ถงก้วน (จีน: 童贯, 1054–1126) ชื่อรอง เต้าฟู (道夫) เป็นขันที ขุนพล ที่ปรึกษาทางการเมืองชาวจีนของจักรพรรดิซ่งฮุ่ยจงแห่งราชวงศ์ซ่งเหนือ ในนวนิยายสุดคลาสสิคเรื่องซ้องกั๋งที่เขียนโดยชือ ไน่อัน ถงก้วนเป็นขุนนางทุจริตและเป็นศัตรูของ 108 วีรบุรุษ

ชีวิตและการงาน

แก้

ถงก้วนเริ่มต้นอาชีพทหารภายใต้การอุปถัมภ์ของแม่ทัพขันทีชั้นนำในช่วงทศวรรษ 1080 และกลายเป็น 1 ในแม่ทัพขันทีของราชวงศ์ซ่ง[1] แม้จะเป็นขันที แต่หลายคนเขียนไว้ว่า ถงก้วนมีบุคลิกเข้มแข็ง ร่างกายสมบูรณ์แข็งแรง และมีเครายาว ซึ่งถือว่าแปลกสำหรับขันที[1] หลังจากถงก้วนประสบชัยชนะครั้งแรกเมื่อปี 1104 จักรพรรดิซ่งฮุ่ยจงได้พระราชทานลายพระราชหัตถ์อันล้ำค่าให้กับเขา[1] หลังจากถงก้วนสร้างชื่อเสียงโด่งดังจากการนำทัพสู้รบชนะทหารเผ่าทันกุตทางตะวันตกเฉียงเหนือหลายครั้ง เขาก็กลายเป็นขุนพลและที่ปรึกษาคนโปรดของจักรพรรดิซ่งฮุ่ยจง[1] ในปี 1111 เขาได้รับมอบหมายให้เดินทางไปยังราชวงศ์เหลียวทางตะวันออกเฉียงเหนือเพื่อทำภารกิจทางการทูต นับเป็นจุดเริ่มต้นของเส้นทางก้าวหน้าในอาชีพของเขา ในปีถัดมา เขาได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งสูงสุดในกองทัพ และในปี 1116 เขากลายเป็นขันทีคนแรกในประวัติศาสตร์ราชวงศ์ซ่งที่ทำหน้าที่เป็นกำหนดนโยบายหลักของประเทศ[1] ถงก้วนเข้าร่วมงานสังคมชั้นสูงในยุคนั้นที่จัดโดยจักรพรรดิซ่งฮุ่ยจง[1] เขาเป็นเพียง 1 ใน 10 ขันทีประจำราชสำนักที่มีการรวบรวมชีวประวัติ[1]

ในปี 1118 ถงก้วนแนะนำจักรพรรดิซ่งฮุ่ยจงว่าควรสร้างพันธมิตรกับชาวนฺหวี่เจิน เพื่อร่วมกันโค่นล้มราชวงศ์เหลียวให้สิ้นซาก[2] แม้จะมีเสนาบดีบางคนในราชสำนักคัดค้าน แต่จักรพรรดิฮุ่ยจงก็ตัดสินพระทัยเห็นชอบ ในฐานะทูตที่เดินทางข้ามพรมแดนเพื่อเจรจา ถงก้วนมีบทบาทสำคัญในข้อตกลงระหว่างชาวนฺหวี่เจินและราชวงศ์ซ่ง แบ่งเขตแดนของราชวงศ์เหลียว (โดยราชวงศ์ซ่งหวังจะได้ดินแดนที่ใฝ่ฝันมาตลอดคือ สิบหกหัวเมือง) ในปี 1120 ขณะมีอายุ 66 ปี ถงก้วนได้รับพระบัญชาให้เป็นแม่ทัพนำกองทัพเข้าโจมตีเมืองหลวงทางใต้ของราชวงศ์เหลียว นั่นคือเมืองเอี้ยนจิง อย่างไรก็ตาม ขณะที่กองทัพของถงก้วนกำลังรุกคืบ การรบก็ต้องหยุดชะงักลงชั่วระยะเวลาหนึ่ง เมื่อข่าวมาถึงค่ายของถงก้วนว่าเกิดกบฏขึ้นภายในจักรวรรดิซ่งคือกบฏฟางล่าในเจ้อเจียง กองทัพของเขาถูกบีบให้เดินทัพหลายร้อยไมล์ลงใต้สู่เจ้อเจียงเพื่อปราบกบฏครั้งนี้

อ้างอิง

แก้
  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 1.5 1.6 Ebrey, 166
  2. Ebrey, 165.
  • Buck, Pearl S. (2006). All Men are Brothers. Moyer Bell. ISBN 9781559213035.
  • Ebrey, Patricia Buckley; Walthall, Anne; Palais, James B. (2006). East Asia: A Cultural, Social, and Political History. Boston, MA: Houghton Mifflin Company. ISBN 0-618-13384-4.
  • Miyazaki, Ichisada (1993). Suikoden: Kyoko no naka no Shijitsu (ภาษาญี่ปุ่น). Chuo Koronsha. ISBN 978-4122020559.
  • Keffer, David. "Outlaws of the Marsh: A Somewhat Less Than Critical Commentary". Poison Pie Publishing House. สืบค้นเมื่อ 19 December 2016.
  • Li, Mengxia (1992). 108 Heroes from the Water Margin (ภาษาจีน). EPB Publishers. ISBN 9971-0-0252-3.
  • Miyamoto, Yoko (2011). "Water Margin: Chinese Robin Hood and His Bandits". Demystifying Confucianism. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-11-28. สืบค้นเมื่อ 19 December 2016.
  • Shibusawa, Kou (1989), Bandit Kings of Ancient China, Koei
  • Zhang, Lin Ching (2009). Biographies of Characters in Water Margin. Writers Publishing House. ISBN 978-7506344784.