ธรรม

แนวคิดสําคัญในปรัชญาอินเดียและศาสนาตะวันออกที่มีความหมายหลากหลาย
(เปลี่ยนทางจาก ธรรมะ)

ธรรม หมายถึง สภาพที่ทรงไว้, ธรรมดา, ธรรมชาติ, สภาวธรรม, สัจจธรรม, ความจริง; เหตุ, ต้นเหตุ; สิ่ง, ปรากฏการณ์, ธรรมารมณ์, สิ่งที่ใจคิด; คุณธรรม,ความดี, ความถูกต้อง, ความประพฤติชอบ; หลักการ, แบบแผน, ธรรมเนียม, หน้าที่; ความชอบ, ความยุติธรรม; พระธรรม, ท่านพุทธทาสภิกขุ ให้คำนิยามไว้ในหนังสือของท่านว่า ธรรม มีความหมายที่ยิ่งใหญ่ ไม่สามารถหาคำพูดที่เป็นภาษาของมนุษย์มานิยามได้ แต่ขอนิยามให้เข้าใจพอสังเขปไว้ด้วยความว่า หน้าที่ เพราะไม่มีสิ่งใดในสากลโลกที่ไม่มีหน้าที่ ธรรมนั้นคือความเที่ยงธรรม ยุติธรรม ในหลักธรรมนั้น

พระธรรมในศาสนาพุทธ แก้

ศาสนาพุทธเรียกธรรมว่าพระธรรม คือหลักความเป็นไปของโลก เน้นความจริงที่เกิดขึ้นกับโลก การเกิด ดับ ไม่มุ่งเน้นความสบาย พระพุทธศาสนาสอนให้มุ่งเน้นในส่วนที่โลกกำลังดำเนินอยู่ เกี่ยวพัน เกี่ยวข้องกับระบบทั้งมวล เราอยู่ในจักรวาล ก็ย่อมดำเนินตามระบบของจักรวาล เราอยู่ในโลกก็ย่อมดำเนินตามระบบของโลก ทุกอย่างล้วนเกี่ยวข้องกับธรรมชาติ ธรรมชาติก็คือระบบ ทุกอย่างพัวพันกับระบบ พระพุทธเจ้าสอนให้รู้จักระบบ และอยู่บนระบบได้อย่างเป็นสุข รู้ทันระบบ ดำเนินอยู่ในระบบได้อย่างเป็นสุข ไม่ระแวงกับระบบ แต่สามารถอยู่ในขณะที่ระบบกำลังกลั่นแกล้งเราได้ อยู่กับธรรมชาติ ได้อย่างเป็นสุข รู้ทางพ้นจากทุกข์ หรือพ้นจากระบบได้ในทางที่ถูกต้อง เหมาะสม นี่คือ หลักธรรมในพระพุทธศาสนาที่แท้จริง ในพระไตรปิฎกของพุทธศาสนาจะพบคำว่า ธรรมและวินัย ควบกันไปเช่นพระพุทธเจ้า ตรัสไว้ว่า [1]

อานนท์  ! ธรรมวินัยใดอันเราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่เธอทั้งหลาย ธรรมและวินัยนั้นจักเป็นศาสดาของเธอทั้งหลายโดยกาลล่วงไปแห่งเรา

คำว่า ธรรม พระพรหมคุณาภรณ์ (ประยุทธ์ ปยุตฺโต) และหลวงพ่อพุทธทาสกล่าวว่า คือ[2]

  1. ธรรมชาติ
  2. กฎของธรรมชาติ
  3. หน้าที่ตามกฎของธรรมชาติ
  4. การได้รับผลตามกฎของธรรมชาติ

คำว่า ธรรม พระราชวรมุนี (ประยุทธ์ ปยุตโต) กล่าวไว้ว่า คือ “สภาพที่ทรงไว้, ธรรมดา, ธรรมชาติ สภาวะธรรม, สัจธรรม, ความจริง, เหดุ, ต้นเหตุ, สิ่ง, ปรากฏการณ์ ฯลฯ

อ้างอิง แก้

  1. พระไตรปิฎก วินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม 1 ภาค 1 หน้าที่ 25
  2. พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต). "พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์".