ชุมเห็ดไทย

สปีชีส์ของพืช
ชุมเห็ดไทย
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Plantae
ไม่ได้จัดลำดับ: Angiosperms
ไม่ได้จัดลำดับ: Eudicots
ไม่ได้จัดลำดับ: Rosids
อันดับ: Fabales
วงศ์: Fabaceae
วงศ์ย่อย: Caesalpinioideae
เผ่า: Cassieae
เผ่าย่อย: Cassiinae
สกุล: Senna
สปีชีส์: S.  tora
ชื่อทวินาม
Senna tora
(L.) Roxb.
ชื่อพ้อง
  • Cassia boreensis Miq.
  • Cassia borneensis Miq.
  • Cassia gallinaria Collad.
  • Cassia numilis Collad.
  • Cassia tora L.
  • Cassia tora L. var. borneensis (Miq.) Miq.
  • Emelista tora Britton & Rose

ชุมเห็ดไทย (ชื่อวิทยาศาสตร์: Senna tora) เป็นไม้ล้มลุกหรือไม้พุ่มเตี้ย สูงประมาณ 1 เมตร ในวงศ์ Leguminosae มีชื่อท้องถิ่นอื่นคือ ชุมเห็ดควาย, ชุมเห็ดไทย, ชุมเห็ดนา, ชุมเห็ดเล็ก (ภาคกลาง); พรมดาน (สุโขทัย); ลับมือน้อย (ภาคเหนือ); หญ้าลึกลืน (ปราจีนบุรี)[1]

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ แก้

ชุมเห็ดไทยเป็นไม้ลมลุกและไม้พุ่มเตี้ยขนาดเล็ก พุ่มต้นสูงประมาณ1 เมตร ส้นผ่านศูนย์กลางลำต้น 12.3–17.4 มิลลิเมตร ลำต้นสีเขียวอมน้ำตาลแดง ไม่มีขน[2] ใบประกอบแบบขนนก เรียงสลับ มีใบย่อย 3 คู่ รูปไข่กลับหรือรูปขอบขนานแกมไข่กลับ กว้าง 1.5–2.5 ซม. ยาว 2–4 ซม. ดอกสีเหลือง ออกเป็นช่อดอกที่ซอกใบ เป็นกระจุก ดอกเดี่ยวมีก้านช่อดอกออกจากจุดเดียวกัน ช่อดอกยาว 2.71–4.03 เซนติเมตร มี 1–3 ดอกต่อช่อ มี 5 กลีบดอก ฐานรอบกลีบดอกสีขาวอมเหลืองมีขนครุยตามขอบ อับเรณู (anther) สีเหลืองอมน้ำตาล ผลเป็นฝักเล็กแบนยาว เมล็ดรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน สีน้ำตาลแกมเขียว[3]

การแพร่กระจายพันธุ์ แก้

ชุมเห็ดไทยมีถิ่นกำเนิดในอเมริกาใต้ ขึ้นกระจายทั่วไป เป็นวัชพืชในเขตร้อนชื้น ในประเทศไทยพบทั่วทุกภาค[4]

การขยายพันธุ์ แก้

ชุมเห็ดไทย เป็นพืชที่ปลูกโดยใช้เมล็ด ปลูกได้ง่าย ขึ้นได้ทั่วไปในดินทุกชนิดแต่ชอบที่ชุ่มชื้น ปลูกได้ตลอดทั้งปี

สรรพคุณ แก้

ชุมเห็ดไทยเป็นยาช่วยให้นอนหลับและช่วยสงบประสาทได้เป็นอย่างดี[5]

  • เมล็ด ทำให้ง่วงนอนและหลับได้ดี แก้กระษัย ขับปัสสาวะพิการได้ดี เป็นยาระบายอ่อน ๆ รักษาโรคผิวหนัง
  • ดอก ปรุงเป็นยาแก้ไข้ ขับพยาธิในท้องเด็ก รับประทานเป็นยาระบายอ่อน ๆ และแก้ไอ แก้เสมหะ แก้หืด โรคคุดทะราด
  • ผล แก้ฟกช้ำ บวม

อ้างอิง แก้

  1. "ชุมเห็ดไทย". อุทยานธรรมชาติวิทยาสิรีรุกขชาติ. คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล. 2010. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 มีนาคม 2016.
  2. "ชุมเห็ดไทย". My biodiversity. BioGang.net. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 กรกฎาคม 2013.
  3. "ชุมเห็ดไทย". อาจารีย์สมุนไพร. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 23 ธันวาคม 2011.
  4. รัตตแน (เมษายน 2010). "ไม้ต่างถิ่น" (PDF). Herbarium News. Vol. 3 no. 1. สำนักงานหอพันธุ์ไม้ กรมอุทยาน สัตว์ป่า และพันธุ์พืช. p. 10.
  5. "ชุมเห็ดไทย". สำนักงานกองทุนสนับสนุนการส่งเสริมสุขภาพ. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 14 พฤศจิกายน 2012.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้