นิติกรรมทางแพ่ง

นิติกรรม ในความหมายประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ตามมาตรา 149 ได้ให้ความหมายไว้ว่า "การใดๆอันบุคคลกระทำลงโดยชอบด้วยกฎหมายและด้วยใจสมัครมุ่งโดยตรงต่อการผูกนิติสัมพันธ์ขึ้นระหว่างบุคคล เพื่อจะก่อ เปลี่ยนแปลง โอน สงวนหรือระงับซึ่งสิทธิ" ในบางประเทศที่ใช้กฎหมายลายลักษณ์อักษร (Civil Law System) จะพูดถึงหลักนิติกรรมและครอบครุมไปถึงหลักสัญญา บางประเทศที่ใช้กฎหมายจารีตประเพณี (Common Law System) จะพูดเพียงแต่หลักสัญญาเท่านั้นโดยครอบคลุมถึงนิติกรรมฝ่ายเดียวและนิติกรรมหลายฝ่าย[1]

เหตุทางกฎหมาย แก้

ไม่ว่าจะเรียกว่า เหตุการณ์ในทางกฎหมาย , เหตุในกฎหมาย หรือ นิติการณ์ ทั้งหมดล้วนมีผลให้เกิดสิทธิและหน้าที่ผูกผันกันตามกฎหมายคือ "นิติเหตุ"[2] อาจเกิดจากการกระทำของบุคคลหรือไม่เกิดจากการกระทำของบุคคลเลยก็ได้ นิติเหตุนั้นสามารถทำให้เกิดการก่อสิทธิ เปลี่ยนแปลงสิทธิ โอนสิทธิ สงวนสิทธิ หรือระงับสิทธินั้นๆ นิติเหตุมี 2 กรณีคือ

  • นิติเหตุโดยธรรมชาติ กล่าวคือ เป็นเหตุที่สามารถเกิดได้เองโดยธรรมชาติเป็นผู้กระทำ แต่มีกฎหมายเข้าไปรับรองให้มีผลตามกฎหมาย เช่น เหตุหรือปรากฏการณ์ที่เกิดกับชีวิตของบุคคลธรรมดา เช่นการเกิดของบุคคลธรรมดาทำให้เริ่มต้นสภาพบุคคล (มาตรา 15 วรรคแรก) การมีสภาพบุคคลทำให้บุคคลนั้นสามารถมีสิทธิหรือสามารถมีหน้าที่ต่างๆตามที่กฎหมายบัญญัติไว้
  • นิติเหตุที่เกิดขึ้นจากการกระทำของบุคคล แบ่งออกมาเป็น 2 ประการ
  1. ผู้กระทำมีเจตนามุ่งให้เกิดผลในกฎหมายหรือไม่ก็ได้ เช่น การทำละเมิด (มาตรา 420) จัดการงานนอกสั่ง (มาตรา 395) ลาภมิควรได้ (มาตรา 406)
  2. ผู้กระทำมีเจตนามุ่งให้เกิดผลทางกฎหมาย โดยผู้กระทำมีเจตนามุ่งให้เกิดผลทางกฎหมาย ผู้กระทำทำโดยชอบกฎหมายและด้วยใจสมัครมีเจตนามุ่งให้เกิดการเคลื่อนไหว [3]

อ้างอิง แก้

  1. ราชบัณทิตยสถาน, 2551 ออนไลน์
  2. พวงผกา ประสาน บุญโสภาคย์ คำบรรยายกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยนิติกรรมและสัญญา (กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง , 2546), หน้า 5
  3. ไชยยศ เหมะรัชดะ หนังสือหลักกฎหมายนิติกรรม-สัญญา หน้า 22