวรรณศิลป์

เนื้อหาโดยย่อ และเส้นทางการเดินทาง แก้

นิราศพระประธมกล่าวถึงการเดินทางของสุนทรภู่และบุตรชายคือตาบและนิลไปนมัสการพระปฐมเจดีย์ จังหวัดนครปฐม เดินทางทางเรือออกจากบริเวณพระราชวังเดิมผ่านสถานที่ต่าง ๆ ได้แก่ วัดระฆัง คลองบางกอกน้อย ผ่านตลาดแพ พระราชวังหลังสถานที่ที่สุนทรภู่เคยรับราชการ บางหว้าน้อย วัดสุวรรณารามราชวรวิหารเป็นสถานที่ทำศพของฉิมและนิ่มน้องสาวต่างบิดาของสุนทรภู่ วัดศรีสุดารามวรวิหาร สถานที่ที่กวีเคยบวชอยู่[2]

จังหวัดนนทบุรี เดินทางผ่านบางสนาม วัดเกด วัดชลอ บางกรวย บางสีทอง บางอ้อช้าง วัดสักใหญ่ บางขนุน บางขุนกอง บางนายไก บางระนก บางคูเวียง บางม่วง บางใหญ่ บางกระบือ บางสุนัขบ้า บางโสน บ้านใหม่ธงทอง คลองโยง บางเชือก เข้าจังหวัดนครปฐม เดินทางผ่านลานตากฟ้า งิ้วราย สำประทวน ปากน้ำสำประโทน บางแก้ว โพเตี้ย บางกระชับ วัดสิงห์ วัดท่าใน ต่อจากนั้นได้นั่งเกวียนต่อไปบ้านกล้วย บ้านธรรมศาลา บ้านเพนียด และพระปฐมเจดีย์

อ้างอิง แก้

  1. "เกือบ 200 ปียังไม่มีคำตอบ? ลับลมคมใน'นิราศพระประธม'หลากเงื่อนปม รัก ชัง วิวาทะ". มติชน.
  2. "นิราศพระประธม 2". นามานุกรมวรรณคดีไทย.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้