ตำรวจทางหลวง
ตำรวจทางหลวง คือ เจ้าหน้าที่ผู้มีหน้าที่ดูแลรักษาความสงบเรียบร้อยบนทางหลวง ซึ่งในหลายประเทศหมายความรวมไปถึงตำรวจจราจร มีสถานะทั้งในรูปแบบของตำรวจท้องที่ ตำรวจรัฐ หรือตำรวจแห่งชาติ ตามการแบ่งส่วนราชการของแต่ละประเทศ
อำนาจหน้าที่
แก้อำนาจหน้าที่ของตำรวจทางหลวงหรือตำรวจจราจรของแต่ละประเทศ อาจจะประกอบไปด้วย
- สอบสวนอุบัติเหตุ
- รวบรวมพยานหลักฐานเพื่อหาสาเหตุในการเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนน
- การบังคับใช้กฎหมาย
- บังคับใช้กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับทางหลวง การจราจร และการขนส่ง
- ให้การศึกษา
- ให้ข้อมูลการจราจรและส่งเสริมการขับขี่ที่ปลอดภัยบนท้องถนน[1]
- ตอบสนองเหตุฉุกเฉิน
- การตอบสนองต่อเหตุฉุกเฉินบนท้องถนน รวมถึงการป้องกันพื้นที่และปฐมพยาบาลผู้ได้รับบาดเจ็บ ก่อนส่งต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
- การบำรุงรักษา
- สังเกตและรายงานความเสียหายบนท้องถนนที่เกิดจากการใช้งาน รวมไปถึงความเสียหายจากภัยภิบัติต่าง ๆ และจากสภาพอากาศ
- บังคับใช้กฎจราจร
- บังคับใช้กฎหมายและระเบียบเกี่ยวกับการจราจรเพื่อรักษาความปลอดภัยต่อผู้ใช้รถใช้ถนนส่วนรวม อาทิ การจำกัดความเร็ว
ตำรวจทางหลวงในแต่ละประเทศ
แก้- ประเทศไทย
- ในประเทศไทยตำรวจทางหลวง หมายถึง กองบังคับการตำรวจทางหลวง สังกัด กองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง มีอำนาจในการสืบสวนสอบสวตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาและตามกฎหมายอื่นอันเกี่ยวกับความผิดทางอาญาและจราจร
- สหรัฐอเมริกา
- ตำรวจทางหลวงในสหรรัฐอเมริกาบางส่วนเป็นตำรวจรัฐ แต่ใช้ชื่อว่าตำรวจทางหลวง มีอำนาจในการปฏิบัติงานภายในรัฐของตนเอง[2]
ดูเพิ่ม
แก้อ้างอิง
แก้- ↑ ""คอนติเนนทอล"อบรมนักขับขี่รุ่นใหม่-ใส่ใจความปลอดภัย". mgronline.com. 2011-07-17.
- ↑ ไทยโพสต์. "ตำรวจยูทาห์อึ้ง เจอเด็กชายวัย5ขวบขับเอสยูวีไปซื้อรถลัมโบร์กีนี | ไทยโพสต์". LINE TODAY.