เครื่องแบบนักเรียนญี่ปุ่น

(เปลี่ยนทางจาก ชุดนักเรียนญี่ปุ่น)

เครื่องแบบนักเรียนญี่ปุ่น เป็นชุดเสื้อผ้าที่นักเรียนหรือนักศึกษาในประเทศญี่ปุ่นใช้สวมใส่ ภาษาญี่ปุ่นเรียกว่า "เซฟุกุ" (ญี่ปุ่น: 制服โรมาจิSeifuku ; เครื่องแบบ) หรือ "กะกุเซฟุกุ" (ญี่ปุ่น: 学生服โรมาจิGakuseifuku ; ชุดนักเรียน) ประเทศญี่ปุ่นเริ่มใช้เครื่องแบบนักเรียนมาตั้งแต่ปลายศตวรรษที่ 19 ปัจจุบัน โรงเรียนรัฐบาลและโรงเรียนเอกชนเกือบทุกโรงเรียนต่างให้นักเรียนแต่งกายในชุดเครื่องแบบนักเรียน [ต้องการอ้างอิง] รวมทั้งมหาวิทยาลัยผู้หญิงบางแห่งก็ยังคงใช้เครื่องแบบอยู่เช่นกัน

ชุดนักเรียนหญิงชั้นมัธยมของญี่ปุ่น

การใช้

แก้

โรงเรียนส่วนใหญ่ในชั้นประถมศึกษาไม่บังคับให้นักเรียนใส่เครื่องแบบ สำหรับโรงเรียนที่บังคับ นักเรียนชายจะต้องใส่เสื้อเชิ้ตสีขาวและสวมหมวก นักเรียนหญิงจะต้องใส่เสื้อสีขาวและกระโปรงจีบสีเทา หรือบางครั้งก็ใส่ชุดกะลาสี เครื่องแบบอาจจะแตกต่างกันไปตามโอกาสและฤดูกาล นักเรียนจะใส่หมวกที่มีสีสว่างสดใสเพื่อป้องกันอุบัติเหตุทางจราจร

ชุดนักเรียนชั้นมัธยมประกอบด้วยชุดเครื่องแบบทหารสำหรับเด็กผู้ชายและชุดกะลาสีสำหรับเด็กผู้หญิง ชุดเหล่านี้มีต้นกำเนิดมาจากชุดทหารในยุคเมจิ ซึ่งลอกแบบมาจากชุดนาวีของยุโรป ปัจจุบันยังคงมีการใช้ชุดเหล่านี้อยู่ หลายโรงเรียนเปลี่ยนไปใช้ชุดตามโรงเรียนสอนศาสนาของตะวันตก ชุดของผู้ชายประกอบด้วยเสื้อเชิ้ตสีขาว เนคไท เสื้อแจ๊คเก็ตที่มีตราโรงเรียน และกางเกงขายาว (มักเป็นคนละสีกับเสื้อแจ๊คเก็ต) ชุดผู้หญิงประกอบด้วยเสื้อสีขาว เนคไท เสื้อแจ๊คเก็ตที่มีตราโรงเรียน และกระโปรงตาหมากรุก

ทุกโรงเรียนจะมีเครื่องแบบภาคฤดูร้อน (ชุดผู้ชายประกอบด้วยเสื้อเชิ้ตสีขาวและกางเกงสแล็ก ชุดผู้หญิงประกอบด้วยเครื่องแบบน้ำหนักเบา และกระโปรงตาหมากรุก) และชุดกีฬา นักเรียนอาจแต่งกายแตกต่างกันในชั้นเรียนเดียวกันก็ได้ ขึ้นอยู่กับกฎระเบียบของแต่ละโรงเรียน นักเรียนบางคนอาจฝ่าฝืนกฎด้วยการใส่เครื่องแบบผิดระเบียบหรือใส่เครื่องแบบข้อห้ามต่าง ๆ เช่น ถุงเท้าหย่อน ๆ ขนาดใหญ่และติดเข็มกลัด นักเรียนหญิงอาจใส่กระโปรงสั้น ๆ นักเรียนชายอาจใส่กางเกงระดับสะโพก ไม่ผูกเนคไท และปลดกระดุมเสื้อ

เนื่องจากบางโรงเรียนไม่มีห้องเปลี่ยนเสื้อผ้าแบบแยกเพศหรือห้องที่มีประตูล็อก นักเรียนจึงเปลี่ยนเสื้อกีฬาในห้องเรียน ทำให้มีนักเรียนบางคนที่ใส่ชุดกีฬาไว้ใต้เครื่องแบบนักเรียน โรงเรียนบางโรงเรียนบังคับทรงผม รองเท้า และกระเป๋าหนังสือ แต่นักเรียนมักจะปฏิบัติตามกฎในวาระพิเศษต่าง ๆ เท่านั้น เช่น วันเปิดเทอม พิธีปิด และวันถ่ายรูปชั้น

กัคคุรัน

แก้
 
ชุดที่อยู่ตรงกลางในรูป คือ กัคคุรันของโรงเรียนมัธยมศึกษาอิชิกะวะ
 
นักเรียนหญิงชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายในชุดกะลาสี

กัคคุรัน (学ラン) หรือ สึเมะเอะริ (詰め襟) เป็นเครื่องแบบสำหรับนักเรียนชายในระดับมัธยม โดยทั่วไปส่วนมากเป็นสีดำ แต่บางโรงเรียนก็ใช้สีกรมท่า และสีน้ำเงินเข้ม

