ดวงดาวเล็ก ๆ บนผืนโลก

ตาเร ซะมีน ปะร์ (ฮินดี: तारे ज़मीन पर, อักษรโรมัน: Taare Zameen Par; แปลว่า ดวงดาวบนพื้นโลก) หรือชื่อไทย ดวงดาวเล็ก ๆ บนผืนโลก (อังกฤษ: Like Stars on Earth) เป็นภาพยนตร์ดรามาภาษาฮินดี ออกฉายในปี ค.ศ. 2007 ผลิตและกำกับโดย อามิร์ ข่าน นำแสดงโดยอามิร์ ข่าน, ทรรศีล สผารี, ตนัย เฉทะ, วิปิน ศรรมา และ ฏิสกา โจปรา ภาพยนตร์บอกเล่าชีวิตและจินตนาการของ อิศาน (ฮินดี: इशान, Ishaan; รับบทโดยสผารี) เด็ชายวัยเก้าขวบที่มีพรสวรรค์ทางศิลปะ แต่ด้วยผลการเรียนที่แย่ทำให้พ่อแม่ส่งเขาไปเรียนในโรงเรียนประจำ ที่ซึ่งครูศิลปะคนใหม่ นิกุมภ์ (ฮินดี: राम शंकर निकुम्भ, Nikumbh; รับบทโดยข่าน) สงสัยว่าอิศานป่วยด้วยโรคดิสเล็กเซีย และช่วยให้เขาก้าวผ่านโรคดังกล่าวได้

ดวงดาวเล็ก ๆ บนผืนโลก
กำกับอามิร์ ข่าน
เขียนบทอาโมเล คุปเต
อำนวยการสร้างอามิร ข่าน
นักแสดงนำทรรศีล สผารี
อามิร์ ข่าน
ฏิสกา โจปรา
วิปิน ศรรมา
ตนัย เฉทะ
กำกับภาพสัตยชีต ปาณเฑ (เสตุ)
ตัดต่อทีปะ ภติยะ
ดนตรีประกอบศังกระ-เอซาน-โลย
บริษัทผู้สร้าง
อามิร ข่าน โพรดักชั่นส์
พีวีอาร์ พิคเชอส์
ผู้จัดจำหน่ายพีวีอาร์ พิคเชอส์
วันฉาย21 ธันวาคม ค.ศ. 2007 (2007-12-21)
ความยาว164 นาที[1]
ประเทศอินเดีย
ภาษาภาษาฮินดี
ทุนสร้าง120 ล้าน
ทำเงิน1.35 ล้าน

ภาพยนตร์ออกฉายในประเทศอินเดียครั้งแรกเมื่อวันที่ 21 ธันวาคม 2007 และประสบความสำเร็จในแง่ของรายได้ โดยทำเงินได้ 1.35 พันล้านรูปีอินเดียจากการออกฉายทั่วโลก และได้รับการวิจารณ์ไปในทางบวก ได้รับการชื่นชมทั้งแง่ของเนื้อเรื่อง บทละคร การกำกับ ดนตรีประกอบ และการแสดง นอกจากนี้ภาพยนตร์นี่ยังมีส่วนในการกระตุ้นการรับรู้ของโรคดิสเล็กเซียในอินเดีย

บทบาท แก้

  • ทรรศีล สผารี รับบท อิศาน นันทกิโศร อวัสถี (Ishaan Nandkishore Awasthi) บุตรของมายา และนันทกิโศร[2]
  • อามิร์ ข่าน รับบท ราม ศังกระ นิกุมภ์ (Ram Shankar Nikumbh) ครูศิลปะโรงเรียนมัธยมนิวอีรา[3]
  • ฏิสกา โจปรา รับบท มายา อวัสถี (Maya Awasthi) มารดาของอิศาน และ โยหาน[4]
  • วิปิน ศรรมา รับวท นันทกิโศร อวัสถี (Nandkishore Awasthi) บิดาของอิศาน และ โยหาน[5]
  • ตนัย เฉทะ รับบท ราชัน ทโมทรัน (Rajan Damodran) เพื่อนรักของอิศานที่โรงเรียนประจำ
  • สเจต เอนจิเนียร์ รับบท โยหาน นันทกิโศร อวัสถี (Yohaan Nandkishore Awasthi) พี่ชายของอิศาน
  • คิริชา โอก รับบท ชพีน ข่าน (Jabeen Khan) เพื่อนร่วมงานของราม
  • เอ็มเค ไรนา รับบท ครูใหญ่โรงเรียนประจำ
  • เมฆนา มาลิก รับบทครูวิกตอเรีย ที่โรงเรียนเซนต์อันโทนี
  • โสนาลี สัจเทพ รับบทครูไอรีน ที่โรงเรียนเซนต์อันโทนี
  • ลลิตา ลัชมิ รับบทเป็นตัวเอง[6]

