ที. อี. ลอว์เรนซ์

ทอมัส เอ็ดเวิร์ด ลอว์เรนซ์ (อังกฤษ: Thomas Edward Lawrence, 16 สิงหาคม 1888 – 19 พฤษภาคม 1935) เป็นนายทหาร นักโบราณคดี นักการทูตและนักเขียนชาวบริติช เขาเป็นที่รู้จักจากการมีบทบาทในกบฏอาหรับและสู้รบกับจักรวรรดิออตโตมันในการทัพไซนายและปาเลสไตน์ช่วงสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง การมีส่วนร่วมในเหตุการณ์ รวมถึงความสามารถในการเขียนทำให้เขาได้รับฉายา "ลอว์เรนซ์แห่งอาระเบีย" ซึ่งใช้เป็นชื่อภาพยนตร์ ลอเรนซ์แห่งอาราเบีย ในปี 1962[5]

ที. อี. ลอว์เรนซ์
ลอว์เรนซ์ในปี 1918
ชื่อเกิดทอมัส เอ็ดเวิร์ด ลอว์เรนซ์
ชื่ออื่นที. อี. ชอว์, จอห์น ฮูม รอสส์
ชื่อเล่นลอว์เรนซ์แห่งอาระเบีย
เกิด16 สิงหาคม ค.ศ. 1888(1888-08-16)
เทรแมด็อก, คาร์นาร์วอนเชอร์, เวลส์
เสียชีวิต19 พฤษภาคม ค.ศ. 1935(1935-05-19) (46 ปี)
ค่ายบอวิงตัน, ดอร์เซต, อังกฤษ
สุสาน
รับใช้สหราชอาณาจักร
ราชอาณาจักรฮิญาซ
แผนก/สังกัดกองทัพบริติช
กองทัพอากาศสหราชอาณาจักร
ประจำการ1914–1918
1923–1935
ชั้นยศพันเอก (กองทัพบริติช)
พลทหาร (กองทัพอากาศสหราชอาณาจักร)
การยุทธ์สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง
บำเหน็จCompanion of the Order of the Bath[1]
Distinguished Service Order[2]
เครื่องอิสริยาภรณ์เลฌียงดอเนอร์ (ฝรั่งเศส)[3]
Croix de guerre (ฝรั่งเศส)[4]

ลอว์เรนซ์เกิดในปี 1888 ที่เมืองเทรแมด็อก เป็นบุตรนอกสมรสคนที่สองจากทั้งหมดห้าคนของทอมัส แชปแมนกับซาราห์ จันเนอร์[6] โดยทั้งสองอยู่กินด้วยกันโดยใช้นามสกุลลอว์เรนซ์ ต่อมาครอบครัวย้ายไปอยู่ที่เมืองออกซฟอร์ด และลอว์เรนซ์เข้าเรียนที่โรงเรียนชายล้วน City of Oxford High School for Boys[7] ที่นั่นเขาได้พบกับซีริล บีสัน ผู้ซึ่งต่อมาเป็นนักกีฏวิทยาซึ่งมีความหลงใหลในโบราณคดีเช่นกัน ทั้งสองจึงร่วมกันสำรวจสิ่งปลูกสร้างรอบ ๆ บาร์กเชอร์ บักกิงแฮมเชอร์และออกซฟอร์ดเชอร์[8] ในปี 1910 ลอว์เรนซ์เรียนจบด้วยเกียรตินิยมอันดับหนึ่งด้านประวัติศาสตร์จากวิทยาลัยจีซัส มหาวิทยาลัยออกซฟอร์ด[9] และได้รับโอกาสร่วมทีมโบราณคดีของเดวิด จอร์จ โฮการ์ธที่ทำการขุดค้นในคาร์เคมิช ภูมิภาคซีเรีย[10]