กัคคุรันเป็นเป็นเสื้อมีปกที่กลัดกระดุมจากบนลงล่าง กระดุมมักมีตราของโรงเรียน กางเกงเป็นกางเกงขายาว เข็มขัดสีดำหรือสีเข้ม ๆ เด็กผู้ชายมักใส่รองส้นเตี้ยและรองเท้ากีฬา บางโรงเรียนบังคับให้นักเรียนติดเข็มกลัดที่ปกเสื้อเพื่อบอกโรงเรียนและบอกชั้น

เด็กผู้ชายมักให้กระดุมเม็ดที่สองของเสื้อกับเด็กผู้หญิงที่ตนเองหลงรัก ถือเป็นการสารภาพรักในทางหนึ่ง โดยกล่าวกันว่าเป็นกระดุมเม็ดที่อยู่ใกล้หัวใจและเต็มไปด้วยความรักที่มีมาตลอดสามปีในโรงเรียน การปฏิบัติเช่นนี้เป็นที่นิยมเนื่องมาจากฉากหนึ่งในนิยายที่แต่งโดย ไดจุน ทาเคดะ (武田泰淳)[1][2][3]

ชุดกะลาสี

แก้

ชุดกะลาสี (セーラー服 เซราฟุกุ) เป็นเครื่องแบบนักเรียนหญิงชั้นมัธยมโดยทั่วไป โรงเรียนประถมบางโรงเรียนก็ใส่ชุดกะลาสี ชุดนี้เริ่มใช้เป็นเครื่องแบบครั้งแรกตั้งแต่ปี 1921 โดย อลิซาเบธ ลี ผู้อำนวยการมหาวิทยาลัยฟุกุโอะกะ โจะกะกุอิง (福岡女学院) ชุดนี้ลอกแบบมาจากราชนาวีของอังกฤษในสมัยนั้น ซึ่งลีเคยเป็นนักเรียนแลกเปลี่ยนที่สหราชอาณาจักร

เช่นเดียวกับเครื่องแบบนักเรียนชาย ชุดกะลาสีมีความคล้ายคลึงกับชุดทางทหาร ประกอบด้วยเสื้อเชิ้ตที่มีปกแบบกะลาสีและกระโปรงจีบ ในช่วงหน้าร้อนและหน้าหนาวจะมีการปรับแขนเสื้อและเนื้อผ้าให้เหมาะสมกับฤดูกาล มีรีบบิ้นผูกอยู่ข้างหน้าโดยร้อยผ่านรูรอบ ๆ เสื้อ บางครั้งอาจเป็นเนคไท ผ้าพันคอ หรือโบว์ สีทั่วไปได้แก่สีกรมท่า สีขาว สีเทา สีเขียวอ่อน และสีดำ

บางครั้งรองเท้าและถุงเท้าก็ถูกนับรวมเป็นส่วนหนึ่งของเครื่องแบบ ถุงเท้าโดยทั่วไปเป็นสีกรมท่าและสีขาว รองเท้าเป็นรองเท้าส้นเตี้ยสีน้ำตาลและสีดำ ซึ่งถุงเท้าย่น ๆ เป็นที่นิยมมากในกลุ่มเด็กผู้หญิง แม้จะไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของเครื่องแบบก็ตาม

ความสำคัญเชิงวัฒนธรรม

แก้
 
ตัวการ์ตูนในเครื่องแบบนักเรียนหญิง

โรงเรียนแต่ละโรงเรียนมีเครื่องแบบแตกต่างกันไป เครื่องแบบนักเรียนมักทำให้นักเรียนที่จบไปแล้วหวนรำลึกถึงความหลังอันเป็นสัญลักษณ์ของวัยเด็กอันสดใส นักเรียนบางคนดัดแปลงเครื่องแบบเพื่อสร้างความเป็นตัวของตัวเอง เช่น ทำกระโปรงให้สั้นลงหรือยาวขึ้น ไม่ผูกริบบิ้น ซ่อนตราโรงเรียนไว้ในปกเสื้อ ฯลฯ

เนื่องจากเครื่องแบบนักเรียนหญิงของญี่ปุ่นนั้นเป็นสิ่งที่ให้ความรู้สึกทางเพศกับคนบางกลุ่มได้ จึงมีการขายชุดนักเรียนหญิงที่ใช้แล้วตามร้านค้าที่เรียกว่า บุรุเซะระ แม้ว่าปัจจุบันการขายเช่นนี้จะเป็นสิ่งผิดกฎหมายก็ตาม เครื่องแบบนักเรียนหญิงยังมีบทบาทอย่างมากในวัฒนธรรมโอะตะกุ สื่อบันเทิงประเภทอนิเมะและมังงะมักจะมีตัวละครในชุดเครื่องแบบนักเรียนอยู่ด้วยเสมอ

อ้างอิง

แก้
  1. "卒業式の日になぜ第2ボタンを渡すの?". 岡山県アパレル工業組合. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-08-07. สืบค้นเมื่อ 2007-07-11. (ญี่ปุ่น)
  2. Lumi (2001-11-22). "ボタンの日 (11.22)". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-06-07. สืบค้นเมื่อ 2007-07-11. (ญี่ปุ่น)
  3. "なんで第二ボタンなの?". สืบค้นเมื่อ 2007-07-11.[ลิงก์เสีย] (ญี่ปุ่น)

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้