ทรานส์ฟอร์เมอร์ส

แฟรนไชส์สื่อญี่ปุ่น–อเมริกัน

ทรานส์ฟอร์เมอร์ส (อังกฤษ: Transformers) เป็นหุ่นยนต์ต่างดาวของเล่นยอดนิยมยี่ห้อ TAKARA TOMY (ในประเทศอเมริกา ผลิตและจัดจำหน่ายโดยฮาสโบร (Hasbro)) ก่อนจะถูกเขียนเป็นเรื่องราวที่มีชีวิตขึ้นมาที่กล่าวถึง ทรานส์ฟอร์เมอร์สเป็นสปีชีส์ของสิ่งของที่สามารถรับรู้ความรู้สึกได้[1] เกิดมาจากสปีชีส์ทั่วไปที่สามารถเปลี่ยนร่างได้ เพื่อเปลี่ยนร่างกาย จัดการส่วนประกอบจากโหมดหุ่นยนต์พื้นฐาน (ลักษณะเหมือนมนุษย์) ไปเป็นอีกร่างหนึ่ง เช่น ยานพาหนะ อาวุธ เครื่องจักร หรือสัตว์ ความสามารถในการแปลงร่างเป็นสิ่งที่มีอยู่ในตัวของสิ่งมีชีวิตในสปีชีส์นี้ การแปลงร่างช่วงสงครามซึ่งถูกนำมาใช้โดยส่วนใหญ่ของประชากร สิ่งมีชีวิตนี้ถือกำเนิดจากโลกเครื่องจักรกลที่อยู่ไกลมากเรียกว่า "ไซเบอร์ทรอน" (Cybertron)

Transformers
Transformers franchise logo introduced in 2014
Franchise logo, 2014–present
สร้างโดยHasbro
Takara Tomy
Bob Budiansky
Nobuyuki Okude
งานต้นฉบับTransformers
สื่อสิ่งพิมพ์
หนังสือComplete list
การ์ตูนMarvel series
Dreamwave series
IDW series
Complete list
การ์ตูนช่องRobo Machines
ภาพยนตร์และโทรทัศน์
ภาพยนตร์Animated

Live-action

แอนิเมชันซีรีส์Complete list
เกม
วิดีโอเกมComplete list
เสียง
เพลงประกอบTransformers audio releases
เบ็ดเตล็ด
Related franchisesBattle Beasts
G.I. Joe

แม้ว่าทรานส์ฟอร์เมอร์สเป็นคำธรรมดาที่สุดสำหรับสิ่งมีชีวิตเหล่านี้ ยังมีคำอื่นอีก โดยหลักๆ คือ ไซเบอร์ทรอน ที่เกี่ยวข้องกับสิ่งมีชีวิตซึ่งร่องรอยการกำเนิดกลับไปยังดาวเคราะห์ (คำที่ใช้เรียกสิ่งมีชีวิตนี้บ่อยๆคือ ไซเบอร์ทรอเนี่ยน)

เรื่องราวของชีวิตเหล่านี้ ประวัติศาสตร์ โดยเฉพาะสงครามถูกบันทึกไว้เป็นเรื่องราวต่อมาในบทประพันธ์อย่างมากมาย เช่น ทรานส์ฟอร์เมอร์ส: จี1 (Transformers: G1) เป็นชื่อของทั้งการ์ตูนชุดทางโทรทัศน์ เดอะทรานส์ฟอร์เมอร์ส (The Transformers) และหนังสือการ์ตูนชุดของมาร์เวลคอมิกส์ (Marvel Comics) ที่ใช้ชื่อเดียว ซึ่งแบ่งเพิ่มเติมเป็นภาษาญี่ปุ่นและส่วนย่อยภาษาอังกฤษตามลำดับ เรื่องถัดมา เช่น หนังสือการ์ตูนเจเนเรชั่น 2 (Generation 2) และการ์ตูนชุดทางโทรทัศน์บีสท์วอร์ส ซึ่งเป็นจักรวาลขนาดเล็กของตนเอง ตัวละครเจเนเรชั่น 1 ( Generation 1) ได้รับการทำใหม่ 2 ครั้ง กับดรีมเวฟ (Dreamwave) ใน ค.ศ. 2002 และสำนักพิมพ์ไอดีดับบลิว (IDW Publishing) ในปี ค.ศ. 2006