การผลิต แก้

การพัฒนา แก้

ทีมสามีภรรยา อโมเล คุปเต และ ทีปะ ภติยา (Deepa Bhatia) พัฒนาเนื้อเรื่องที่ต่อมากลายมาเป็นเนื้อเรื่องของภาพยนตร์เรื่องนี้ เพื่อใช้งานสำหรับทำความเข้าใจว่าทำไมเด็กบางคนไม่สามารถเข้าได้ดีกับระบบการศึกษาแบบทั่วไป การทำงานของทั้งสองเริ่มต้นจากเรื่องสั้นที่พัฒนามาเป็นบทภาพยนตร์โดยใช้เวลากว่าเจ็ดปี ภติยากล่าวในบทสัมภาษณ์กับ เดอะฮินดู ว่าเธอได้รับแรงบันดาลใจแรกเริ่มมาจากชีวิตวัยเด็กของผู้ผลิตภาพยนตร์ชาวญี่ปุ่น อากีระ คุโรซาวะ ซึ่งมีผลการเรียนแย่ในสมัยเรียน เธอระบุว่าจากตอนหนึ่งในชีวประวัติของคุโรซาวะ ซึ่งเขาเริ่มมีผลการเรียนดีขึ้นหลังพบกับครูศิลปะที่ให้ความใส่ใจกับเขา กลายมาเป็นแรงบันดาลใจของเธอว่า “ครูคนหนึ่งสามารถเปลี่ยนแปลงชีวิตของนักเรียนคนหนึ่งได้”[2]

ภาพยนตร์เรื่องนี้เป็นประสบการณ์การแสดงควบคู่กับการกำกับภาพยนตร์ครั้งแรกของข่าน เขายอมรับว่าการเปลี่ยนผ่านนี้ท้าทาย และระบุว่าแม้เขาอยากจะกำกับภาพยนตร์มาโดยตลอด แต่การกำกับภาพยนตร์ถือเป็นเขตแดนใหม่สำหรับเขา[7] ข่านระบุว่าชื่อของภาพยนตร์มาจากว่าภาพยนตร์นี้เป็นมุมมองสำหรับเด็กที่มีความบกพร่อง ชื่อของภาพยนตร์ให้ความรู้สึกในเชิงบวก “เด็กทุกคนล้วนพิเศษและมหัศจรรย์ เหมือนกับดวงดาวบนพื้นโลก” ซึ่งกลายมาเป็นชื่อของภาพยนตร์[8]

การถ่ายทำ แก้

การถ่ายทำหลักดำเนินในประเทศอินเดีย กินระยะเวลา 5 เดือน[9] ข่านใช้เวลาสองวันแรกหมดไปกับการกำกับบล็อกกิงสำหรับฉากแรกที่จะถ่ายทำ ซึ่งคือฉากที่อิศานเดินกลับบ้านจากโรงเรียน[10] ข่านเชื่อว่าผู้ชมไม่ควรจะรับรู้ได้ว่ามีกล้องอยู่ จึงเลือกวิธีการถ่ายแบบง่ายซึ่งมีการขยับกล้องค่อนข้างน้อย[11]

ฉากเปิดของภาพยนตร์ถ่ายทำในสถานที่จริงที่ฟิล์มซิตี มุมไบ[12] ฉากฝันร้ายที่อิศานฝันว่าพลัดหลงจากมารดาที่สถานีรถไฟ ถ่ายทำที่ฉากถ่ายทำภาพยนตร์ถาวรสำหรับสถานีรถไฟในมุมไบ[13]

