ดำน้ำฟินสวิมมิ่ง

ดำน้ำฟินสวิมมิ่ง[a] (อังกฤษ: finswimming) เป็นกีฬาใต้น้ำ ที่ใช้เทคนิคการว่ายน้ำโดยใช้ตีนกบ 4 เทคนิค ประกอบด้วย บนผิวน้ำโดยใช้สน็อกเกิลด้วยตีนกบเดี่ยว (monofins) หรือตีนกบคู่ (bifins) หรือใต้น้ำด้วยตีนกบเดี่ยวโดยการกลั้นหายใจ หรือใช้อุปกรณ์ดําน้ำลึกแบบเปิด มีการจัดการแข่งขันที่มีระยะคล้ายกับการแข่งขันว่ายน้ำ ทั้งการว่ายน้ำสระ และการว่ายน้ำในที่เปิด การแข่งขันในระดับโลกและระดับทวีปจัดโดยสมาพันธ์กีฬาใต้น้ำโลก (CMAS) กีฬานี้จัดการแข่งขันชิงแชมป์โลกครั้งแรกขึ้นในปี 1976 นอกจากนี้ยังได้รับการนําเสนอในเวิลด์เกมส์ในฐานะกีฬาเทรนด์สปอร์ตตั้งแต่ปี 1981 และยังเป็นกีฬาสาธิตในการแข่งขันยูโรเปียนเกมส์ 2015 ในเดือนมิถุนายน 2015

ดำน้ำฟินสวิมมิ่ง
ดำน้ำฟินสวิมมิ่งด้วยตีนกบเดี่ยว
สมาพันธ์สูงสุดสมาพันธ์กีฬาใต้น้ำโลก
ลักษณะเฉพาะ
การปะทะไม่
แข่งรวมชายหญิงใช่ แต่โดยปกติแยก
หมวดหมู่ในน้ำ ในร่ม กลางแจ้ง
อุปกรณ์หน้ากากดำน้ำ, สน็อกเกิล, ตีนกบ, ชุดดำน้ำแบบเปิด
สถานที่สระว่ายน้ำ, ว่ายน้ำในพื้นที่เปิด
จัดแข่งขัน
ประเทศ ภูมิภาคนานาชาติ
โอลิมปิกไม่
เวิลด์เกมส์ตั้งแต่ 1981

เทคนิค แก้

 
ตีนกบเดี่ยวและตีนกบคู่

การว่ายฟินสวิมมิ่งบนพื้นผิวน้ำ แก้

การว่ายฟินสวิมมิ่งบนพื้นผิวน้ำ[1] (surface finswimming; SF) คือการว่ายบนผิวน้ำโดยใช้หน้ากาก สน็อกเกิล และตีนกบเดี่ยว การแข่งขันแบบพื้นผิวน้ำจัดแข่งในระยะทาง 50, 100, 200, 400, 800, 1500, ผลัดผสม 4 × 50 (ชาย 2 คน, หญิง 2 คน), ผลัด 4 × 100 และผลัด 4 × 200 เมตร ในสระว่ายน้ำและในระยะทางไกลต่าง ๆ ในสภาพแวดล้อมน้ำเปิด นักว่ายน้ำจะต้องอยู่บนผิวน้ำตลอดเวลาการแข่งขัน ยกเว้นเมื่อเริ่มหรือกลับตัวที่ปลายสระว่ายน้ำ โดยอนุญาตให้ลงน้ำในระยะ 15 เมตรได้[2]

การว่ายฟินสวิมมิ่งแบบกลั้นหายใจ แก้

การว่ายฟินสวิมมิ่งแบบกลั้นหายใจ[1] (apnoea finswimming; AP) คือการว่ายน้ำใต้น้ำในสระว่ายน้ำโดยใช้หน้ากาก ตีนกบเดี่ยว และการกลั้นหายใจ การแข่งขันแบบกลั้นหายใจจะจัดแข่งในระยะทาง 50 เมตร ใบหน้าของนักว่ายน้ำจะต้องจุ่มน้ำตลอดการแข่งขัน มิฉะนั้นอาจเสี่ยงต่อการตัดสิทธิ์ การแข่งแบบกลั้นหายใจไม่ได้จัดแข่งในสภาพแวดล้อมน้ำเปิดด้วยเหตุผลด้านความปลอดภัย[2]

การว่ายแบบใต้น้ำพร้อมเครื่องช่วยหายใจ แก้

การว่ายแบบใต้น้ำพร้อมเครื่องช่วยหายใจ[1] (immersion finswimming; IM) คือการว่ายน้ำใต้น้ำโดยใช้หน้ากาก ตีนกบเดี่ยว และเครื่องช่วยหายใจใต้น้ำสำหรับสระว่ายน้ำ แม้ว่าจะไม่มีข้อกำหนดเกี่ยวกับวิธีการพกพาเครื่องช่วยหายใจ แต่ก็ไม่สามารถเปลี่ยนหรือถอดในระหว่างการแข่งขันได้ การแข่งแบบเครื่องช่วยหายใจจัดขึ้นในระยะทาง 100 และ 400 เมตร ใบหน้าของนักว่ายน้ำจะต้องจุ่มน้ำตลอดการแข่งขัน ไม่เช่นนั้นจะเสี่ยงต่อการตัดสิทธิ์ การแข่งแบบเครื่องช่วยหายใจไม่ได้จัดแข่งในสภาพแวดล้อมน้ำเปิดด้วยเหตุผลด้านความปลอดภัย[2] ในอดีตมีการในน้ำเปิดเป็นระยะทาง 1,000 เมตร[3]

ตีนกบคู่ แก้

ตีนกบคู่[1] (bi-fins; BF) การว่ายบนผิวน้ำพร้อมกับหน้ากาก ท่อหายใจ และตีนกบคู่ โดยใช้ท่าฟรีสไตล์ การแข่งแบบตีนกบคู่ จัดขึ้นในระยะทาง 50, 100, 200, 400 และผลัดผสม 4 × 100 (ชาย 2 คน หญิง 2 คน) ในสระว่ายน้ำและในระยะทางไกลต่าง ๆ ในสภาพแวดล้อมน้ำเปิด เช่น 4 กิโลเมตร และ 6 กิโลเมตร มีรายงานว่าการแข่งแบบตีนกบคู่เปิดตัวในปี 2006 เพื่อให้โอกาสในการแข่งขันโดยนักว่ายน้ำที่ไม่สามารถซื้อชุดตีนกบเดี่ยวได้ นักว่ายน้ำจะต้องอยู่บนผิวน้ำตลอดเวลาการแข่งขัน ยกเว้นเมื่อเริ่มหรือกลับตัวที่ปลายสระว่ายน้ำ โดยอนุญาตให้ลงน้ำในระยะ 15 เมตรได้[2][4]

เชิงอรรถ แก้

หมายเหตุ แก้

  1. ใช้การสะกดตามสมาคมกีฬาดำน้ำแห่งประเทศไทย[1]

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 "กฎกติกาการแข่งขัน กีฬาดำน้ำฟินสวิมมิ่ง เวอร์ชั่น 2020/01" (PDF).
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 FINSWIMMING - CMAS RULES VERSION 2012/03 In force as from January 1, 2013 (BoD179 - 22/11/2012). Rome: Confédération Mondiale des Activités Subaquatiques. 2012. pp. 2–3. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-04-21. สืบค้นเมื่อ 2023-10-23.
  3. "A book about History of UW orienteering". CMAS. p. 4. สืบค้นเมื่อ 19 January 2014.
  4. "Finswimming". Official site dedicated to Luigi Ferraro. สืบค้นเมื่อ 3 December 2013.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้