ดินแดนแทรกอินเดีย-บังกลาเทศ (อังกฤษ: India–Bangladesh enclaves) หรือ จิฏมหัล (chiṭmahal จาก เบงกอล: ছিটমহল chiṭmôhôl[1][2][3][4]) หรือ ดินแดนแทรกพาชา (อังกฤษ: Pasha enclaves)[5] เป็นดินแดนแทรกตามพรมแดนระหว่างอินเดียกับบังกลาเทศในเขตแดนของประเทศบังกลาเทศและประเทศอินเดียในรัฐเบงกอลตะวันตก, ตรีปุระ, อัสสัม และ เมฆาลัย ในเขตแดนหลักของบังกลาเทศประกอบด้วยดินแดนแทรกของอินเดียรวม 102 ดินแดน ซึ่งในนี้ประกอบไปด้วยดินแดนแทรกบังกลาเทศอีก 21 เป็นดินแดนแทรกระดับซ้อน (counter-enclaves) และในจำนวนนี้มีอีกหนึ่งดินแดนแทรกระดับซ้อนสองรอบ (counter-counter-enclave) ของอินเดียหนึ่งดินแดน คือทาหาลาขาคฬาพาฬี ซึ่งเป็นดินแดนแทรกระดับตติยภูมิ (third-order enclave) แห่งเดียวของโลก ส่วนในพื้นที่เขตแดนหลักของประเทศอินเดียประกอบด้วยดินแดนแทรกบังกลาเทศจำนวน 71 ดินแดน ในจำนวนนี้เป็นดินแดนแทรกของอินเดียที่เป็นระดับซ้อนอีก 3 ดินแดน สำมะโนร่วมในปี 2010 พบว่ามีผู้อยู่อาศัย 51,549 คนในดินแดนแทรกเหล่านี้ โดย 37,334 คนในดินแดนแทรกอินเดียในบังกลาเทศ และ 14,215 คนในดินแดนแทรกบังกลาเทศในอินเดีย[3][6]

แผนที่แสดงพรมแดนแถบจิฏมหัล สีส้มแสดงดินแดนขอบอินเดีย และสีน้ำเงินแสดงดินแดนของประเทศบังกลาเทศ

นายกรัฐมนตรีของทั้งสองประเทศได้ลงนามร่วมในปี 1974 เพื่อแลกเปลี่ยนดินแดนแทรกและปรับพรมแดนระหว่างประเทศให้เรียบง่ายขึ้น และข้อตกลงฉบับปรับปรุงได้ถูกประกาศใช้ในทั้งสองประเทศเมื่อ 7 พฤษภาคม 2015 หลังรัฐสภาอินเดียผ่านร่างแปรญัติที่ 100 (100th Amendment) ประกาศใช้ในรัฐธรรมนูญอินเดีย[7][8] โดยดินแดนแทรกของบังกลาเทศในอินเดียจำนวน 51 ดินแดน รวมพื้นที่กว่า 7,110 เอเคอร์ (2,880 เฮกตาร์) ถูกรวมเข้าเป็นส่วนหนึ่งของอินเดีย และ ดินแดนแทรกอินเดียในบังกลาเทศ 111 ดินแดน รวมพื้นที่กว่า 17,160 เอเคอร์ (6,940 เฮกตาร์) ถูกรวมเข้าเป็นส่วนหนึ่งของบังกลาเทศ[9] ส่วนผู้อยู่อาศัยในอดีตดินแดนแทรกจะได้รับสิทธิ์ในการตัดสินใจว่าจะคงอยู่ในประเทศใหม่หรือจะย้ายเข้าไปยังดินแดนของประเทศเดิม[10][11] การแลกเปลี่ยนสิ้นสุดโดยสมบูรณ์เมื่อ 30 พฤศจิกายน 2015[12] ท้ายที่สุดเป็นผลให้อินเดียสูญเสียอาณาเขต 40 ตารางกิโลเมตร (15 ตารางไมล์) ให้กับบังกลาเทศ[13][14] อย่างไรก็ตามในปัจจุบันยังคงมีดินแดนแทรกหลงเหลืออยู่หนึ่งดินแดน คือ ทหาครม-อังคารโปฏ ดินแดนแทรกของบังกลาเทศในอินเดีย