ฉากโรงเรียนทั้งหมดถ่ายทำในสถานที่จริง โดยโรงเรียนแรกของอิศานนั้น ทีมงานมองหาโรงเรียนในมุมไบที่ให้อารมณ์ “กดขี่” เพื่อให้เกิดความรู้สึก “หนักหน่วงในโรงเรียนในมหาคร“[14] และได้เลือกถ่ายทำที่โรงเรียนเซนต์เซเวียร์ (St. Xavier's School)[15] เนื่องจากโรงเรียนตั้งอยู่บนถนนหลัก การถ่ายทำดำเนินไประหว่างสุดสัปดาห์เพื่อลดเสียงพื้นหลังที่รบกวนการถ่ายทำ ในตอนที่ถ่ายทำฉากอิศานถูกไล่ออกจากห้องเรียนในตอนต้นของภาพยนตร์นั้นตรงกับวันที่มีการจัดมุมไบมาราทอนพอดี ทีมงานใช้การติดแผ่นอะคริลิกใสบนหน้าต่างของห้องเรียนเพื่อช่วยลดทอนเสียงจากงานมาราทอน[16] โรงเรียนมัธยมนิวอีราในปัญจคนิ ใช้ถ่ายทำเป็นโรงเรียนประจำของอิศาน ส่วนบ้านหลังเล็กของอิศานถ่ายทำในนิคมไมซอร์ เมืองเจมพูร์[17]

นักแสดงเด็ก แก้

มีนักเรียนจริง ๆ เข้าแสดงตลอดทั้งเรื่อง ข่านยังให้เครดิตความสำเร็จของภาพยนตร์ว่ามาจากเด็กเหล่านี้ และข่านเองยังได้รับความนิยมอย่างมากในบรรดาเด็ก ๆ[7] นอกจากนี้ ข่านยังให้ความสำคัญอย่างมากต่อความต้องการของเด็ก ๆ ในวันต่อวัน และทุ่มเทอย่างมาก[8] ทีมงานยังมีส่วนร่วมในการหาอะไรให้เด็ก ๆ ทำโดยไม่เบื่อตลอดการถ่ายทำ[18] ผู้ประสานงานของโรงเรียนมัธยมนิวอีรา ดักลาส ลี (Douglas Lee) มองว่าประสบการณ์ที่ให้นักเรียนเข้าร่วมแสดงด้วยนี้ไม่เพียงแต่ช่วยสอนให้เด็ก ๆ รู้จักความอดทนและการให้ความร่วมมือ แต่ยังช่วยให้พวกเขาเข้าใจดียิ่งขึ้นว่าจะปฏิบัติตัวเช่นไรกับเด็กที่มีปัญหาในโรงเรียนเช่นเดียวกับอิศาน[19] เนื่องจากการถ่ายทำที่โรงเรียนนิวอีราดำเนินไปในช่วงวันหยุดฤดูหนาว นักแสดงที่รับบทเพื่อนร่วมชั้นของอิศานทิ้งช่วงวันหยุดยาวมาเพื่อเข้าร่วมแสดง[20] นอกจากนี้ยังมีการนำเอานักเรียนจากโรงเรียนโดยรอบมาเพื่อเติมเต็มฉากหลังของภาพยนตร์[21] มีเด็กราว 1,500 คนในฉากกว้างของฉากเทศกาลศิลปะซึ่งเป็นจุดสูงสุดของภาพยนตร์ ในชณะที่ฉากขนาดกลางใช้เด็กราว 400 คน[22]

