ชีชะฮ์
บทความนี้หรือส่วนนี้ของบทความต้องการปรับรูปแบบ ซึ่งอาจหมายถึง ต้องการจัดรูปแบบข้อความ จัดหน้า แบ่งหัวข้อ จัดลิงก์ภายใน และ/หรือการจัดระเบียบอื่น ๆ คุณสามารถช่วยแก้ไขปัญหานี้ได้โดยการกดที่ปุ่ม แก้ไข ด้านบน จากนั้นปรับปรุงหรือจัดรูปแบบอื่น ๆ ในบทความให้เหมาะสม |
บทความนี้อาจต้องการตรวจสอบต้นฉบับ ในด้านไวยากรณ์ รูปแบบการเขียน การเรียบเรียง คุณภาพ หรือการสะกด คุณสามารถช่วยพัฒนาบทความได้ |
ชีชะฮ์ (อาหรับ: شيشة, อักษรโรมัน: šīša, ออกเสียง: [ʃiːʃa]) มีความหมายตรงตัวว่า แก้ว เดิมใช้เรียกมอระกู่ ปัจจุบันใช้เรียกสารเสพติดที่ใช้กับมอระกู่ เป็นน้ำเชื่อมใส่ยาสูบ กากน้ำตาล และกลีเซอรอล แล้วอาจปรุงรสต่าง ๆ เช่น ฝรั่ง มะนาว สะระแหน่ องุ่น และแอปเปิล นอกจากนี้ ยังมีรสพิสดาร เช่น ใส่เยลลีหมี ใส่บลูเบอร์รีมัฟฟิน หรือเครื่องดื่มชูกำลัง
โทษของชีชะฮ์
แก้เมื่อสูบชีชะฮ์ประมาณหนึ่งเดือน ผู้สูบจะเริ่มติด จะรู้สึกกระสับกระส่ายเล็กน้อย และคิดอะไรไม่ออก[1]
ผู้คนส่วนใหญ่มักคิดว่า การสูบชีชะฮ์นั้นให้พิษภัยน้อยกว่าการสูบบุหรี่ มีสรรพคุณชูกำลัง และมิใช่ยาเสพติด ซึ่งไม่ถูกต้อง[1][2] สตรีบางคนคิดว่า ผู้หญิงสูบชีชะฮ์ไม่ดูน่าเกลียดเท่าผู้หญิงสูบบุหรี่ แต่ชีชะฮ์มีโทษกว่าบุหรี่ถึง 6 เท่า[3] เพราะสูบชีชะฮ์ 1 ห่อ เท่ากับสูบบุหรี่ 20 มวน นอกจากนี้ ยังเสี่ยงเป็นมะเร็งไม่น้อยไปกว่าสูบบุหรี่ เนื่องจากมีสารนิโคติน คาร์บอนมอนนอกไซด์ และสารก่อมะเร็งอื่น ๆ ในระดับสูง[2] อนึ่ง ยังพบว่า สูบชีชะฮ์นาน 45 นาที ร่างกายจะผลิตสารน้ำมันดิน (ทาร์) มากกว่าสูบบุหรี่ 5 นาที ถึง 36 เท่า[1] และอาจก่อให้เกิดโรคติดต่อได้หากใช้มอระกู่ร่วมกัน[2][4] เช่น วัณโรค[5]
ในประเทศไทย มีกฎหมายควบคุมการสูบชีชะฮ์ วางโทษปรับไม่เกิน 20,000 บาท แต่ชีชะฮ์ก็ยังมีขายอย่างเปิดเผยตามสถานที่ท่องเที่ยวยามค่ำคืน[1]
อ้างอิง
แก้- ↑ 1.0 1.1 1.2 1.3 Sanook - บารากุ ความหอมหวลเปื้อนยาพิษ
- ↑ 2.0 2.1 2.2 "สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ - 'บารากู่' ตัวการโทษมหันต์". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-08-07. สืบค้นเมื่อ 2014-05-21.
- ↑ "สถาบันค้นคว้าและพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร - "โจ๋ไทย" หลงควันบารากู่ อันตรายกว่าบุหรี่หกเท่า". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-12-01. สืบค้นเมื่อ 2014-05-21.
- ↑ "เตือน 'บารากู่' เสี่ยงติดโรค เหตุเวียนเทียนกันสูบ" (Press release). ไทยรัฐ. 2 เมษายน 2555. สืบค้นเมื่อ 30 มิถุนายน 2555.
{{cite press release}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "เตือนจับกลุ่มเวียนเทียนสูบ "บารากู่" ติดเชื้อวัณโรค" (Press release). ASTVผู้จัดการออนไลน์. 2 เมษายน 2555. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-07-08. สืบค้นเมื่อ 30 มิถุนายน 2555.
{{cite press release}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help)