นิติปรัชญา
นิติปรัชญา (อังกฤษ: philosophy of law) คือ ทฤษฎีและปรัชญาแห่งกฎหมาย เหล่านิติปรัชญาเมธีมีความมุ่งหมายจะเข้าใจให้ลึกซึ้งซึ่งสภาพแห่งกฎหมาย การให้เหตุผลทางกฎหมาย ระบบกฎหมาย และสถาบันทางกฎหมาย นิติปรัชญาสมัยใหม่เริ่มก่อตัวในคริสต์ศตวรรษที่ 18 โดยมุ่งเป้าไปที่หลักการพื้นฐานแห่งกฎหมายธรรมชาติ กฎหมายแพ่ง และกฎหมายแห่งประชาชาติ[1]
โดยทั่วไป นิติปรัชญาสามารถจัดเข้าหมวดหมู่ได้ตามประเภทแห่งคำถามที่อยู่ในใจของนิติปรัชญาเมธีเอง และตามประเภทแห่งทฤษฎีของนิติปรัชญาเอง โดยไม่คำนึงว่า คำถามมีคุณค่าหรือไม่ ในที่นี้ นิติปรัชญาเมธีร่วมสมัยที่สนใจในนิติปรัชญาพื้นฐานจะมีคำถามในลักษณะดังกล่าวอยู่สองข้อ คือ (1) คำถามเกี่ยวกับกฎหมายแห่งประชาชาติ และระบบของมัน และ (2) คำถามเกี่ยวกับสถาบันทางกฎหมาย[2]
ในไทยเริ่มเกิดขึ้นในปี 2516 ที่ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โดยอาจารย์ ปรีดี เกษมทรัพย์ [3]ที่พยายามให้ผู้เรียนคณะ นิติศาสตร์ เกิดการถกเถียงโต้แย้ง[4] มากกว่าอาศัยกฎหมายหลักสี่มุมเมือง ประกอบกับภาวะสถานการณ์การเมืองในขณะนั้น จนเกิดการปฎิรูปกฎหมาย
คำนิยามนิติปรัชญา
George Whitecross Paton : นิติปรัชญาเป็นวืธีการศึกษาที่มีลักษณะเฉพาะอย่างหนึ่งเนื่องด้วยมิใช่เป็นการศึกษากฎหมายของประเทศใดประเทศหนึ่ง แต่หากเป็นการศึกษาแนวความคิดทั่วไปในตัวกฎหมาย
R.W.M. Dias : นิติปรัชญาเป็นการศึกษาเกี่ยวกับโครงสร้าง , การใช้และบทบาทของกฎหมาย ตลอดจนแนวความคิดเกี่ยวกับกฎหมาย
Julius Stone : นิติปรัชญาเป็นเรื่องการตรวจสอบศึกษาของนักกฎหมายต่อหลักการ , อุดมคติ และเทคนิคของกฎหมายในแง่มุมความคิดจากความรอบรู้ปัจจุบัน
หรือในทรรศนะของอาจารย์ผู้สอนนิติปรัชญาไทย มีนิยามต่างกันอาทิ[5]
- “นิติปรัชญาศึกษาถึงรากฐานทางทฤษฎีของกฎหมาย ศึกษาถึงอุดมคติสูงสุดหรือคุณค่าอันแท้จริงของกฎหมาย หรือแก่นสารของกฎหมาย” - ดร ปรีดี เกษมทรัพย์
- ”วิชาปรัชญากฎหมายได้แก่ การศึกษาถึงหลักการพื้นฐานอย่างลึกซึ้งในกฎหมายเพื่อแสวงหาอุดมการขั้นสุดท้าย และค่านิยมที่แท้จริงของกฎหมาย” - ดร อุกฤษ มงคลนาวิน
- ”นิติปรัชญาเป็นการศึกษาถึงความสัมพันธ์ระหว่างกฎหมายกับความยุติธรรม เป็นการศึกษาให้เข้าถึงซึ่งสัจธรรม วิญญาณกฎหมาย หรือสิ่งที่เป็นคุณค่าหลักการ และทฤษฎีซึ่งอยู่เบื้องหลังตัวบท และวิธีการทางกฎหมาย” - ดร รองพล เจริญพันธุ์[6]
อ้างอิง
แก้- ↑ "Jurisprudence", Black's Law Dictionary
- ↑ Shiner, "Philosophy of Law", Cambridge Dictionary of Philosophy
- ↑ "ศ.ดร.ปรีดี เกษมทรัพย์ อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เสียชีวิต". thansettakij. 2019-01-04.
- ↑ https://prachatai.com/journal/2019/02/81212 40 ปี นิติปรัชญา (1) จรัญ โฆษณานันท์: กฎหมายไทยกับอำนาจนิยมเชิงศีลธรรม
- ↑ วิษณุ เครืองาม,”คำอธิบายความรู้เบื้องต้นทางนิติปรัชญา”,หน้า 7
- ↑ รองพล เจริญพันธุ์,”นิติปรัชญา”(มหาวิทยาลัยรามคำแหง 2528) หน้า 6 รองพล เจริญพันธุ์,”นิติปร้ชญา”,(มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์,2520),หน้า 3