ชักเย่อ เป็นชื่อการเล่นอย่างหนึ่ง โดยแบ่งผู้เล่นออกเป็น 2 ฝ่าย แต่ละฝ่ายจะมีจำนวนเท่า ๆ กันหรือกำลังพอ ๆ กัน มักใช้เชือกขนาดพอกำรอบ ยาวพอที่จะให้ผู้เล่นทั้ง 2 ฝ่ายเรียงแถวจับได้ โดยมีที่ว่างระหว่างกลางเหลือไว้ประมาณ 2 เมตร กลางเชือกคาดด้วยผ้าหรือใช้สีป้ายเป็นเครื่องหมายไว้ วางกึ่งกลางเชือกไว้บนพื้นที่ที่มีเส้นขีดกลางเป็นเส้นแบ่งเขตแดน เมื่อกรรมการให้สัญญาณ ผู้เล่นทั้ง 2 ฝ่าย ต่างก็จะพยายามดึงเชือกให้กึ่งกลางของเชือกเข้ามาในแดนของตนถ้าฝ่ายใดสามารถดึงกึ่งกลางเชือกเข้ามาในแดนของตนได้ ถือว่าชนะตามปรกติจะแข่งกัน 3 ครั้ง ฝ่ายที่ชนะ 2 ใน 3 ครั้งถือว่าชนะเด็ดขาด[1]

ชักเย่อ
สมาพันธ์สูงสุดสหพันธ์ชักเย่อนานาชาติ
เล่นครั้งแรกสมัยโบราณ
ลักษณะเฉพาะ
การปะทะไม่สัมผัส
ผู้เล่นในทีมแปดคน (หรือมากกว่านี้)
แข่งรวมชายหญิงฝั่งละสี่คน แยกกันคนละฝั่ง
หมวดหมู่ทีมกีฬา, กลางแจ้ง/ในร่ม
อุปกรณ์เชือกขนาดใหญ่และหนา
จัดแข่งขัน
โอลิมปิกเคยอยู่ในการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกในปี 1900 ถึง 1920
เวิลด์เกมส์1981–ปัจจุบัน
พิธีกรรมและการเล่นชักเย่อ *
  มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมโดยยูเนสโก
ปมเชือกชักเย่อ (ชุลดารีกี) ในเกาหลีใต้
ประเทศ กัมพูชา
 เกาหลีใต้
 ฟิลิปปินส์
 เวียดนาม
ภูมิภาค **เอเชียและแปซิฟิก
สาขาแนวปฏิบัติทางสังคม พิธีกรรม และงานเทศกาล, ความรู้และแนวปฏิบัติเกี่ยวกับธรรมชาติและจักรวาล
เกณฑ์พิจารณาR.1, R.2, R.3, R.4, R.5
อ้างอิง01080
ประวัติการขึ้นทะเบียน
ขึ้นทะเบียน2015 (คณะกรรมการสมัยที่ 10)
รายการตัวแทนมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของมนุษยชาติ
* ชื่อตามที่ได้ขึ้นทะเบียนในบัญชีมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมและการสงวนรักษาที่ดี
** ภูมิภาคที่จัดแบ่งโดยยูเนสโก

อ้างอิง

แก้
  1. พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้