ติรุวัฬฬุวรร (ทมิฬ: திருவள்ளுவர்; Thiruvalluvar) หรือที่นิยมเรียกว่า วัฬฬุวรร (ทมิฬ: வள்ளுவர்; Valluvar) เป็นกวีและนักปราชญ์ชาวทมิฬที่ได้รับการเชิดชูอย่างมาก เป็นที่รู้จักในฐานะผู้นิพนธ์ ติรุกกุรัฬ (Tirukkuṟaḷ) หนังสือรวมงานเขียนด้วยประโยคคู่ (couplets) เกี่ยวกับจริยศาสตร์, การเมือง, เศรษฐกิจ และความรักเป็นที่ยอมรับกันว่างานเขียนชุดนี้โดดเด่นและเป็นที่ชื่นชอบมากในบรรดาวรรณกรรมทมิฬ[3]

ติรุวัฬฬุวรร
ภาพวาดแสดงติรุวัฬฬุวรรตามความเชื่อ
เกิดไม่ทราบแน่ชัด[a]
ไม่ทราบ; เป็นไปได้ว่าเป็นไมลาปอร์ [1]
ชื่ออื่นวัฬฬุวรร, มุธรปาวลร, Deivappulavar, Maadhaanupangi, นานมุคนาร, นายนาร, Poyyirpulavar, เธวร, Perunaavalar[2]
ผลงานเด่นติรุกกุรัฬ
แนวทางโตนโทมณฑลัมแห่งทมิฬนาฑู
ความสนใจหลัก
จริยศาสตร์, อหิงสา, ความยุติธรรม, ศีลธรรม, การเมือง, การศึกษา, ครอบครัว, มิตรภาพ, ความรัก
แนวคิดเด่น
จริยธรรมทั่วไป และ ศีลธรรมทั่วไป
ได้รับอิทธิพลจาก
เป็นอิทธิพลต่อ

กมิล ซเวเลบิล นักวิชาการด้านวรรณกรรมทมิฬระบุว่าแทบจะไม่มีข้อมูลดั้งเดิมชิ้นใดเลยที่หลงเหลืออันเกี่ยวกับวัฬฬุวรร[4] ชีวิตและปูมหลังของเขานั้นได้มาจากการตีความจากงานเขียนของเขาโดยนักอัตชีวประวัติมากมาย นิกาย ความเชื่อ ไปจนถึงศาสนาต่างๆ ของอินเดียและพื้นเมือง รวมถึงบรรดามิชชันนารีคริสต์ล้วนเคยอ้างว่างานเขียนของวัฬฬุวรรได้รับแนวคิดบันดาลใจมาจากความเชื่อของตนอย่างเปิดเผยหรืออย่างอ้อม ๆ[5] แทบไม่เป็นที่ทราบเลยว่าวัฬฬุวรรมีพื้นหลังทางครอบครัว อาชีพการงาน และนับถือในลัทธิใด เชื่อกันว่าเขาเคยอาศัยอยู่ในไมลาปอร์ (ปัจจุบันเป็นย่านหนึ่งในเจนไน) ในช่วงใดช่วงหนึ่งของชีวิต เชื่อกันว่างานเขียนเขาเริ่มเขียนขึ้นในช่วง 400 ปีก่อนคริสตกาลจนถึงต้นศตวรรษที่ 5 เมื่อประเมินจากบันทึกท้องถิ่นและการวิเคราะห์ภาษาศาสตร์ในวานเขียนของเขา กมิล ซเวเลบิล อ้างจากติรุกกุรัฬว่าวัฬฬุวรรน่าจะมีชีวิตอยู่ในช่วงศตวรรษที่ 5[6][7]

วัฬฬุวรรได้มีอิทธิพลต่อนักวิชาการในวงกว้างเป็นเวลายาวนาน ทั้งในแนวคิดในแง่มุมของจริยศาสตร์สังคม การเมือง เศรษฐศาสตร์ ศาสนา ประชญา และจิตวิญญาณ[8][9] และได้รับการยกย่องเป็นฤๅษีที่ยิ่งใหญ่ และงานเขียนของท่านได้รับการยกย่องในฐานะวรรณกรรมทมิฬที่เป็นคลาสสิก[10]

อังอิง

แก้
  1. Waghorne, 2004, pp. 120–125.
  2. P. R. Natarajan 2008, p. 2.
  3. Kamil Zvelebil 1975, pp. 123–124.
  4. Kamil Zvelebil 1975, p. 124.
  5. Kamil Zvelebil 1975, p. 125.
  6. Kamil Zvelebil 1973, pp. 155–156 (c. 450–550 CE);
    Kamil Zvelebil 1974, p. 119 (c. 450–500 CE);
    Kamil Zvelebil 1975, p. 124 (c. 500 CE)
  7. Stuart Blackburn 2000, p. 454.
  8. Velusamy and Faraday, 2017, pp. 7–13.
  9. Sundaramurthi, 2000, p. 624.
  10. Kamil Zvelebil 1973, p. 168.

บรรณานุกรม

แก้

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้