ทฤษฎีคาดหวัง[1] (อังกฤษ: Prospect theory) เป็นทฤษฎีทางเศรษฐศาสตร์พฤติกรรม (Behavioral economics) ที่แสดงวิธีที่มนุษย์เลือกระหว่างทางเลือกที่เป็นไปได้ ในสถานการณ์ที่มีความเสี่ยงแต่รู้ค่าความน่าจะเป็นของทางเลือก ทฤษฎีกำหนดว่า มนุษย์ตัดสินใจขึ้นอยู่กับค่าความขาดทุน (ผลลบ) หรือผลกำไร (ผลบวก) ที่อาจจะมี ไม่ได้ขึ้นอยู่กับค่าผลที่ได้โดยที่สุด และมนุษย์ประเมินค่าความขาดทุนและผลกำไรโดยใช้ฮิวริสติกบางอย่าง แบบจำลองนี้เป็นแบบพรรณนา (descriptive) เป็นแบบจำลองของการเลือกการตัดสินใจที่มีในชีวิตจริง ๆ ไม่ใช่เป็นการตัดสินใจที่อาจจะเหมาะสำหรับสถานการณ์มากที่สุด (optimal decision) ทฤษฎีนี้สร้างขึ้นในปี ค.ศ. 1979 และมีการพัฒนาขึ้นอีกในปี ค.ศ 1992 โดยแดเนียล คาฮ์นะมัน และอะมอส ทเวอร์สกี้ เป็นแบบจำลองที่มีความแม่นยำทางจิตวิทยามากกว่า expected utility hypothesis (สมมุติฐานอรรถประโยชน์ที่คาดหวัง) ในคำอธิบายดั้งเดิม คำว่า prospect หมายถึง ลอตเตอร์รี่

แดเนียล คาฮ์นะมัน ผู้ได้รับรางวัลเพื่อระลึกถึงอัลเฟรด โนเบล สาขาเศรษฐศาสตร์ ปี ค.ศ. 2002 สำหรับการคิดค้น Prospect theory

บทความ "Prospect Theory: An Analysis of Decision under Risk (ทฤษฎีคาดหวัง: การวิเคราะห์การตัดสินใจภายใต้ความเสี่ยง)" (ค.ศ. 1979) ของคาฮ์นะมันและทเวอร์สกี้ เป็น "บทความตั้งต้นของสาขาเศรษฐศาสตร์พฤติกรรม"[2]

เชิงอรรถและอ้างอิง แก้

  1. ธนาภรณ์ อธิปัญญากุล (2012). "ทฤษฎีอรรถประโยชน์คาดหวังและทฤษฎีคาดหวัง: ทัศนคติและพฤติกรรมการตัดสินใจของเกษตรกรที่มีต่อความเสี่ยง" (PDF). Khon Kaen Agr. J. 40: 269–278. สืบค้นเมื่อ 2014-04-07.
  2. Shafir & LeBoeuf 2002.

เชิงอรรถและอ้างอิง แก้

เว็บไซต์