ซัมบอดีแดทไอยูสด์ทูโนว

"ซัมบอดีแดทไอยูสด์ทูโนว" (Somebody That I Used to Know) เป็นเพลงที่เขียนโดยนักแต่งเพลง-นักร้องชาวเบลเยียม-ออสเตรเลีย กอทเย และมีนักร้องรับเชิญประกอบคือนักร้องสตรีชาวนิวซีแลนด์ คิมบรา เพลงนั้นถูกปล่อยในออสเตรเลียและนิวซีแลนด์โดย Eleven Music เมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม 2011 ในฐานะซิงเกิลที่สองจากสตูดิโออัลบัมลำดับที่สามของกอทเย Making Mirrors (2011) ต่อมาเพลงได้ปล่อยโดย Universal Music ในเดือนธันวาคม 2011 ในสหราชอาณาจักร และในเดือนมกราคม 2012 ในสหรัฐอเมริกากับไอร์แลนด์ เพลงนี้เขียนขึ้นและอัดเสียงที่บ้านของพ่อแม่ของกอทเยบนแหลมมอร์นิงทันใน วิคตอเรีย, ประเทศออสเตรเลีย

"ซัมบอดีแดทไอยูสด์ทูโนว (Somebody That I Used to Know)"
A large heart shaped design is filled with a montage of images. Most are grey, black, and white; the central image includes red colouring. The name Gotye is styled as a signature at bottom right.
ซิงเกิลโดยกอทเย โดยมี คิมบรา รับเชิญ
จากอัลบั้มเมคกิง มีเรอส์
วางจำหน่าย5 กรกฎาคม ค.ศ. 2011 (2011-07-05)
บันทึกเสียงมกราคม–พฤษภาคม 2011
สตูดิโอThe Barn (มาร์เร็คส์, ออสเตรเลีย), Lucas Taranto's lounge room (เมลเบิร์น, ออสเตรเลีย)
แนวเพลงอาร์ตป็อป[1]
ความยาว4:04 (ในอัลบัม)
3:33 (เรดิโอมิกซ์)
ค่ายเพลงเอเลเว่น
ผู้ประพันธ์เพลงวอลลี เดอ บัคเกอร์
โปรดิวเซอร์De Backer

เพลงมีลักษณะเป็นแบบมิดเทโปบัลลาด (mid-tempo ballad) และได้นำเอาตัวอย่าง (samples) จากรุ่นดนตรีของเพลง "Seville" โดย Luiz Bonfá จากอัลบัมเมื่อปี 1967 Luiz Bonfa Plays Great Songs ซัมบอดีแดทไอยูสด์ทูโนวได้รับการตอบรับในเชิงบวกจากการวิจารณ์ ที่ซึ่งระบุความคล้ายของเพลงนี้กับผลงานเพลงของ Sting, Peter Gabriel และ Bon Iver ในปี 2013 เพลงนี้ได้รับรางวัล Grammy Awards สองรางวัลสำหรับ การแสดงดูโอ/กลุ่มป็อปยอดเยี่ยม (Best Pop Duo/Group Performance) และ บันทึกเสียงแห่งปี (Record of the Year)

ในทางธุรกิจ เพลงนี้เป็นเพลงที่ประสบความสำเร็จสูงสุดของกอทเย ขึ้นอันดับหนึ่งของชาร์จในสหรัฐ, สหราชอาณาจักร, ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์ เช่นเดียวกับชาร์ตประจำชาติต่าง ๆ ทั่วโลกอีกกว่า 22 แห่ง รวมทั้งเป็น ท็อป 10 ในมากกว่า 30 ประเทศทั่วโลก เพลงนี้ถูกขายไปมากกว่า 13 ล้านกอปปี้ทั่วโลก เป็นหนึ่งในซิงเกิลดิจิทอลที่ขายดีที่สุดตลอดกาล[2] นอกจากนี้ยังมีชื่อเป็นเพลงอันดับหนึ่งในหลายชาร์ตของ Billboard Magazine ในปลายปี (รวมทั้ง Hot 100, Adult Pop Songs และ เพลงอัลเทอร์นาทีฟ) เช่นเดียวกับในบริษัทเรเคิดส์อื่น ๆ ทั่วโลก ในปี 2018 เดือนมกราคม ใน Triple M's "Ozzest 100" เพลงนี้ได้ตำแหน่งที่ 98 สำหรับเพลงที่ “ออสเตรเลีย” ที่สุดตลอดกาล (the 'most Australian' songs of all time)[3]

มิวสิกวิดีโอ

แก้
 
ภาพตอนหนึ่งจากมิวสิกวิดีโอแสดงกอทเยและคิมบรา

มิวสิกวิดีโอนั้นผลิตและกำกับโดยศิลปินชาวออสเตรเลีย Natasha Pincus และอัดโดยนักสร้างภาพยนตร์ (cinematographer) ชาวออสเตรเลีย Warwick Field ในมิวสิกวิดีโอแสดงให้เห็นกอทเยและคิมบราเปลือย โดยตลอดที่เขาร้องเพลง ร่างกายของเขาค่อย ๆ ถูกเติมสีเข้าไปเป็นส่วนเดียวกับแบ็คดร็อปผ่านการถ่ายทำแบบสต็อปโมชั่น ภาพพื้นหลังในมิวสิกวิดีโอนั้นได้มาจากงานศิลปะที่พ่อของกอทเย แฟรงก์ เดอ บัคเกอร์ (Frank de Backer) สร้างขึ้นในทศวรรษ 1980s และแฟรงก์ยังเป็นผู้ออกแบบปกของอัลบัม Making Mirrors[4][5] ผลงานการแต้มสีบนร่างกายของทั้งกอทเยและคิมบราเป็นของ Emma Hack ศิลปินและบอดีเพนเตอร์จากเมืองอาเดเลด ซึ่งว่าจ้างโดย Pincus และมีศิลปินภาพทิวทัศน์ชาวเมลเบิร์น Howard Clark เป็นผู้สร้างแบ็คดร็อป[5] Hack ระบุว่าใช้เวลามากกว่า 23 ชั่วโมงในการแต้มสีร่างกายของกอทเยกับคิมบราให้ตรงกับพื้นหลัง[5]