นอกจากนี้ยังมีเรื่องราวที่เกิดในยุค 2000 ขึ้นอีก 4 ภาค ได้แก่ ทรานส์ฟอร์เมอร์ส คาร์โรบ็อต , ทรานส์ฟอร์เมอร์ส ตำนานไมครอน , ทรานส์ฟอร์เมอร์ส ซูเปอร์ลิงก์ และ ทรานส์ฟอร์เมอร์ส กาแล็คซี่ ฟอร์ซ

จากการออกฉายของฉบับภาพยนตร์คนแสดงในปี 2007 และผลสืบเนื่องจากการเปิดตัวในปี 2009 ชัดเจนขึ้นจากการเกิดครั้งก่อน ในขณะที่ซีรีส์ Transformers Animated ผสมผสานแนวคิดจากเนื้อเรื่องภาคต่อของ จี 1 (G1) และภาพยนตร์ในปี 2007 apinan®

ประวัติ

แก้

กำเนิด

แก้

ต้นกำเนิดของ Transformers เกิดปี ค.ศ. 1972 ที่บริษัท Takara (ปัจจุบันคือ Takara Tomy) เริ่มออกของเล่นชุด ไมโครแมน ในญี่ปุ่น ของเล่นในชุดนี้ส่วนใหญ่จะเป็นหุ่นฟิกเกอร์และก็ได้รับความนิยมอย่างมาก จนในปี 1980 Takara ได้พัฒนาของเล่นชุดนี้เป็น New Microman พร้อมทั้งออกของเล่นชุดใหม่คือชุด Diaclone ที่จะเน้นไปที่หุ่นยนต์อย่างเดียว จนกระทั่งปี 1982 Takara จึงเริ่มออกของเล่นหุ่นยนต์แปลงร่างจากยานพาหนะในโลกของความเป็นจริงออกมา ทั้งชุด ไมโครแมน และชุด Diaclone พร้อมๆกัน หลังจากนั้นบริษัท Hasbro ของสหรัฐอเมริกาก็ได้ทำการนำ Diaclone ไปขายในสหรัฐอเมริกาในชื่อ Transformers และกลับมาขายในญี่ปุ่น จนเกิดคดีความฟ้องร้องขึ้นมาเรื่องการมีสิทธิ์ในการจัดจำหน่ายและเจ้าของลิขสิทธิ์ของทรานส์ฟอร์มเมอร์สขึ้นมา เนื่องจาก Hasbro ได้ทำการช่วงชิงการจดลิขสิทธิ์ ทรานส์ฟอร์มเมอร์สไปก่อนผู้ให้กำเนิดอย่างTAKARA ทำให้เกิดการฟ้องร้องขึ้นมา โดยสุดท้ายแล้ว สิทธิ์ในการจัดจำหน่ายของทรานส์ฟอร์มเมอร์ส ในญี่ปุ่น คือ TAKARA ผู้ซึ่งเป็นเจ้าของที่แท้จริงและบิดาผู้ให้กำเนิดทรานส์ฟอร์มเมอร์ส ส่วนHasbro ได้รับสิทธิ์ในการจัดจำหน่ายทรานส์ฟอร์มเมอร์สทั่วโลก (ยกเว้นญี่ปุ่น) ในระหว่างนั้นHasbro ได้ประกาศให้ทรานส์ฟอร์มเมอร์ส ทำเป็นแอนิเมชันฉายทางโทรทัศน์โดยร่วมมือบริษัท มาร์เวล คอมมิค (ซึ่งเป็นเจ้าแรกในการทำหนังสือการ์ตูนชุดนี้) และบริษัท โตเอะ แอนิเมชัน ของญี่ปุ่น ฉายครั้งแรกในปี 1983 ที่อเมริกาทั้งหมด 13 ตอน จุดประสงค์คือเป็นการ์ตูนโฆษณาขายของเล่นแต่ไม่ประสบความสำเร็จ Transformers กลับมาอีกครั้ง ในปี 1984 โดยใช้สโลแกน "More Than Meets The Eye" และลองมาคือ "Robot in Desguise" ประสบความสำเร็จแบบถล่มทลาย ทาง Hasbro จึงทำแอนิเมชันภาคต่อเป็น Season 2 โดยแบ่งเป็น 3 ทีมงานใหญ่ๆคือ ทีมอเมริกา แอนิเมชันถูกผลิตขึ้นโดยบริษัทSunbow และ ทีมญี่ปุ่นโดยบริษัทToei และทีมเกาหลีโดยบริษัทแอนิเมชันโนเนม เพื่อที่จะกระจายงานผลิตตแอนิเมชันให้เร็วยิ่งขึ้นทำให้ภาพบางตอนในการ์ตูน เรื่องนี้แย่ถึงแย่มากโดยในซีซั่น 2 ของเรื่องนี้ถูกจัดว่าเป็นงานเผามากเพราะเนื้อเรื่องไม่เชื่อมกับตอนที่ฉาย และการปรากฏตัวของตัวละครใหม่ๆโดยไม่ได้บอกที่มาที่ไป เป็นเพราะการกระจายงานให้หลายทีมงานทำ ทำให้ความเข้าใจในเรื่องไม่ตรงกัน (สังเกตได้จากแอนิเมชันซึ่งถ้าตอนไหนภาพ ไม่ผิดเพี้ยนวาดหุ่นได้สวยจะเป็นทีมญี่ปุ่นทำแต่ถ้าภาพแย่และการเคลื่อนไหว ผิดพลาดบ่อยๆจะเป็นฝีมือของทีมอเมริกาและเกาหลี) Transformers ฉายที่ญี่ปุ่นครั้งแรกในปี 1985 โดยใช้ชื่อใหม่ว่า Fight! Super Robot Lifeform Transformers (戦え! 超ロボット生命体 トランスフォーマ Tatakae! Ch? Robotto Seimeitai Transformers) ซึ่งก็ประสบความสำเร็จอย่างสูงทั้งแอนิเมชันและของเล่น ในปีนั้น Takara จึงตัดสินใจยกเลิกการผลิต Diaclone และแยก ไมโครแมน ออกไปเป็นซีรีส์ของตนเอง รวมไปถึงดำเนินการผลิตของเล่นหุ่นยนต์แปลงร่างในชื่อ Transformers จนถึงปัจจุบัน


