ท่าเรือมาคัมปุระ มหินทะ ราชปักษะ

ท่าเรือคัมปุระ มหินทะ ราชปักษะ (อังกฤษ: Magampura Mahinda Rajapaksa Port; สิงหล: මාගම්පුර මහින්ද රාජපක්‍ෂ) หรือ ท่าเรือฮัมบันโตตา (อังกฤษ: Hambantota Port) เป็นท่าเรือสมุทรในฮัมบันโดตา ประเทศศรีลังกา ท่าเรือระยะแรกเปิดในวันที่ 18 พฤศจิกายน 2553 ท่าเรือดังกล่าวสร้างในแผ่นดินและมีการท่าเรือศรีลังกาเป็นผู้ดำเนินการ[2] มูลค่าก่อสร้างโดยประมาณทั้งหมดของโครงการระยะที่ 1 คิดเป็น 361 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งร้อยละ 85 ได้รับการสนุบสนุนทุนจากธนาคารเอ็กซิมแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน[3]

ท่าเรือฮัมบันโตตา
ท่าเรือในปี 2013
ที่ตั้ง
ประเทศศรีลังกา
ที่ตั้งฮัมบันโตตา
Coordinates06°07′10″N 81°06′29″E / 6.11944°N 81.10806°E / 6.11944; 81.10806
UN/LOCODELKHBA[1]
รายละเอียด
เปิด18 พฤจิกายน 2010
บริหารโดยไชน่าเมอร์แชนตส์พอร์ท
จำนวนที่จอดเรือใช้งานได้3
IATAHBT
เว็บไซต์
www.slpa.lk

เริ่มการก่อสร้างในเดือนมกราคม 2551 จะเป็นท่าเรือใหญ่สุดอันดับสองของศรีลังการองจากท่าเรือโคลัมโบ ท่าเรือฮัมบันโดตาจะรองรับเรือที่แล่นตามเส้นทางขนส่งสินค้าตะวันออก-ตะวันตกซึ่งผ่านใต้ต่อฮัมบันโดตาเป็นระยะห่าง 6 ถึง 10 ไมล์ทะเล (19 กิโลเมตร) โครงการท่าเรือระยะแรกจะมีสถานที่กำบัง ซ่อมแซมเรือ ต่อเรือและเปลี่ยนลูกเรือ[4] ระยะหลังจะเพิ่มความจุของท่าเรือเป็น 20 ล้าน TEU ต่อปี เมื่อเสร็จสิ้นแล้ว อ้างว่าท่าเรือนี้จะเป็นท่าเรือใหญ่สุดที่สร้างบนแผ่นดินในคริสต์ศตวรษที่ 21 ทีเดียว[5]

อย่างไรก็ดี ในปี 2559 ท่าเรือฮัมบันโดตามีรายได้ 11.81 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และมีค่าใช้จ่าย 10 ล้านดอลลาร์สหรัฐคิดเป็นมูลค่าโดยตรงและมูลค่าบริการจัดการ คิดเป็นกำไรจากการดำเนินการเพียง 1.81 ล้านดอลลาร์สหรัฐ[6] เมื่อท่าเรือขาดทุนหนัก ทำให้การชำระหนี้คืนเป็นไปได้ยาก ในปี 2559 จึงมีการเสนอให้เช่าท่าเรือ 80% เป็นการแลกเปลี่ยนหนี้สินกับหุ้นของบริษัท[7] ให้แก่บริษัทที่ถือหุ้นใหญ่ท่าเรือวาณิชแห่งจีน (CMPort) ซึ่งจะลงทุน 1.12 พันล้านดอลลาร์สหรัฐเพื่อฟื้นฟูท่าเรือภายใต้หุ้นส่วนระหว่างภาครัฐและเอกชน[8][9][10] ต่อมา มีการตัดสินใจว่าภายใต้ความตกลง CMPort จะถอนทุน 20% ไปยังบริษัทศรีลังกาภายในสิบปี CMPort จะใช้จ่ายอย่างน้อย 700–800 ล้านดอลลาร์สหรัฐหรือกว่านั้น เพื่อดึงท่าเรือให้เข้าสู่ระดับปฏิบัติการ[11] ในเดือนกรกฎาคม 2560 มีการลงนามความตกลง แต่ลดการให้เช่าจากเดิม 80% เหลือ 70%[12]

อ้างอิง แก้

  1. "UNLOCODE (LK) - SRI LANKA". service.unece.org. สืบค้นเมื่อ 28 April 2020.
  2. "Development of Port in Hambantota". Sri Lanka Port Authority. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 March 2010. สืบค้นเมื่อ 10 March 2010.
  3. "Archived copy". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-03-06. สืบค้นเมื่อ 2010-03-10.{{cite web}}: CS1 maint: archived copy as title (ลิงก์)
  4. "Hambantota to ease Colombo Port congestion". Daily News. 2010-02-22. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 February 2010. สืบค้นเมื่อ 10 March 2010.
  5. Sirimane, Shirajiv (2010-02-21). "Hambantota port, gateway to world". The Sunday Observer. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 February 2010. สืบค้นเมื่อ 10 March 2010.
  6. http://www.dailymirror.lk/article/Hambantota-Port-sale-in-perspective-122278.html
  7. "Sri Lanka's Hambantota port loses Rs18.8bn a year". www.economynext.com. 2016-11-11. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-03-24. สืบค้นเมื่อ 2016-12-09.
  8. "Framework agreement signed with Chinese company to develop Hambantota port". Hiru News. สืบค้นเมื่อ 2016-12-09.
  9. "Agreement signed with Chinese Merchants to develop H'tota Port on PPP Model". สืบค้นเมื่อ 2016-12-09.
  10. Michael Marray (2016-12-14). "Sri Lanka plans to lease Hambantota Port to China". TheAsset.com.
  11. Namini Wijedasa (19 March 2017). "Hambantota port deal: Two major clauses to appease critics". Sunday Times. สืบค้นเมื่อ 19 March 2017.
  12. "Sri Lanka signs deal on Hambantota port with China". bbc.com/news. 2017-07-29. สืบค้นเมื่อ 29 July 2017.