ปี 1914 ลอว์เรนซ์กับเลนเนิร์ด วูลลีย์ นักโบราณคดีชาวบริติช ร่วมกับกองทัพบริติชทำการสำรวจทะเลทรายเนเกฟ โดยมีจุดประสงค์ที่แท้จริงคือเพื่อปรับปรุงแผนที่ไว้ใช้ในยามที่กองทัพออตโตมันบุกอียิปต์[11] เมื่อสงครามโลกครั้งที่หนึ่งอุบัติขึ้น ลอว์เรนซ์ถูกส่งไปที่สำนักงานอาหรับในไคโรเพื่อดูแลแผนที่ ทำใบปิดและซักข้อมูลนักโทษ[12] ในปี 1916 หลังมีการตกลงระหว่างผู้นำชาวมักกะฮ์และรัฐบาลสหราชอาณาจักรในจดหมายแม็กแมน–ฮุซัยน์ ก็เกิดกบฏในมักกะฮ์แต่ไม่นานทัพออตโตมันก็ยึดมักกะฮ์คืนได้ ลอว์เรนซ์จึงถูกส่งไปฮิญาซเพื่อประสานงานกับฟัยศ็อล โอรสของฮุซัยน์ บิน อะลี ผู้ถูกเลือกให้เป็นผู้นำกบฏคนใหม่[13] เขาและฟัยศ็อลร่วมกันโจมตีแบบกองโจรและทำลายรางรถไฟของออตโตมัน[14] ก่อนในปี 1917 ลอว์เรนซ์เอาชนะทัพออตโตมันในยุทธการที่อะกาบา เป็นการเปิดทางให้ทัพอาหรับได้รับกำลังสนับสนุนจากทัพบริติชในอียิปต์[15] ปีต่อมา ทัพอาหรับเข้ายึดกรุงดามัสกัสจากออตโตมันได้สำเร็จ ตามด้วยการขอสงบศึกและการแบ่งจักรวรรดิออตโตมัน

อย่างไรก็ตาม ความพยายามในการสถาปนารัฐเอกราชอาหรับอันเป็นหนึ่งเดียวนั้นล้มเหลว เมื่อมีการผ่านความตกลงไซก์-ปิโกต์ อันเป็นสัญญาลับระหว่างสหราชอาณาจักรกับฝรั่งเศสในการแบ่งดินแดนในตะวันออกกลาง[16] ความตกลงนี้รวมถึงปัญหาอื่น ๆ ยิ่งเพิ่มความไร้เสถียรภาพในตะวันออกกลาง[17] ด้านลอว์เรนซ์หลังสงคราม เขาทำงานที่กระทรวงการต่างประเทศและเครือจักรภพ ต่อมาในปี 1922 ลอว์เรนซ์ถูกเกณฑ์เข้ากองทัพอากาศสหราชอาณาจักร (RAF) ในชื่อจอห์น ฮูม รอสส์ แต่ภายหลังถูกปลดหลังตัวตนที่แท้จริงถูกเปิดเผย[18] หลังจากนั้นเขายังคงทำงานกับ RAF โดยมีส่วนในการพัฒนาเรือที่ใช้กับเครื่องบินทะเลของกองทัพ[19] ลอว์เรนซ์เสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางรถจักรยานยนต์ที่เมืองดอร์เซตในปี 1935[20]

อ้างอิง แก้

  1. "No. 30222". The London Gazette (Supplement). 7 August 1917. p. 8103.
  2. "No. 30681". The London Gazette (Supplement). 10 May 1918. p. 5694.
  3. "No. 29600". The London Gazette. 30 May 1916. p. 5321.
  4. "No. 30638". The London Gazette (Supplement). 16 April 1918. p. 4716.
  5. "T.E. Lawrence". Biography. June 27, 2019. สืบค้นเมื่อ January 23, 2020.
  6. Mack, 1976, p. 5.
  7. Mack, 1976, p. 22.
  8. Beeson, C.F.C.; Simcock, A.V. (1989) [1962]. Clockmaking in Oxfordshire 1400—1850 (3rd ed.). Oxford: Museum of the History of Science. p. 3. ISBN 978-0-903364-06-5.
  9. Wilson, 1989, p. 67.
  10. Wilson, 1989, p. 70.
  11. "Internet Archive Wayback Machine". 18 October 2006. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 October 2006. สืบค้นเมื่อ 9 September 2012. {{cite web}}: Cite ใช้ชื่อทั่วไป (help)
  12. Wilson, 1989, p. 166.
  13. Wilson, 1989, p. 323.
  14. Wilson, 1989, p. 347. Also see note 43, where the origin of the repositioning idea is examined closely.
  15. "Today in Middle Eastern history: the Battle of Aqaba (1917)". Foreign Exchanges - Substack. July 6, 2019. สืบค้นเมื่อ January 23, 2020.
  16. "Sykes-Picot Agreement". Britannica. สืบค้นเมื่อ January 23, 2020.
  17. "History - World Wars: The Middle East during World War One". BBC. March 10, 2011. สืบค้นเมื่อ January 23, 2020.
  18. Klein, Christopher (August 31, 2018). "10 Things You May Not Know About "Lawrence of Arabia"". HISTORY. สืบค้นเมื่อ January 23, 2020.
  19. Michael Korda, Hero: The Life and Legend of Lawrence of Arabia ISBN 978-0-06-171261-6, p. 642.
  20. "Lawrence of Arabia dies". HISTORY. สืบค้นเมื่อ January 23, 2020.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้