นครินทร์ ชาทอง (15 กันยายน พ.ศ. 2488 – 28 ธันวาคม พ.ศ. 2563) เป็นครูหนังตะลุงที่มีชื่อเสียงของไทยในอดีต และเป็นศิลปินแห่งชาติ พ.ศ. 2550

นครินทร์ ชาทอง
เกิด15 กันยายน พ.ศ. 2488
เสียชีวิต28 ธันวาคม พ.ศ. 2563 (75 ปี)
รางวัล
ศิลปินแห่งชาติสาขาศิลปะการแสดง

ประวัติ

แก้

สำเร็จการศึกษา ครุศาสตรบัณฑิต จากวิทยาลัยครูสงขลา และ ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต จาก มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ สงขลา รับราชการเป็นครู

สนใจการแสดงหนังตะลุงมาตั้งแต่อายุ 8 ขวบ โดยการฝึกฝนจากคุณตา คือหนังวอน รัตนศรี ในขณะเรียนหนังสือ ก็ฝึกหนังตะลุงไปด้วย จนถึงปี พ.ศ. 2504 จึงตั้งเป็นคณะ หนังตะลุง ขึ้นเมื่ออายุ 16 ปี จนเป็นที่รู้จัดในนาม หนังนครินทร์ ชาทอง ขวัญใจนักเรียน ต่อมาได้ใช้สื่อพื้นบ้านหนังตะลุงประชาสัมพันธ์ รณรงค์ให้หน่วยงานภาครัฐในเรื่องต่าง ๆ เช่น ต่อต้านยาเสพติด การวางแผนครอบครัว เผยแพร่หนังตะลุงใน ประเทศฝรั่งเศส สหรัฐอเมริกา และประเทศมาเลเซีย เพื่อเผยแพร่วัฒนธรรมไทย สั่งสอนถ่ายทอดศิษย์ ทั้งในและนอกระบบการศึกษาไว้ 209 คน

นครินทร์ ชาทอง ถึงแก่กรรม เมื่อวันที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2563 สิริอายุรวม 75 ปี มีพิธีพระราชทานเพลิงศพเมื่อวันที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2564 ณ วัดประทุมธาราวาส อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา

ผลงานวรรณกรรมหนังตะลุง

แก้

การแสดงหนังตลุง รักษาธรรมเนียมการแสดงแบบโบราณ ทุกเรื่องที่ใช้การแสดงสอดใส่แง่คิดและคติสอนใจ สร้างความเข้าใจระหว่างทางราชการกับประชาชน รวมเรื่องที่ใช้การแสดงตั้งแต่เริ่มฝึกฝนถึงปัจจุบัน จำนวน 110 เรื่อง

ผลงานที่เป็นความคิดริเริ่ม

แก้
  • ฟื้นฟูการแสดงหนังตะลุงคน โดยนำเรื่องจากวรรณคดีมาแสดง
  • ฟื้นฟูหนังตะลุงรุ่นเก่าสร้างโอกาสให้แสดงในงานพิธีต่างๆ
  • เขียนบทหนังตะลุงสำหรัยเด็ก เพื่อนำสื่อหนังตะลุงเข้าสู่การเรียนการสอน โดยยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ เช่นเรื่องพระมหาชนก
  • ออกแบบสร้างรูปหนังตะลุงสำหรับเด็กโดยเฉพาะ
  • สอนและฝึกให้นักเรียนอ่านทำนองเสนาะเป็นทำนองหนังตะลุง
  • จัดตั้งชมรมหนังตะลุงจังหวัดสงขลาและยกฐานะชมรมหนังตะลุงจังหวัดสงขลาเป็นสมาพันธ์หนังตะลุงจังหวัดสงขลา

ผลงานด้านการเขียน

แก้
  • เขียนปริญญานิพนธ์ เรื่องศิลปะการแสดงหนังตะลุงในจังหวัดสงขลา เขียนกลอนเฉิลมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เนื่องในวโรกาสทรงเจริญพระชนมายุ 40พรรษา
  • แต่งกลอนพร้อมบันทึกเทปเพื่อให้ความรู้เรื่องโรคเอดส์ ตามนโยบายของสำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ ผ่านสภาวัฒธรรมจังหวัดสงขลา ณ สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทยช่อง 11 จังหวัดสงขลา
  • เขียนบทกลอนและร่วมกำกับการแสดงละครสั้นในโครงการส่อพื้นบ้านเพื่อสังคมของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ ในรายการทั่วแค้วนแดนใต้
  • ทำโครงการจัดทำหนังสือตำนานเมืองของอำเภอคลองหอยโข่ง ร่วมกับผู้ทรงคุณวุฒิในอำเภอคลองหอยโข่ง

ผลงานด้านอื่นๆ

แก้
  • ใช้สื่อพื้นบ้านหนังตะลุงเผยแพร่งานประชาสัมพันธ์ หน่วยงานของรัฐ
  • เป็นวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิและผู้สาธิตการแสดงหนังตะลุงในหน่วยงานต่างๆ
  • เป็นวิทยากรโครงการสัมมนาพื้นบ้านเพื่อการพัฒนาประชาธิปไตย
  • เป็นวิทยากรในการประชุมสัมนาดนตรีหนังตะลุงจังหวัดสงขลา
  • เป็นวิทยากรให้ความรู้เรื่องศิลปะการแสดงหนังตะลุงและการแสดงพื้นบ้านภาคใต้แก่นักเรียนในสถาบันการศึกษาต่างๆในจังหวัดสงขลา
  • เป็นวิทยากร ณ ศูนย์การศึกษาภาคใต้ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์วิทยาเขตปัตตานี เรื่องทิศทางร้อยกรองไทย

เกียรติคุณที่ได้รับ

แก้
  • พ.ศ. 2527 ได้รับเกียรติบัตรจากสำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ ในฐานะบุคลากรเพื่ออนุรักษ์เผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมไทยเมื่อ 11 สิงหาคม 2527
  • พ.ศ. 2532 ได้รับโล่เกียรติคุณจากผลงานการผลิตสื่อหนังตะลุงต่อต้านยาเสพติด เรื่อง วูบเดียวแห่งชีวิต จากคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ เมื่อ 25 พฤศจิกายน 2532
  • พ.ศ. 2540 รับพระราชทานเครื่องหมายเชิดชูเกียรติ ผู้มีผลงานดีเด่นทางด้านวัฒนธรรม จากคณะวัฒนธรรมแห่งชาติ เมื่อ 24 กุมภาพันธ์ 2540
  • พ.ศ. 2548 ได้รับการคัดเลือกให้เป็นครูภูมิปัญญาไทย รุ่นที่ 4 จากสำนักเลขาธิการ สภาการศึกษา เมื่อ 15 สิงหาคม 2548
  • พ.ศ. 2550 ได้รับการคัดเลือกเป็นศิลปินแห่งชาติ

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย, เล่ม ๑๑๙ ตอนที่ ๒ ข หน้า ๒๒๓, ๒๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๕
  2. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย, เล่ม ๑๑๕ ตอนที่ ๒ ข หน้า ๖๔๙, ๑๘ มกราคม ๒๕๔๑
  3. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ เนื่องในโอกาสพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา ประจำปี ๒๕๕๑, เล่ม ๑๒๖ ตอนที่ ๒ ข หน้า ๑๒๒, ๒๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒
  4. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๑๑๗ ตอนที่ ๔ ข หน้า ๑๓๔, ๒๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๓