ทรานซิสเตอร์
ทรานซิสเตอร์ (อังกฤษ: transistor) เป็นอุปกรณ์สารกึ่งตัวนำที่มีคุณสมบัติขยายหรือสลับสัญญาณไฟฟ้าหรือพลังงานไฟฟ้า[1]
ทรานซิสเตอร์แบบต่าง ๆ | |
ชนิด | แอคทีฟ |
---|---|
ประดิษฐ์โดย | ยูเลียส เอดการ์ ลิเลียนเฟลด์ |
ผลิตครั้งแรก | ค.ศ. 1947 |
สัญลักษณ์ | |
ยูเลียส เอดการ์ ลิเลียนเฟลด์ วิศวกรและนักฟิสิกส์ชาวเยอรมันจดสิทธิบัตรทรานซิสเตอร์สนามไฟฟ้า (field-effect transistor) ในปี ค.ศ. 1926 แต่ในเวลานั้นยังไม่สามารถสร้างได้จริง[2] ต่อมาในปี ค.ศ. 1947 จอห์น บาร์ดีน, วอลเตอร์ เฮาเซอร์ แบรตเทนและวิลเลียม ชอกลีย์ นักฟิสิกส์ชาวอเมริการ่วมกันคิดค้นทรานซิสเตอร์จุดสัมผัส (point-contact transistor)[3] ทำให้วงการอิเล็กทรอนิกส์สร้างอุปกรณ์ได้ราคาถูกและเล็กลง จากผลงานนี้ทำให้บาร์ดีน, แบรตเทนและชอกลีย์ได้รับรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ในปี ค.ศ. 1956[4]
อ้างอิง
แก้- ↑ "Transistor". Britannica.com. สืบค้นเมื่อ September 2, 2018.
- ↑ "1926 – Field Effect Semiconductor Device Concepts Patented". Computer History Museum. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ มีนาคม 22, 2016. สืบค้นเมื่อ มีนาคม 25, 2016.
- ↑ Levine, Alaina G. "John Bardeen, William Shockley, Walter Brattain—Invention of the Transistor", 2008, American Physical Society Retrieved on October 6, 2010
- ↑ "The Nobel Prize in Physics 1956". Nobelprize.org. Nobel Media AB. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ ธันวาคม 16, 2014. สืบค้นเมื่อ ธันวาคม 7, 2014.
วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อที่เกี่ยวข้องกับ ทรานซิสเตอร์