เรื่องทรานส์ฟอร์มเมอร์ส

แก้

ในส่วนของ Genration 1 โดยแบ่งตามต้นฉบับ (ญี่ปุ่น) แบ่งเป็น 11ภาคมีดังนี้

-Fight! Super Robot Lifeform Transformers (1984-1985)

-Fight! Super Robot Lifeform Transformers "Scramble City" (OVA) (1986)

-Fight! Super Robot Lifeform Transformers [Movie](1986)

-Fight! Super Robot Lifeform Transformers 2010 (1986)

-Fight! Super Robot Lifeform Transformers "The Rebirth" (1987)

-Fight! Super Robot Lifeform Transformers "The Headmasters" (1987)

-Transformers: Super-God Masterforce (Toransufōmā: Chōjin Masutāfōsu) (1988)

-Transformers: Victory (1989)

-Transformers:Zone (OVA) (1990)

-Transformers: Return of Convoy (OVA,Manga) (1991)

-Fight! Super Robot Lifeform Transformers: Operation Combination (1995)

ตัวละคร

แก้

ฝ่ายไซเบอร์ทรอน (ออโต้บ็อตส์)

แก้
  1. คอนวอย / ออพติมัส ไพรม์
  2. บัมเบิ้ล /บัมเบิ้ลบี
  3. แร็ตเชต
  4. ไอร่อนไฮด์
  5. แจ็ส
  6. ไซด์สไวป์
  7. ซันสตรีคเกอร์ (เป็นน้องชายของ ไซด์สไวป์ ทั้งสองมีฉายาว่า "The Lamborghini twins")
  8. คลิฟฟ์จัมเปอร์
  9. ฮาวด์
  10. พาวน์
  11. ซีสเปรย์
  12. คอสมอส
  13. บลาสเตอร์
  14. วีลแจ็ค
  15. เพอร์เซพเตอร์
  16. เทร็คส
  17. เรด อะเลิร์ท
  18. อินเฟอร์โน่
  19. เกรพเพิล
  20. โอเมกัา ซูพรีม
  21. เจ็ทไฟร์ / เจ็ทไฟเออร์ (สกายไฟร์ / สกายไฟเออร์ )
  22. สคิ๊ดส์
  23. มัดแฟล็ปส์
  24. บิลลี่
  25. เกียร์
  26. มิราจ / ดีโน่
  27. โฮส
  28. สโมคสกรีน
  29. ฮาวเฟอร์
  30. บาว
  31. โรดิมัส ไพร์ม / ฮอด รอท
  32. อัลตร้าแม็กนัส
  33. คัพ
  34. เวรคการ์
  35. เบลอร์
  36. เวลลี่
  37. เมโทรเพลกส์
  38. ไพรมัส ไซเบอร์ทรอน หรือเทพเจ้าแห่งทรานส์ฟอร์มเมอร์ส

