ท่าน้ำ (อังกฤษ: pier) เป็นสิ่งก่อสร้างยกระดับในแหล่งน้ำ ตรงแบบมีเสาเข็มหรือเสาค้ำจุน สะพาน ท่าน้ำอาจรองรับสิ่งก่อสร้างและทางเดินทั้งหมด โครงสร้างเปิดของท่าน้ำทำให้น้ำขึ้นลงและกระแสน้ำไหลได้โดยส่วนใหญ่ไม่ถูกขัดขวาง ขณะที่รากฐานแข็งกว่าของเขื่อนเทียบเรือ (quay) หรือเสาเข็มที่เว้นช่องใกล้กันของท่าเทียบเรือ (wharf) สามารถใช้เป็นกำแพงกันคลื่น (breakwater) ได้ ฉะนั้นจึงมีความเสี่ยงตกตะกอน (silting) มากกว่า ท่าน้ำสามารถมีขนาดและความซับซ้อนต่างกันได้ตั้งแต่สิ่งก่อสร้างไม้น้ำหนักเบาจนถึงสิ่งก่อสร้างสำคัญที่มีขนาดกว่า 1,600 เมตร

การก่อสร้างท่าน้ำเพื่อความมุ่งหมายหลายประการ และเนื่องจากความมุ่งหมายเหล่านี้มีความแปรผันตามภูมิภาคต่าง ๆ คำว่า "ท่าน้ำ" จึงมักมีความหมายแตกต่างกันในส่วนต่าง ๆ ของโลก ฉะนั้น ในทวีปอเมริกาเหนือและประเทศออสเตรเลีย ซึ่งท่าเรือจำนวนมากสร้างบนแบบจำลองท่าน้ำหลายท่าจนเมื่อเร็ว ๆ นี้ คำนี้จึงส่อความหมายถึงอาคารสำหรับจัดการสินค้าปัจจุบันหรืออดีต ในทางกลับกัน ในทวีปยุโรป ซึ่งท่าเรือมักใช้แอ่งและเขื่อนเทียบเรือริมแม่น้ำมากกว่าท่าน้ำ คำนี้จึงสัมพันธ์กับภาพลักษณ์ท่าน้ำสุขารมณ์ (pleasure pier) เหล็กหล่อสมัยวิกตอเรียมากกว่า