การตอบรับ แก้

บทวิพากษ์ แก้

ภาพยนตร์ได้รับคะแนน บนเว็บไซต์รวบรวมบทวิจารณ์ รอตเทนโทเมโทส์ พบว่า 92% ของบทวิจารณ์โดยนักวิจารณ์ 12 คนเป็นไปในทางบวก ด้วยคะแนนเฉลี่ย 7/10 [23] สุภาษ เค ฌา (Subhash K. Jha) ระบุว่าภาพยนตร์นี้เป็น ”ชิ้นงานศิลปะ เป็นภาพเขียนสีน้ำที่หยดลงในหัวใจของเราทุกคน ซึ่งไม่ยากเลยที่จะหลงเข้าไปในท่วงท่าของอารมณ์ที่อ่อนไหวเกินจริง อามิร์ ข่าน รู้จักที่จะไม่ทุ่มมากเกินไปในจุดที่เขาสามารถจะเปลี่ยนไปเป็นการแสดงที่ดรามาและเต็มไปด้วยอารมณ์อย่างมากเกินไป”[24] ราชีพ มสันท์ จาก CNN-IBN ระบุว่าพลังของภาพยนตร์แท้จริงอยู่ใน “บทภาพยนตร์ที่แข็งแกร่ง มีราก และน่าจดจำ“ ซึ่งช่วยให้ภาพยนตร์สร้าง ”ประสบการณ์ที่มีอารมณ์ร่วมและอบอุ่นหัวใจเช่นนี้”[25] มนิศ คัชชร (Manish Gajjar) จาก BBC ระบุว่าภาพยนตร์ ”เข้าใจสัมผัสจิตใจของคุณ และผลักคุณให้ลุ่มหลงเข้าไปด้วยการแสดงที่ล้ำเลิศ”[26] ชัสปรีต ปัณโฆหร (Jaspreet Pandohar) จาก BBC เช่นกัน ได้ชี้ให้เห็นว่าภาพยนตร์นี้ “ผลักตัวออกมาไกลมากจากภาพยนตร์กลิ่นมาซาล่าที่ผลิตซ้ำ ๆ เป็นสูตรจากจักรกรบอลลีวูด”[27]

ในเชิงวิชาการ แก้

ในบทความ "Taare Zameen Par and dyslexic savants" ตีพิมพ์บนวารสารสถาบันประสาทวิทยาอินเดีย (Annals of Indian Academy of Neurology) อัมพร จักรวรรติ (Ambar Chakravarty) เขียนถึงลักษณะของโรคดังที่ปรากฏในภาพยนตร์โดยทั่วไปว่ามีความถูกต้องกับโรคดิสเล็กเซีย อย่างไรก็ตาม การที่อิศานมีปัญหากับปัญหาเลขคณิตอย่างง่ายอาจเป็นลักษณะของโรคดิสคัลคูเลียมากกว่าดิสเล็กเซีย แต่อาจแสดงออกมาเช่นนั้นเพื่อเน้นย้ำว่า “อิศานขาดความช่วยเหลือและมีความบกพร่อง” และระบุว่าอิศานเป็นตัวอย่างหนึ่งของกลุ่มอาการ “ดิสเล็กซิกซาวองต์” ("dyslexic savant syndrome") และยังชื่นชมความสามารถทางศิลปะและการเติบโตของอิศานหลังได้รับความช่วยเหลือจากครูนิกุมภ์[28]

ในสาธารณะ แก้

ภาพยนตร์ช่วยยกการรับรู้ปัญหาของโรคดิสเล็กเซียขึ้นอย่างมาก และนำไปสู่การพูดคุยถึงปัญหานี้ในระดับครอบครัวจนถึงนโยบายในอินเดีย อัญชุลี พาวา (Anjuli Bawa) ผู้ปกครองและนักกิจกรรมผู้ก่อตั้ง แอ็กชั่นดิสเล็กเซียเดลี (Action Dyslexia Delhi) กล่าวว่าจำนวนผู้ปกครองที่มายังสำนักงานอของเธอเพิ่มขึ้นสิบเท่าในช่วงเดือนหลังภาพยนตร์ออกฉาย[29]

ภาพยนตร์ถูกประท้วงไม่ให้ออกฉาย เนื่องมาจากจุดยืนของข่านที่สนับสนุนนรรมทา บจาโอ อันโทลัย และวิพากษ์วิจารณ์รัฐมนตรีประจำรัฐคุชราต นเรนทร โมที[30][31] นักเคลื่อนไหวราว 50 คน ประท้วงหน้าโรงภาพยนตร์ในเครือ PVR และ INOX ในวโททรา รัฐคุชราต และออกแถลงการณ์ให้โรงภาพยนตร์ทั้งหมดในรัฐคุชราตไม่ฉายภาพยนตร์เรื่องนี้จนกว่าข่านจะออกแถลงการณ์ขอโทษที่วิจารณ์นเรนทร โมที[30][32] เครือ INOX ท้ายที่สุดยอมงดฉายภาพยนตร์เรื่องนี้ โดยผู้บริหาร ปุษเปนทร สิงห์ ราโฐถ (Pushpendra Singh Rathod) ระบุว่า “เครือ INOX อยู่ข้างรัฐคุชราต“[30]

