ทุพภิกขภัยในประเทศเอธิโอเปีย พ.ศ. 2526–2528

ทุพภิกขภัยในประเทศเอธิโอเปียในปี 1983 ถึง 1985[1] เป็นทุพภิกขภัยครั้งร้ายแรงที่สุดในรอบศตวรรษของประเทศ[2] ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตราว 1.2 ล้านคน และมีผู้อพยพหนีออกจากประเทศอีกราวสี่แสนคน และ 2.5 ล้านคนต้องสูญเสียที่อยู่ภายในประเทศ และเด็กมากกว่า 200,000 คนถูกทิ้งกำพร้า[3][4]

ทุพภิกขภัยในเอธิโอเปีย
เครื่องบิน C-130 ของกองทัพอากาศสหราชอาณาจักรทิ้งอาหารในช่วงทุพภิกขภัยในปี 1985
ประเทศเอธิโอเปีย
สถานที่ส่วนมากของประเทศ
ยุค1983–1985
เสียชีวิตรวมราว 200,000–1,200,000
ผลสืบเนื่องการล่มสลายของระบบสาธารณูปโภคและเศรษฐกิจ

ข้อมูลจากฮิวแมนไรตส์วอตช์ระบุว่ามากกว่าครึ่งหนึ่งของการเสียชีวิตนี้สามารถระบุได้ว่าเกิดจาก "การกระทำอันขัดต่อสิทธิมนุษยชนที่ทำให้ทุพภิกขภัยเกิดเร็วขึ้น หนักขึ้น และยาวนานขึ้นมากกว่าที่ควรจะรับมือได้"[5]

ทุพภิกขภัยปี 1983–1985 มักมีการให้เหตุผลว่าเกิดจากปรากฏการณ์ทางธรรมชาติของฤดูแล้ง อย่างไรก็ตาม ฮิวแมนไรตส์วอตช์ระบุว่าทุพิกขภัยจากฤดูแล้งเพียงลำพังจะดำเนินไปเพียงไม่กี่เดือนเท่านั้น[6] ทั้งฮิวแมนไรตส์วอตช์และออกซแฟมยูเคระบุว่าทุพภิกขภัยนี้เกิดขึ้นตั้งแต่ปี 1961 โดยเหตุการณ์ระหว่างปี 1983–1985 เกิดขึ้นโดยจงใจจากนโยบายของรัฐบาลในฐานะส่วนหนึ่งของยุทธวิธีเพื่อปราบความไม่สงบโดยเฉพาะเพื่อลดทอนกำลังทหารของกองกำลังปลดแอกทีกราย และเพื่อ "ปฏิรูปสังคม" ในพื้นที่ที่มีความสงบปกติ (นอกทีกรายและเวโล)[7][8][9]

อ้างอิง แก้

  1. de Waal 1991, p. 2.
  2. Gebru 2009, p. 20.
  3. Peter Gill. "Famine and Foreigners: Ethiopia Since Live Aid" (PDF). p. 44. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 16 May 2018. สืบค้นเมื่อ 2 March 2019.
  4. Giorgis, Dawit Wolde (1989). Red Tears: War, Famine, and Revolution in Ethiopia. ISBN 0932415342.
  5. de Waal 1991, p. 5.
  6. de Waal 1991, p. 4.
  7. de Waal 1991, p. 4–6.
  8. Young 2006, p. 132.
  9. Peter Gill. "Famine and Foreigners: Ethiopia Since Live Aid" (PDF). p. 43. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 16 May 2018. สืบค้นเมื่อ 2 March 2019.

บรรณานุกรม แก้

แหล่งข้อมูลอื่น แก้