ตะขบป่า
ตะขบป่า | |
---|---|
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | Plantae |
ไม่ได้จัดลำดับ: | Angiosperms |
ไม่ได้จัดลำดับ: | Eudicots |
ไม่ได้จัดลำดับ: | Rosids |
อันดับ: | Malpighiales |
วงศ์: | Salicaceae |
สกุล: | Flacourtia |
สปีชีส์: | F. indica |
ชื่อทวินาม | |
Flacourtia indica (Burm. f.) Merr. | |
ชื่อพ้อง | |
Flacourtia ramontchi |
ตะขบป่า (ชื่อวิทยาศาสตร์: Flacourtia indica) ภาคเหนือเรียก มะเกว๋นนก มะเกว๋นป่า หรือตานเสี้ยน พบทั่วไปตั้งแต่เอเชีย แอฟริกา โพลีเนเซีย เป็นไม้พุ่มขนาดเล็กสูง 2-15 เมตร ลำต้นคดงอ เปลือกสีน้ำตาลอ่อน มีหนาม ผิวใบเรียบหรือมีขนกระจาย ดอกออกเป็นช่อ ขนาดเล็ก สีขาว มีขนปกคลุม โคนกลีบดอกเชื่อมติดกัน แยกออกตอนปลาย เกสรตัวผู้จำนวนมากสีขาว ผลกลม เมื่ออ่อนสีเขียว สุกแล้วเป็นสีแดงสด ผลจะสุกประมาณเดือนกรกฎาคม ถึงสิงหาคม รับประทานได้ รสหวานอมฝาด พบตามป่าเต็งรัง ป่าชายหาด ป่าเบญจพรรณ ป่าดิบแล้ง และป่าผสมผลัดใบ ตลอดจนตามริมแม่น้ำ[1]
ผลและยอดอ่อนรับประทานได้ ผลสดนำมาแปรรูปเป็นแยมหรือไวน์[2] เนื้อไม้ใช้ทำด้ามอุปกรณ์ต่างๆ[2] ผลและเนื้อไม้มีฤทธิ์เป็นยาถ่ายพยาธิตัวกลม ใบใช้แก้งูกัด เปลือกไม้รักษาโรคผิวหนังได้ ชาวกะเหรี่ยงในจังหวัดเชียงใหม่ใช้รากต้มน้ำดิ่มแก้ปวดเมื่อย
อ้างอิง
แก้- ไซมอน การ์ดเนอร์ พินดา สิทธิสุนทร และวิไลวรรณ อนุสารสุนทร. ต้นไม้เมืองเหนือ. กรุงเทพฯ: โครงการจัดพิมพ์คบไฟ. 2543
- เศรษฐมันต์ กาญจนกุล. ตะขบป่า ใน ผลไม้ในเมืองไทย. กทม. เศรษฐศิลป์. 2555 หน้า 67
- ↑ "ตะขบป่า ผลไม้ป่าหากินยาก ภัตตาคารบ้านทุ่ง". สืบค้นเมื่อ 2023-09-09.
- ↑ 2.0 2.1 World Agroforestry