อ้างอิง แก้

  1. "TAARE ZAMEEN PAR (PG) – British Board of Film Classification". 17 December 2007. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 October 2013. สืบค้นเมื่อ 23 October 2012.
  2. 2.0 2.1 Vij, Gauri (3 February 2008). "A leap of faith". The Hindu. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 April 2008. สืบค้นเมื่อ 11 April 2008.{{cite web}}: CS1 maint: unfit URL (ลิงก์)
  3. "In 2002, Taare Zameen Par was still called and registered as High Jump". Bollywood Hungama. 28 January 2008. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 21 May 2008. สืบค้นเมื่อ 27 July 2010.
  4. Like Stars on Earth DVD commentary. Event occurs at approximately 16:00
  5. Like Stars on Earth DVD commentary. Event occurs at approximately 40:00
  6. Like Stars on Earth DVD commentary. Event occurs at approximately 2:27:00
  7. 7.0 7.1 "Aamir bends the rules". DNA. 24 December 2007. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 September 2012. สืบค้นเมื่อ 21 April 2008.
  8. 8.0 8.1 Patel, Devansh (18 December 2007). "TZP makes me a proud actor, producer and a director". Bollywood Hungama. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 December 2008. สืบค้นเมื่อ 12 May 2009.
  9. Like Stars on Earth DVD commentary. Event occurs at approximately 20:00
  10. Like Stars on Earth DVD commentary. Event occurs at approximately 10:15
  11. Like Stars on Earth DVD commentary. Event occurs at approximately 15:15
  12. Like Stars on Earth DVD commentary. Event occurs at approximately 2:45
  13. Like Stars on Earth DVD commentary. Event occurs at approximately 48:00
  14. Like Stars on Earth Bonus Disc: The Making.... Event occurs at approximately 10:00
  15. Like Stars on Earth (DVD). Walt Disney Studios Home Entertainment. 12 January 2010.
  16. Like Stars on Earth DVD commentary. Event occurs at approximately 23:00
  17. Like Stars on Earth Bonus Disc: The Making.... Event occurs at approximately 11:00
  18. Like Stars on Earth Bonus Disc: The Making.... Event occurs at approximately 16:00
  19. Like Stars on Earth Bonus Disc: The Making.... Event occurs at approximately 35:00
  20. Like Stars on Earth DVD commentary. Event occurs at approximately 1:11:30
  21. Like Stars on Earth Bonus Disc: The Making.... Event occurs at approximately 18:00
  22. Like Stars on Earth DVD commentary. Event occurs at approximately 2:14:00
  23. "ดวงดาวเล็ก ๆ บนผืนโลก". Rotten Tomatoes. Fandango Media. สืบค้นเมื่อ July 18, 2022.  
  24. Jha, Subhash (27 December 2007). "Subhash K Jha speaks about Taare Zameen Par". Bollywood Hungama. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 May 2008. สืบค้นเมื่อ 12 January 2010.
  25. Masand, Rajeev (21 December 2007). "Taare Zameen Par may change your life". IBN-CNN. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 23 June 2008. สืบค้นเมื่อ 10 April 2008.
  26. Gajjar, Manish. "Taare Zameen Par (2007)". BBC. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 January 2008. สืบค้นเมื่อ 6 January 2008.
  27. Pandohar, Jaspreet (18 December 2007). "Taare Zameen Par (2007)". BBC. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 March 2008. สืบค้นเมื่อ 8 April 2008.
  28. Chakravarty, Ambar (2009). "Taare Zameen Par and dyslexic savants". Annals of Indian Academy of Neurology. 12 (2): 99–103. doi:10.4103/0972-2327.53077. PMC 2812748. PMID 20142854.
  29. Lakshmi, Rama (4 June 2008). "The Pain of Dyslexia, As Told by Bollywood, Page 1". The Washington Post. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 November 2012. สืบค้นเมื่อ 22 October 2010.
  30. 30.0 30.1 30.2 "Taare Zameen Par banned in Vadodara multiplex". Yahoo! India Movies. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 28 July 2010. สืบค้นเมื่อ 27 July 2010.
  31. "Anti-Modi remarks haunts Aamir Khan before release of 'Taare Zameen Par' in Gujarat". Yahoo! India Movies. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 28 July 2010. สืบค้นเมื่อ 27 July 2010.
  32. "TZP runs into trouble in Gujarat". Yahoo! India Movies. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 March 2008. สืบค้นเมื่อ 27 July 2010.