กลุ่มไดโนบ็อตส์

แก้
  1. กริมล็อก (ผู้นำฝ่ายไดโนบอท พันธุ์ไทรันโนซอรัส)
  2. สลัค (ไทรเซอราท๊อป)
  3. สลอต (บรอนโตซอรัส)
  4. สนาว (สเตโกซอรัส)
  5. สวู้ด (เทอราโนดอน)

กลุ่มแอร์บ็อตส์

แก้
  1. ซิลเวอร์โบลท์
  2. สลิงก์ช็อค
  3. ไฟเออร์โบลท์
  4. แอร์เรเดอร์
  5. สเปเรี่ยน

กลุ่มโพรเทคต์บ็อตส์

แก้
  1. ฮอทสปอต
  2. เบลดส์
  3. สตรีลไวย์
  4. กรูฟ
  5. การ์เดี้ยน

ไซเบอร์ทรอนเพศหญิง

แก้
  1. อาร์ชี
  2. มูนเรเซอร์
  3. ไฟเออร์สตาร์
  4. โครเมียร์
  5. สตรองอาร์ม
  6. เอลิต้า วัน

ฝ่ายเดสทรอน (ดีเซปติคอนส์)

แก้
  1. เมกะทรอน / กัลวาทรอน
  2. ช็อคเวฟ (รองหัวหน้า)
  3. ไซด์เวย์ส
  4. สวินเดิ้ล
  5. ไซโครนัส
  6. สเคิร์ด (ร่างที่ 2 ของทันเดอร์เเครกเกอร์)
  7. ไซโครนัส อาร์มาด้า (ร่างที่ 2 ของสกายวาฟ)
  8. สวีบบส
  9. ทริบติคอนส์
  10. อ็อคเทน
  11. สกัลเพล
  12. อลิซ
  13. บาร์ริเคท
  14. กรินดอร์ (แบล็คเอาท์)
  15. เดโมแครชเชอร์
  16. ไฮทาวเวอร์
  17. โอเวอร์โหลด
  18. แรมเพจ
  19. สแครปเปอร์
  20. เดโมลิชเชอร์
  21. เดอะ ฟอลเล่น

กลุ่มซีกเกอร์

แก้
  1. สตาร์สครีม (หัวหน้าฝ่าย Air Commander,Seeker,Coneheads หลายคนมักเข้าใจผิดว่าเขาคือรองหัวหน้า)
  2. สกายวาร์พ (Seeker)
  3. ธันเดอร์เเครกเกอร์ (Seeker)

กลุ่มซีกเกอร์ชุดใหม่

แก้
  1. ทรัส (Coneheads)
  2. แรมเพจ
  3. เดิร์จ (Coneheads)

กลุ่มคาซเซ็ททรอน

แก้
  1. ซาวด์เวฟ
  2. รัมเบิ้ล
  3. เฟรนซี่ (รัมเบิ้ลและเฟรนซี่ เป็นพี่น้องกัน โดย รัมเบิ้ล คนพี่มีสีฟ้า ส่วน เฟรนซี่ คนน้องมีสีแดงและดำ)
  4. จากัวร์ (เรเวน)
  5. คอนดอร์ (เลเซอร์บีก)

กลุ่มคอนสตัคติคอนส์

แก้
  1. ลองฮาวว์
  2. สกาเวนเจอร์
  3. มิกซ์มาสเตอร์

กลุ่มอินเซ็กติคอนส์

แก้
  1. คิคแบ็ค
  2. บอมเชลล์
  3. แชปเนล

กลุ่มทริปเปิลเชนจ์เจอร์

แก้
  1. บลิสต์วิงก์
  2. แอสโตรเทรน

ไม่สามารถระบุฝ่ายได้ (ไร้ฝ่าย)

แก้
  1. เนเมซิส ไพรม์ หรือ โนว่า ไพรม์
  2. ยูนิครอน ราชาดาวเคราะห์ด้านมืด

ดูเพิ่ม

แก้

อนิเมะ

แก้

ทรานส์ฟอร์เมอร์ส ทีวีซีรีส์

แก้

บีสต์วอร์ ซีรีส์

แก้

ภาพยนตร์คนแสดง

แก้

อ้างอิง

แก้