ซะยะ (พม่า: ဇရပ်, เอ็มแอลซีทีเอส: ja. rap; สัทอักษรสากล: [zəjaʔ]; จาก มอญ: ဇြပ်) เป็นอาคารศาลารูปแบบพม่าที่พบในเกือบทุกหมู่บ้าน ใช้เป็นที่พักพิงสำหรับนักเดินทางเป็นหลัก ขณะเดียวกันก็เป็นสถานที่ชุมนุมทางศาสนา ตลอดจนเป็นที่พบปะของชาวบ้านเพื่อหารือเกี่ยวกับความต้องการและแผนงานของหมู่บ้าน พระภิกษุในศาสนาพุทธเถรวาทใช้ซะยะเป็นที่ประทับขณะปฏิบัติธรรมในวันพระ วัดในศาสนาพุทธอาจมีซะยะอย่างน้อยหนึ่งหลังอยู่ใกล้เคียง ผู้บริจาคส่วนใหญ่สร้างซะยะตามถนนสายหลัก โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้นักเดินทางที่เหนื่อยล้าได้ดื่มน้ำและที่พักพิง การตั้งสำนักงานมิชชันนารีแห่งหนึ่งในปี ค.ศ. 1818 โดย อโดนิรัม จัดสัน ก็มีการนำซะยะมาใช้ด้วยเช่นกัน[1][2][3]

ซะยะพม่าแบบดั้งเดิม

การบริจาคทั้งในรูปแบบเงินหรือแรงงานการก่อสร้าง การดำเนินการ หรือการตกแต่งซะยะนั้นถูกมองว่าเป็นทาน ดังนั้นโดยทั่วไปแล้วซะยะจึงถูกสร้างขึ้นให้มีลักษณะที่คงทน และมีราคาแพงกว่าบ้านส่วนตัวเป็นส่วนใหญ่ โดยปกติแล้วแรงงานจะจัดหาโดยคนในท้องถิ่น ในขณะที่การจัดหาเงินทุนอาจเป็นในท้องถิ่นหรือที่ห่างไกล[4][5]

ซะยะบางหลังได้พัฒนารูปแบบการใช้งานอื่น ๆ เมื่อเวลาผ่านไป ตัวอย่างเช่น โรงพยาบาลสงฆ์ซีวิตะดานะ (ဇီဝိတဒါန) สำหรับพระภิกษุและแม่ชีที่เริ่มต้นจากสถานรักษาพยาบาลในซะยะ[6]

คลังภาพ

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. Howe, Henry (1859). Adventures and Achievements of Americans. New York: Geo. F. Tuttle. as seen at Internet Archive
  2. Robina. "The Story of Yawthit". Burma Issues Newsletter, Volume 8 Number 3, March 1998. สืบค้นเมื่อ 2006-06-04.
  3. Capt. C.J.F.S. Forbes, F.R.G.S., M.R.A.S, &c., Officiating Deputy-Commissioner, British Burma (1878). British Burma and Its People: Being Sketches of Native Manners, Customs, and Religion. London: John Murray.{{cite book}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์) as seen at Internet Archive
  4. Chambers, William and Robert (1857). Chambers's Information for the People, Vol. II. Philadelphia: J.B. Lippincott & Co. as seen at Google Books
  5. "Community Service - A Myanmar Tradition". สืบค้นเมื่อ 2006-06-04.
  6. "Health and Helplines". The Yangon Directory. สืบค้นเมื่อ 2006-06-04.