ชอฮ์เชรอฆ
ชอฮ์เชรอฆ (เปอร์เซีย: شاه چراغ; Shāh Chérāgh) เป็นอนุสรณ์ไว้ศพและมัสยิดในเมืองชีรอซ ประเทศอิหร่าน เป็นที่ไว้ศพของพี่น้องอะฮ์มัดและมุฮัมมัด บุตรของมูซา อัลกาซิม และพี่น้องของอะลี อัรริฎอ ทั้งสองได้หลบหนีมาอาศัยที่ชีรอซในสมัยการฆ่าล้างชีอะฮ์โดยจักรวรรดิอับบาซิด ชื่อของมัสยิดในภาษาเปอร์เซียแปลว่า "เจ้าแห่งแสง"
ชอเฮเชรอฆ | |
---|---|
شاه چراغ | |
ชอฮ์แชรอฆ | |
ศาสนา | |
ศาสนา | ชีอะฮ์สิบสองอิมาม |
ที่ตั้ง | |
ที่ตั้ง | ชีรอซ จังหวัดฟอร์ส ประเทศอิหร่าน |
พิกัดภูมิศาสตร์ | 29°36′34.6″N 52°32′35.9″E / 29.609611°N 52.543306°E |
สถาปัตยกรรม | |
ประเภท | สุสาน, มัสยิด |
รูปแบบ | เปอร์เซีย, ซาฟาวิด, กอญัร |
เสร็จสมบูรณ์ | คริสต์ศตวรรษที่ 13 |
ลักษณะจำเพาะ | |
โดม | 1 |
หอคอย | 2 |
ชอฮ์เชรอฆได้รับการขนานนามจากนักท่องเที่ยวจำนวนมากว่าเป็นมัสยิดที่สวยที่สุดในโลก[1] และเริ่มมาเป็นที่รู้จักนิยมในโลกตะวันตกในเดือนตุลาคม 1976 เมื่อนิตยสาร อินเทอร์วิว ตีพิมพ์ภาพถ่ายนางแบบเอลิซาเบธ เทย์เลอร์ ของช่างภาพฟีรูซ ซอเฮดี เป็นภาพปก[2]
ในวันที่ 26 ตุลาคม 2022 เกิดเหตุกราดยิงที่มัสยิดชอฮ์เชรอฆ เป็นผลให้มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 15 ราย[3] ทางการอิหร่านระบุว่าผู้ก่อเหตุ 3 รายเป็นผู้ก่อการร้ายตักฟีร ในวันเดียวกันนั้น รัฐอิสลามออกประกาศอ้างว่าตนเป็นผู้อยู่เบื้องหลัง[4] เจ้าหน้าที่รัฐของอิหร่านระบุว่าผู้ก่อเหตุไม่ใช่ชาวอิหร่าน[5]
อ้างอิง
แก้- ↑ "Shah Cheragh: Is This The World's Most Beautiful Mosque?". Emirates Woman (ภาษาอังกฤษ). 2016-10-10. สืบค้นเมื่อ 2020-03-22.
- ↑ Katz, Marisa Mazria. "Some Day My Persian Prints Will Come: "Elizabeth Taylor in Iran" at LACMA". Vogue (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2020-03-22.
- ↑ "Fifteen killed in attack on Shia mausoleum in southern Iran". BBC News (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). 2022-10-27. สืบค้นเมื่อ 2022-10-27.
- ↑ "Attack on Shiraz shrine kills 15: Iranian state media". www.aljazeera.com (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2022-10-27.
- ↑ agencies, Staff and (2022-10-26). "Iran: gunmen kill at least 15 people at Shia shrine in Shiraz". the Guardian (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2022-10-27.