ชาวซาซัก

(เปลี่ยนทางจาก ชาวซาซะก์)

ซาซัก (อินโดนีเซีย: Suku Sasak) เป็นกลุ่มชาติพันธุ์พื้นเมืองที่อาศัยอยู่บนเกาะลมบกในประเทศอินโดนีเซีย มีประชากรราว 3,600,000 คน หรือคิดเป็นร้อยละ 85 ของประชากรทั้งหมดบนเกาะดังกล่าว ชาวซาซักมีความเกี่ยวข้องและเชื่อมโยงกับชาวบาหลีไม่ว่าจะเป็นด้านเชื้อชาติและภาษา แต่ต่างกันเพียงศาสนาที่ส่วนใหญ่ชาวบาหลีนับถือศาสนาฮินดู ส่วนชาวซาซักส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม

ซาซัก
ขบวนแห่เจ้าสาวชาวซาซักในพิธีสมรส
ภูมิภาคที่มีประชากรอย่างมีนัยสำคัญ
จังหวัดนูซาเติงการาตะวันตก3,000,000 คน
ภาษา
ซาซัก, อินโดนีเซีย
ศาสนา
ส่วนใหญ่นับถืออิสลาม (ลัทธิเวอตูลีมา • ลัทธิเวอตูเตอลู)
ส่วนน้อยนับถือฮินดูและพุทธปนนับถือผี[1]
กลุ่มชาติพันธุ์ที่เกี่ยวข้อง
บาหลี, ซุมบาวา

ประวัติ แก้

 
สตรีซาซักในอดีต

ประวัติศาสตร์เบื้องต้นของชาวซาซักนั้นไม่ใคร่ปรากฏนัก ปรากฏแค่ในช่วงที่เกาะลมบกอันเป็นที่อาศัยของชาวซาซักนั้นถูกกาจะฮ์ มาดา (Gajah Mada) นายกรัฐมนตรีแห่งจักรวรรดิมัชปาหิตเข้าปกครอง ครั้นในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 16 จนถึงต้นศตวรรษที่ 17 ชาวซาซักถูกบังคับให้เข้ารีตศาสนาอิสลาม หลังอยู่ภายใต้อิทธิพลของเจ้าชายปราเปิน (Pangeran Prapen) หรือ ซูนันปราเปิน (Sunan Prapen) พระโอรสของระเด่นปากู (Raden Paku) หรือซูนันกีรี (Sunan Giri)[3][4] ซึ่งซูนันกีรีและชาวมุสลิมจากเกาะมากัสซาร์มาเผยแผ่ศาสนา แต่ชาวซาซักเองมักผสานความเชื่อ โดยนำหลักศาสนาอิสลามขั้นพื้นฐานมาผสานกับความเชื่อของศาสนาฮินดู-พุทธ เข้ากับการนับถือผี จนเกิดเป็นลัทธิเวอตูเตอลู (Wetu Telu) หรือลัทธิสามเวลาขึ้น[5][6]

ช่วงต้นศตวรรษที่ 16 เกาะลมบกถูกอาณาจักรเกิลเกิล (Gelgel) จากเกาะบาหลีเข้ายึดครอง[7] จึงมีการอพยพชาวบาหลีเข้าไปตั้งถิ่นฐานบนเกาะลมบกจำนวนมาก ปัจจุบันยังมีผู้สืบเชื้อสายชาวบาหลีอาศัยบนเกาะลมบกราว 300,000 คน หรือคิดเป็นร้อยละ 10-15 ของประชากรบนเกาะ ซึ่งชาวบาหลีเหล่านี้ยังส่งอิทธิพลฮินดูแก่ลัทธิเวอตูเตอลูของลมบกด้วย[8]

ภาษา แก้

เรือนแบบชาวซาซักดั้งเดิมที่หมู่บ้านซาเด

ภาษาซาซักมีความเชื่อมโยงและใกล้เคียงกับภาษาบาหลี ซุมบาวา และภาษาของอินโดนีเซียฝั่งตะวันตกอื่น ๆ นอกจากนี้ยังสามารถแบ่งภาษาซาซักออกเป็นสำเนียงต่าง ๆ ได้แก่ สำเนียงเหนือ หรือกูโต-กูเต (Kuto-Kute), สำเนียงกลาง หรือเมอโน-เมอเนอ (Meno-Mene), สำเนียงกลางตอนใต้ หรือมรียัก-มรีกู (Mriak-Mriku), สำเนียงกลางฝั่งตะวันออกและตะวันตก หรือเงอโน-เงอเนอ (Ngeno-Ngene) สำเนียงตะวันออกเฉียงเหนือ หรือเงอโต-เงอเตอ (Ngeto-Ngete) และสำเนียงย่อยอื่น ๆ[9]

ศาสนา แก้

ชาวซาซักส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลามลัทธิเวอตูลีมา (Wetu Lima) หรือวักตูลีมา (Waktu Lima) หรือลัทธิห้าเวลา ที่หมายถึงการละหมาดห้าครั้งอันเป็นวัตรปฏิบัติที่ชาวมุสลิมพึงปฏิบัติ แต่ชาวซาซักอีกส่วนหนึ่งนับถือลัทธิเวอตูเตอลู (Wetu Telu) หรือวักตูเตอลู (Waktu Telu) หรือลัทธิสามเวลา ที่ศาสนิกชนจะละหมาดเพียงแค่สามครั้งเท่านั้น ต่างจากมุสลิมอื่น ๆ ที่ละหมาดห้าเวลา