อ้างอิง แก้

  1. van Schendel, Willem (February 2002). "Stateless in South Asia: The Making of the India-Bangladesh Enclaves" (PDF). The Journal of Asian Studies. 61 (1): 115–147. doi:10.2307/2700191. JSTOR 2700191. Similarly, landlords from the Mughal area were able to hang on to landed estates within Cooch Behar. Like most estates in Bengal, these were fragmented into many scattered plots. Such holdings detached from the parent estate were then known as chhit mohol in Bengali; this term came to mean ‘‘enclave’’ after 1947. These small territories paid taxes to one state but were surrounded by the territory of the other state. Sovereignty was expressed not so much in terms of territorial contiguity as in terms of jurisdiction and tax flows.
  2. Houtum, H. Van; Berg, Eiki (18 October 2018). Routing Borders Between Territories, Discourses and Practices (ภาษาอังกฤษ) (2 ed.). Routledge. p. 310. ISBN 9781351759113. สืบค้นเมื่อ 14 February 2019. Such holdings detached from the parent estate were then known as chhit mohol in Bengali; the term came to mean 'enclave' after 1947.
  3. 3.0 3.1 Whyte, Brendan R. (2002). Waiting for the Esquimo: An Historical and Documentary Study of the Cooch Behar Enclaves of India and Bangladesh (ภาษาอังกฤษ) (1 ed.). Melbourne, Australia: School of Anthropology, Geography and Environmental Studies, University of Melbourne. p. 502. ISBN 9780734022080. สืบค้นเมื่อ 14 February 2019.
  4. Debroy, Bibek (5 August 2011). "Strong will from PM needed to resolve India-Bangladesh issues". The Economic Times. No. 2. Times Group. Times News Network. สืบค้นเมื่อ 14 February 2019. Third, there is the issue of "enclaves", the nowhere people. In Bengali, these are called chitmohol, signifying a chit of paper. Origins go back to gambling between Raja of Cooch Behar and Maharaja of Rangpur. When they lost, they traded each other's possessions and created enclaves in each other's territory. This goes back to the Mughal period and continued under the British.
  5. "India and Bangladesh discuss 'pasha' enclaves: Recognition of landlocked areas won in card games to be raised during India PM's visit". Al Jazeera. 6 September 2011. สืบค้นเมื่อ 15 July 2014.
  6. Roy, Shubhajit (2 December 2014). "Everything you need to know: Land swap in offing with Bangladesh to end disputes". The Indian Express. สืบค้นเมื่อ 29 May 2015.
  7. "The Constitution (119th Amendment) Bill, 2013" PRS India. Retrieved 10 May 2015.[1]
  8. "Prez assents: Constitution (One Hundredth Amendment) Act, 2015". 1, Law Street. 30 May 2015. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 August 2015. สืบค้นเมื่อ 30 May 2015.
  9. Nagchoudhury, Subrata (7 June 2015). "I've got a nation. It comes at the end of my life, still it comes: resident of a Bangladeshi enclave". The Indian Express. สืบค้นเมื่อ 7 June 2015.
  10. Mukhopadhyay, Sougata (7 September 2011). "India-Bangladesh sign pact on border demarcation". CNN-IBN. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 June 2012. สืบค้นเมื่อ 20 September 2011.
  11. Taylor, Adam (1 August 2015). "Say goodbye to the weirdest border dispute in the world". The Washington Post.
  12. Bagchi, Suvojit (13 June 2015). "Land pact rollout in next 11 months". The Hindu. สืบค้นเมื่อ 15 June 2015.
  13. Daniyal, Shoaib (8 May 2015). "India-Bangla land swap: was the world's strangest border created by a game of chess?". Scroll.in.
  14. Roy, Indrani (5 June 2015). "Border deal will control infiltration from Bangladesh". Rediff.com.