จุดต่อนิ้ว (dots per inch) นิยมเขียนเป็นตัวย่อ dpi เป็นหน่วยที่ระบุความหนาแน่นของจุด (ความละเอียดภาพ)[1] โดยระบุจำนวนจุดที่สามารถแสดงได้ในความกว้าง 1 นิ้ว (ไม่ใช่ 1 ตารางนิ้ว)

จุดต่อนิ้ว
เป็นหน่วยของความละเอียดภาพ
สัญลักษณ์dpi 

dpi ใช้เป็นหน่วยบ่งชี้ประสิทธิภาพสำหรับ เครื่องพิมพ์ และ เครื่องกราดภาพ นอกจากนี้ยังใช้เป็นหน่วยแทนความถูกต้องของ ข้อมูลรูปภาพ ที่ใช้ใน คอมพิวเตอร์ โดยเชื่อมโยงกับขนาดการพิมพ์ มีความแตกต่างจากค่าพิกเซลต่อนิ้ว (ppi) ซึ่งระบุด้วยจำนวนพิกเซล

ภาพรวม

แก้

โดยทั่วไปแล้วจอภาพของคอมพิวเตอร์ มักจะถือว่ามีความหนาแน่นจุดประมาณ 72 dpi ถึง 96 dpi เป็นความหนาแน่นของจุดที่ให้ผลการมองภาพที่กำลังดี ตัวเลขนี้เริ่มโดย Xerox Star ที่เปิดตัวใน ปี 1981 โดยมี 72 dpi (72 dpi เท่ากับ แมคอินทอช รุ่นแรกที่เปิดตัวในปี 1984) และ ไมโครซอฟท์ วินโดวส์ รุ่นแรกที่เปิดตัวใน ปี 1985 มี 96 dpi เป็นมาตรฐาน 72 dpi มักเป็นมาตรฐานในอุตสาหกรรมกราฟิกส์ ซึ่งซอฟต์แวร์ที่มาจากแมคอินทอช เช่น อะโดบี โฟโตชอป ถูกนำมาใช้อย่างกว้างขวาง

สำหรับสื่อสิ่งพิมพ์ เช่น นิตยสาร ต้องใช้ความละเอียดอย่างน้อย 300 dpi[2] โดยเฉพาะอย่างยิ่ง รูปร่างตัวอักษรจีนโดยทั่วไปมีรายละเอียดมากกว่าตัวอักษรภาษาอังกฤษ ดังนั้นจึงจำเป็นต้องมีความละเอียดสูงเพื่อปรับปรุงการมองเห็น นอกจากนี้ โดยทั่วไปแนะนำให้ใช้ 600 dpi หรือมากกว่าสำหรับการพิมพ์ขาวดำ ซึ่งไม่สามารถคาดหวังเอฟเฟกต์การขจัดรอยหยักได้ ต่างจากในการพิมพ์สี

ค่า dpi ในการแสดงประสิทธิภาพของเครื่องพิมพ์แบบพ่นหมึกนั้นเป็นเพียงหน่วยขั้นต่ำที่ เลื่อนจุดกึ่งกลางได้โดยไม่มีปัญหาถ้าจุดจะเหลื่อมกันบนกระดาษ (มักเป็นระยะห่างระหว่างหัวพิมพ์ที่พ่นหมึกหรือผงหมึก) ว่ากันว่าดวงตาของมนุษย์แทบจะไม่สามารถบอกความแตกต่างที่สูงกว่า 300 dpi ได้ ด้วยเหตุนี้ จึงไม่สามารถเปรียบเทียบง่าย ๆ กับ dpi ในเครื่องกราดภาพ จอภาพ และการพิมพ์เชิงพาณิชย์

อ้างอิง

แก้
  1. 日本大百科全書(ニッポニカ),IT用語がわかる辞典,カメラマン写真用語辞典,パソコンで困ったときに開く本,ASCII.jpデジタル用語辞典,デジタル大辞泉,百科事典マイペディア,世界大百科事典内言及. "dpiとは". コトバンク (ภาษาญี่ปุ่น). สืบค้นเมื่อ 2021-06-28.{{cite web}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  2. "dpi - 印刷用語集". 日本印刷産業連合会. สืบค้นเมื่อ 2016-08-08.