อิสลามิกชนที่ปฏิบัติตามแนวทางของลัทธิเวอตูเตอลูนั้นสามารถพบได้ทั่วไปบนเกาะ โดยเฉพาะที่เมืองบายันอันเป็นที่กำเนิดลัทธิ นอกจากนี้ยังมีชุมชนต่าง ๆ ที่ส่วนใหญ่นับถือลัทธิเวอตูเตอลู เช่น มาตารัม (Mataram), ปูจุง (Pujung), เซิงกล (Sengkol), รัมบีตัน (Rambitan), ซาเด (Sade), เตอเตอบาตู (Tetebatu), บุมบุง (Bumbung), เซิมบาลุน (Sembalun), เซอนารู (Senaru), โลยก (Loyok) และปาซูกูลัน (Pasugulan)

นอกจากนี้ยังมีชาวซาซักจำนวนหนึ่งที่เรียกว่าโบดา (Bodha) จำนวน 8,000-12,533 คน[10] ส่วนใหญ่อาศัยที่หมู่บ้านเบินเติก (Bentek) เชิงเขารินจานี (Gunung Rinjani) ยังคงนับถือเทพเจ้าต่าง ๆ และไม่ได้รับอิทธิพลจากศาสนาอิสลาม[11] แต่รับอิทธิพลด้านพิธีกรรมและภาษาจากศาสนาฮินดูและพุทธ พวกเขามีความเชื่อด้านเวทมนตร์เช่นเดียวกับเวอตูเตอลูเพียงแต่ไม่ได้รับอิทธิพลจากศาสนาอิสลาม โบดาจะนับถือเทพเจ้าทั้งหมดห้าพระองค์ คือ บาตารากูรู (Batara Guru) เป็นเทพเจ้าสูงสุด ส่วนบาตาราซักตี (Batara Sakti) และบาตาราเจอเนิง (Batara Jeneng) เป็นเทพเจ้ารองลงมา และมีเทวสตรีอีกสองพระองค์คืออีดาดารีซักตี (Idadari Sakti) และอีดาดารีเจอเนิง (Idadari Jeneng) ซึ่งเป็นพระชายาของเทพเจ้ารองทั้งสองดังกล่าว แม้ว่าพวกเขายังนับถือผี แต่ก็ได้รับอิทธิพลจากศาสนาพุทธที่เข้มข้นขึ้นจากการเผยแผ่ศาสนาจากพระธรรมทูตในยุคหลังมานี้[12] ปัจจุบันจึงมีทั้งพระสงฆ์และหมอผีปฏิบัติศาสนกิจตามความเชื่อ[13]

อ้างอิง แก้

  1. "From Ancestor Worship to Monotheism-Politics of Religion in Lombok". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-04-03. สืบค้นเมื่อ 2017-02-26.
  2. "Sasak of Indonesia". PeopleGroup.org. สืบค้นเมื่อ 2014-10-08.
  3. Martijn Theodoor Houtsma, บ.ก. (1993). E.J. Brill's First Encyclopaedia of Islam, 1913–1936, Volume 5. BRILL. ISBN 90-04-09791-0.
  4. David Harnish & Anne Rasmussen (2011). Divine Inspirations: Music and Islam in Indonesia. Oxford University Press. ISBN 0-19-979309-3.
  5. Kaj Arhem & Guido Sprenger (2015). Animism in Southeast Asia. Routledge. ISBN 1-317-33662-3.
  6. "From Ancestor Worship to Monotheism, by Sven Cederroth, Politics of Religion in Lombok". NB this article is not currently available from previous URL source (Aug 2010). Temenos 32 (1996), 7–36. 1996. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (acrobat pdf)เมื่อ 2007-04-03. สืบค้นเมื่อ 2005-06-13.
  7. Robert Cribb (2013). Historical Atlas of Indonesia. Routledge. ISBN 1-136-78057-2.
  8. Kal Müller (1997). David Pickell (บ.ก.). East of Bali: From Lombok to Timor. Tuttle Publishing. ISBN 962-593-178-3.
  9. "Sasak". Ethnologue. สืบค้นเมื่อ 2014-10-08.
  10. Ziadah Ziad (15 มีนาคม 2556). "Sasak Buddhist". Traveler's Journal. สืบค้นเมื่อ 27 กุมภาพันธ์ 2560. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  11. "From Ancestor Worship to Monotheism, by Sven Cederroth, Politics of Religion in Lombok". NB this article is not currently available from previous URL source (Aug 2010). Temenos 32 (1996), 7–36. 1996. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (acrobat pdf)เมื่อ 2007-04-03. สืบค้นเมื่อ 2005-06-13.
  12. Webshots pics
  13. "BUDDHISM IN INDONESIA PART 5". Sound Reporters Radio Zevende Hemel. สืบค้นเมื่อ 27 กุมภาพันธ์ 2560. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)

แหล่งข้อมูลอื่น แก้

  •   วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ ชาวซาซัก