ตำแหน่งมเหสีแห่งราชวงศ์ถังของจีน

ตำแหน่งมเหสีแห่งราชวงศ์ถังของจีน (Imperial consorts of Tang China) ถูกจัดแบ่งออกเป็น 8 - 9 ขั้น (ไม่นับตำแหน่งสมเด็จพระจักรพรรดินี ซึ่งเป็นตำแหน่งของพระอัครมเหสี) ซึ่งจะถูกเรียกว่า "นางใน หรือเน่ยกวน" (อังกฤษ: inner officials; จีน: 內官; พินอิน: Nèi guān) ซึ่งเทียบได้กับคำว่า "ข้าราชการในราชสำนัก หรือเจ้าหน้าที่พระราชวัง หรือกงกวน" (อังกฤษ: palace officials; จีน: 宮官; พินอิน: Gōng guān) ในระบบข้าราชการ

ในปี ค.ศ. 662 มีการเปลี่ยนแปลงตำแหน่งใหม่เพื่อให้มีความเหมาะสมและปรับปรุงคุณภาพให้ดีขึ้น และในปี ค.ศ. 670 ได้ถูกเปลี่ยนกลับมาดังเดิมอีกครั้งโดยไม่มีเหตุผลระบุไว้อย่างเป็นทางการใด ๆ อย่างไรก็ตามนักวิชาการนักประวัติศาสตร์หลายคนคาดว่าเกิดจากการที่พระนางบูเช็กเทียนได้แนะนำสมเด็จพระจักรพรรดิไท่จง พระสวามี ให้ปรับเปลี่ยนในครั้งนี้

ตำแหน่งเดิม (Old titles) ขั้น (Rank) -> ตำแหน่งใหม่ (New titles) ขั้น (Rank)
ฟูเหริน (Consort 夫人 furen) 1a ซ่านเต๋อ (Assistant in Virtue 賛德 zande) 1a
จิ่วผิน (Nine Concubines 九嬪 jiupin) 2a ซวนหยี (Propagator of Deportment 宣儀 xuanyi) 2a
เจี๋ยหยู๋ (Handsome Fairness 婕妤 jieyu) 3a เฉิงกุย (Recipient from the Inner Chamber 承閨 chenggui) 4a
เม่ยเหริน (Beauty 美人 meiren) 4a เฉิงจื่อ (Recipient of Edicts 承旨 chengzhi) 5a
ไฉเหริน (Talented 才人 cairen) 5a เว่ยเซียน (Guardian Immortal 衛仙 weixian) 6a
เป่าหลิน (Lady of Treasure 寶林 baolin) 6a ก้งเฟ่ง (Service Provider 供奉 gongfeng) 7a
ยู้นวู่ (Lady of His Majesty 御女 yunü) 7a ซื่อจื๋อ (Coiffure Attendant 恃櫛 shijie) 8a
ไฉนวู่ (Selected Lady 采女 cainü) 8a ซื่อจิน (Towel Attendant 恃巾 shijin) 9a

สำหรับตำแหน่งมเหสีในราชวงศ์ยุคหลัง ดูเพิ่มที่ Ranks of Imperial Consorts in China.

อ้างอิง

แก้
  • The table is after Wu Jo-shui's "Empress Wu and Proto-Feminist Sentiments in T’ang China," in Imperial Rulership and Cultural Change in Traditional China. Seattle: University of Washington press, pp. 77-116.