นิคมอุตสาหกรรมแหลมฉบัง

นิคมอุตสาหกรรมแหลมฉบัง เป็นนิคมอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ พัฒนาและบริหารโดยการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย มีพื้นที่ 3,556 ไร่ ครอบคลุมอำเภอศรีราชา และอำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี ประเทศไทย ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของเขตเศรษฐกิจชายฝั่งทะเลภาคตะวันออกของประเทศไทย เพื่อรองรับการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจและชุมชนรัฐบาลจึงตั้งเทศบาลนครแหลมฉบังขึ้นเพื่อบริหารจัดการในท้องถิ่น[1] ปัจจุบันมีจำนวนโรงงานอุตสาหกรรม 163 แห่ง แรงงาน 20,905 คน[2]

นิคมอุตสาหกรรมแหลมฉบังเริ่มพัฒนามาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2525 ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ “เขตเศรษฐกิจแหลมฉบัง” ตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 5 (พ.ศ. 2525 -2529) และแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 6 (พ.ศ. 2530 - 2534) เพื่อเป็นเมืองท่าชายฝั่งทะเล และศูนย์กลางพาณิชย์อุตสาหกรรมเพื่อการส่งออกรองรับท่าเรือแหลมฉบัง

โรงงานอุตสาหกรรมสำคัญได้แก่ ชิ้นส่วนประกอบรถยนต์กลุ่มบริษัทไทยซัมมิท[3] รถยนตร์มิตซูบิชิ ยางมิชลิน เครื่องครัวและพลาสติกขึ้นรูป เครื่องปรับอากาศและคอมเพรสเซอร์ฟูจิตสึ สิ่งทอและเส้นใย และอาหารแปรรูป

นอกจากนี้ในบริเวณใกล้เคียงยังมีโรงงานอุตสาหกรรมสำคัญได้แก่ สวนอุตสาหกรรมศรีราชา[4] โรงกลั่นน้ำมันไทยออยล์[5] โรงกลั่นน้ำมันบางจาก[6] คลังก๊าซ ปตท.

13°15′01″N 100°32′30″E / 13.2503°N 100.5416°E / 13.2503; 100.5416

อ้างอิง

แก้
  1. ความเป็นมาของนิคมอุตสาหกรรมแหลมฉบัง Eastern Economic Corridor (EEC)
  2. ข้อมูลโรงงานในเขตการนิคมแห่งประเทศไทย กรมโรงงานอุตสาหกรรม
  3. "Thai Summit Group - กลุ่มบริษัทไทยซัมมิท ผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ชั้นนำของเอเชีย". www.thaisummit.co.th.
  4. "บริษัท สหพัฒนาอินเตอร์โฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน)". SPI (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).
  5. "Thaioil Group". www.thaioilgroup.com.
  6. "ธุรกิจโรงกลั่น". www.bsrc.co.th.