ชนก (สันสกฤต: जनक) เป็นกษัตริย์แห่งรัฐวิเทหะซึ่งตั้งอยู่ระหว่างฝั่งตะวันออกของแม่น้ำคัณฑกี ฝั่งตะวันตกของแม่น้ำมหานันทา และฝั่งเหนือของแม่น้ำคงคา[1][2]

ฤษียาชญวัลกยะถวายคำสอนแก่พระเจ้าชนก รูป ณ วิหารแห่งหนึ่งในเมืองราเมศวรัม รัฐทมิฬนาฑู ประเทศอินเดีย
พระเจ้าชนกรับเสด็จพระเจ้าทศรถก่อนเริ่มงานเสกสมรสของสีดาและพระราม ภาพวาดราว ค.ศ. 1700–10

พระองค์ทรงได้รับยกย่องว่า เป็นแบบอย่างของกษัตริย์ที่ไม่ยึดติดกับลาภยศศฤงคาร แม้จะทรงครองความมั่งคั่งและสุขสบายมากยิ่งก็ตาม พระองค์ยังสนพระทัยในปรัชญาทางจิตวิญญาณ และไม่ผูกพันพระองค์กับมายาคติทางโลก เอกสารโบราณระบุว่า พระองค์ทรงมีปฏิสัมพันธ์กับนักพรตนักบวชมากมาย เช่น อัษฏาวกระ และสุลาภะ วรรณกรรมระบุว่า พระองค์มีพระธิดาบุญธรรมนามว่า สีดา นอกจากนี้ เมืองชนกปุระในประเทศเนปาลปัจจุบันตั้งชื่อตามพระนามของพระองค์[3]

ในวรรณกรรมสมัยพระเวท

แก้

วรรณกรรมสมัยพระเวทตอนปลาย เช่น ศตปถพราหมณะ และ พฤหทารัณยกอุปนิษัท ระบุว่า มีกษัตริย์นักปราชญ์พระองค์หนึ่งครองรัฐวิเทหะในราวศตวรรษที่ 7 ก่อนคริสตกาล มีพระนามว่า ชนก มีพระเกียรติยศเลื่องลือเพราะเหตุที่ได้ทรงอุปถัมภ์วัฒนธรรมและปรัชญาพระเวท ราชสำนักของพระองค์เป็นศูนย์กลางแห่งภูมิปัญญาเพราะอุดมด้วยฤษี ที่มีชื่อเสียงเช่น ฤษียาชญวัลกยะ[4] ในรัชกาลของพระองค์ รัฐวิเทหะได้เป็นศูนย์กลางหลักทางการเมืองและวัฒนธรรมแห่งอนุทวีปอินเดีย[5]

ในวรรณกรรม

แก้

ในวรรณกรรมเรื่อง รามายณะ สีดา เจ้าหญิงแห่งรัฐวิเทหะ และมเหสีของพระรามแห่งรัฐโกศล มีพระบิดานามว่า ชนก ส่วน อัษฏาวกรคีตา ระบุถึงปฏิสัมพันธ์ของพระองค์กับนักพรตอัษฎาวกระ[6][7]

ดูเพิ่ม

แก้

อ้างอิง

แก้

เชิงอรรถ

แก้
  1. Jha, M. (1997). "Hindu Kingdoms at contextual level". Anthropology of Ancient Hindu Kingdoms: A Study in Civilizational Perspective. New Delhi: M.D. Publications Pvt. Ltd. pp. 27–42.
  2. Mishra, V. (1979). Cultural Heritage of Mithila. Allahabad: Mithila Prakasana. p. 13. สืบค้นเมื่อ 28 December 2016.
  3. Raychaudhuri 2006, p. 44.
  4. Raychaudhuri 2006, pp. 41–52.
  5. Michael Witzel (1989), Tracing the Vedic dialects in Dialectes dans les litteratures Indo-Aryennes ed. Caillat, Paris, 97–265.
  6. Vanita, Ruth (2009). "Full of God:Ashtavakra and ideas of Justice in Hindu Text". Religions of South Asia. 3 (2). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-03-02. สืบค้นเมื่อ 22 February 2017.
  7. Mukerjee, Radhakamal (1971). The song of the self supreme (Aṣṭāvakragītā): the classical text of Ātmādvaita by Aṣṭāvakra. Motilal Banarsidass Publ. ISBN 978-81-208-1367-0.

บรรณานุกรม

แก้