มิวสิกวิดีโอได้ปล่อยในวันที่ 30 กรกฎาคม 2011 บนยูทูบ มียอดเข้าชม 200,000 ครั้งภายในสองสัปดาห์แรก และได้รับการโปรโมตโดยเซเลบริตีอย่าง Ashton Kutcher และ Katy Perry บนทวิตเตอร์[6][4] ในเดือนเมษายน 2020 ยอดเข้าชมบนยูทูบนั้นอยู่ที่มากกว่า 1.4 พันล้านครั้ง[7]

รูปแบบคัฟเวอร์และการปรากฏในสื่อ

แก้

มีการนำเพลงมาคัฟเวอร์ (Cover) จำนวนมาก กอทเยรับรู้และได้แสดงความเคารพต่อผลงานคัฟเวอร์อันล้นเหลือเหล่านี้โดยการสร้างวิดีโอรวบรวมขึ้นมาในเดือนสิงหาคม 2012 โดยใช้ส่วนต่าง ๆ จากผลงานคัฟเวอร์ออนไลน์กว่าหลายร้อยชิ้นมาตัดต่อรวมกันเป็น "Somebodies: A YouTube Orchestra"[8][9]

เวอร์ชันของ วอล์กออฟฟ์ดิเอิร์ธ

แก้
"Somebody That I Used to Know"
ซิงเกิลโดยWalk Off the Earth
จากอัลบั้มR.E.V.O.
วางจำหน่าย6 มกราคม ค.ศ. 2012 (2012-01-06)
บันทึกเสียง2012
แนวเพลง
ความยาว4:08
ค่ายเพลงคอลัมเบีย
ผู้ประพันธ์เพลงวอลลี เดอ บัคเกอร์
โปรดิวเซอร์Gianni Luminati

ในเดือนมกราคม 2012 วงดนตรีอินดีร็อคชาวแคนาดา วอล์กออฟฟ์ดิเอิร์ธ (Walk Off the Earth) ได้อัปโหลดเวอร์ชันคัฟเวอร์ของเพลง "Somebody That I Used to Know" ขึ้นบนยูทูบ โดยใช้กีตาร์เพียงตัวเดียวในการเล่นโดยสมาชิกทั้งห้าคนของวงไปพร้อมกัน ในเดือนเมษายน 2012 เพลงของวอล์กออฟฟ์ดิเอิร์ธมียอดจำหน่าย 187,000 ชิ้นในสหรัฐอเมริกา[10]

เวอร์ชันของ นักแสดงซีรี่ส์ กลี

แก้
"Somebody That I Used to Know"
ซิงเกิลโดยนักแสดงจาก กลี
วางจำหน่าย10 เมษายน 2012
บันทึกเสียง2012
แนวเพลงป็อป
ความยาว4:06
ค่ายเพลงคอลัมเบีย
ผู้ประพันธ์เพลงวอลลี เดอ บัคเกอร์

เพลงถูกคัฟเวอร์ใน กลี ตอน "Big Brother" โดย Darren Criss (รับบทเป็น Blaine Anderson) และ Matt Bomer (รับบทเป็น Cooper Anderson) มียอดขายดิจิทัลดาวน์โหลด 152,000 ครั้งในสัปดาห์แรก[11]

อ้างอิง

แก้
  1. Tris McCall (10 February 2012). "Song of the Week: 'Somebody That I Used to Know,' Gotye". The Star-Ledger. สืบค้นเมื่อ 3 July 2017.
  2. "My Secret Life: Gotye, 32, singer-songwriter". The Independent. London. 1 September 2012. สืบค้นเมื่อ 1 September 2012.
  3. "Here Are The Songs That Made Triple M's 'Ozzest 100'". Musicfeeds. 27 January 2018. สืบค้นเมื่อ 4 January 2020.
  4. 4.0 4.1 O'Neil, Patrick (22 April 2012). "She made Gotye somebody we all know". The Age. Melbourne. สืบค้นเมื่อ 1 June 2012.
  5. 5.0 5.1 5.2 Forrest, Nicholas (13 May 2012). "Painting Gotye: A Q&A with the Aussie Body-Painting Artist Behind the "Somebody I Used to Know" Video". Art+Auction. Louise Blouin. สืบค้นเมื่อ 30 May 2012.
  6. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ ReferenceA
  7. "'Somebody That I Used to Know' (feat. Kimbra) – Gotye". Youtube (Google, Inc.). สืบค้นเมื่อ 26 May 2012.
  8. De Backer, Wally (Gotye) (13 August 2012). "Somebodies: A YouTube Orchestra". Wally (Gotye) and GEA-Interactive Pty Ltd. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 October 2013. สืบค้นเมื่อ 9 September 2013.
  9. "Somebodies: A YouTube Orchestra". Gotye. 12 August 2012. สืบค้นเมื่อ 20 December 2012.
  10. Smirke, Richard (13 April 2012). "Gotye's Smash Hit Almost Didn't Happen". Billboard. สืบค้นเมื่อ 14 April 2012.
  11. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ Billboard

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้