จักรพรรดิเทียนฉี่

พระจักรพรรดิเทียนฉี่ (23 ธันวาคม ค.ศ. 1605 – 30 กันยายน ค.ศ. 1627) ประสูติเมื่อวันที่ 23 ธันวาคม ค.ศ. 1605 (พ.ศ. 2118) เป็นพระราชโอรสในจักรพรรดิไท่ชาง เมื่อพระราชบิดาสวรรคตลงในปี ค.ศ. 1620 (พ.ศ. 2163) องค์ชายจูหยูเจียวที่เป็นรัชทายาท ชันษา 15 พรรษาจึงขึ้นครองราชย์เป็น จักรพรรดิเทียนฉี่ ตลอด 7 ปีในรัชกาลมีกบฏเกิดขึ้นหลายครั้ง

สมเด็จพระจักรพรรดิเทียนฉี
สมเด็จพระจักรพรรดิแห่งจักรวรรดิจีน
จักรพรรดิพระองค์ที่ 16 แห่ง ราชวงศ์หมิง
ครองราชย์1 ตุลาคม ค.ศ. 1620 - 30 กันยายน ค.ศ. 1627 (6 ปี 364 วัน)
ก่อนหน้าจักรพรรดิไท่ชาง
ถัดไปจักรพรรดิฉงเจิน
พระราชสมภพ23 ธันวาคม ค.ศ.1605
สวรรคต30 กันยายน ค.ศ.1627 (21 ปี 281 วัน)
พระอัครมเหสีจักรพรรดินีเซี่ยวอ้ายเจ๋อ
พระนามเดิม
ราชสกุล: จู
ราชทินนาม: โหยวเซี่ยว
พระสมัญญานาม
Dá tiān chǎn dào dūn xiào dǔ yǒu zhāngwénxiāng wǔ jìng mù zhuāng qín zhé huángdì
達天闡道敦孝篤友章文襄武靖穆莊勤悊皇帝
พระอารามนาม
หมิงซีจง
明熹宗
Míng xīzōng
ราชวงศ์หมิง
พระราชบิดาจักรพรรดิไท่ชาง
พระราชมารดาสมเด็จพระจักรพรรดินีเซี่ยวเฮ๋อ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง

พระราชประวัติ

แก้

จักรพรรดิเทียนฉี่ หรือ พระเจ้าซีจง มีพระนามเดิมว่า องค์ชายจูโหยวเซี่ยว (朱由校) มีแม่นมที่ทรงพึ่งพาอาศัยคือนางเค่อซื่อ นางเคอซื่อได้ผูกสัมพัน ตุ้ยสือ(คู่สามีภรรยาที่เป็นขันที่กับนางสนม)กับขันทีนามว่าเว่ยจงเสียน เมื่อพระเจ้าหมิงกวงจง ขึ้นครองราชย์ ได้สถาปนาองค์ชายจูโหยวเซี่ยวเป็นเจ้าชายรัชทายาท เมื่อพระเจ้าหมิงกวงจงสวรรคต เจ้าชายจูโหยวเซี่ยวจึงขึ้นครองราชย์มีพระนามว่าจักรพรรดิหมิงซีจง (明熹宗) หรือมักถูกเรียกว่า จักรพรรดิเทียนฉี่ (天啟帝) หลังขึ้นครองราชย์นางเค่อซื่อก็รุ่งเรืองตามไปด้วย ส่วนขันทีเว่ยจงเสียนก็กลายเป็นขันทีคนสนิทจักรพรรดิและเป็นผู้กุมอำนาจการทหารและการปกครอง เนื่องจากพระเจ้าซีจงมักหมกมุ่นอยู่กับงานช่างไม้ ในทุกๆวันเขาลงมือสร้างสิ่งปลูกสร้างเองเป็นงานอดิเรก สร้างเสร็จแล้วทิ้งและสร้างใหม่ ขันทีเว่ยจงเสียนจึงมีอำนาจสูงสุดควบคุมขุนนางทั้งในและนอกราชสำนักอย่างเบ็ดเสร็จ นำมาสู่ความเสื่อมอย่างสูงสุดของราชวงศ์หมิง[1]

พระราชกรณีกิจ

แก้
 
ถ้วยชาที่มีชื่อศักราชของจักรพรรดิเทียนฉี่ ปัจจุบันอยู่ในพิพิธภัณฑ์แห่งหนึ่งในโตเกียว

เสด็จสวรรคต

แก้

จักรพรรดิเทียนฉี่สวรรคตในปี ค.ศ. 1627 (พ.ศ. 2170) ขณะพระชนม์เพียง 22 พรรษา องค์ชายจูหยูเจี้ยน พระราชอนุชาจึงขึ้นครองราชย์เป็นจักรพรรดิฉงเจิน โดยในรัชกาลของจักรพรรดิฉงเจินนี้ ราชวงศ์หมิงต้องล่มสลายลงเพราะพ่ายแพ้แก่กองทัพแมนจู และองค์จักรพรรดิทรงทำอัตวินิบาตกรรม (ปลงพระชนม์เอง) เมื่อ ค.ศ. 1644 (พ.ศ. 2187) ขณะพระชนม์เพียง 33 พรรษา

พระบรมวงศานุวงศ์

แก้
  • พระราชบิดา: จักรพรรดิไท่ชาง
  • พระราชมารดา: จักรพรรดินีเซี่ยวเหอ พระพันปีหลวง จากสกุลหวัง (王)
  • พระอัครมเหสี
  • พระมเหสี (皇贵妃)
    • พระมเหสีฮุ่ย (慧皇贵妃) จากสกุลฟ่าน (范)
    • พระมเหสีหรง (容皇贵妃) จากสกุลเริ่น (任)
  • พระอัครชายา (妃)
    • พระอัครชายาอวี้ (裕妃) จากสกุลจาง (张) ภายหลังถูกถอดพระอิสริยยศ
    • พระอัครชายาเหลียง (良妃) จากสกุลหวัง (王)
    • พระอัครชายาเฉิง (成妃) จากสกุลหลี่ (李)
    • พระอัครชายาฉุน (純妃) จากสกุลต้วน (段)
  • พระสนมขั้นกุ้ยเหริน (贵人)
    • พระสนมเฝิง (馮贵人)
    • พระสนมหู (胡貴人)
  • พระราชโอรส
ลำดับ พระนาม ประสูติ สิ้นพระชนม์ พระมารดา
1 องค์ชายหุยฉง (จู ซื่อหราน)
懷沖
4 พฤศจิกายน 1623 4 พฤศจิกายน 1623 จักรพรรดินีเซี่ยวอายเจ๋อ สกุลจาง
2 องค์ชายต้าวหุย (จู ซื่ออวี้)
悼懷
1623 1624 พระมเหสีฮุ่ย สกุลฟ่าน
3 องค์ชายเซี่ยนหุย (จู ซื่อจ่ง)
獻懷
31 ตุลาคม 1625 30 พฤษภาคม 1626 พระมเหสีหรง สกุลเริ่น
  • พระราชธิดา
ลำดับ พระนาม ประสูติ สิ้นพระชนม์ พระมารดา
1 องค์หญิงหย่งหนิง (จู ซูเอ๋อ)
永寧
1622 1624 พระมเหสีฮุ่ย สกุลฟ่าน
2 องค์หญิงหุยหนิง (จู ซูมั๋ว)
懷寧
1624 1624 พระอัครชายาเฉิง สกุลหลี่
3 องค์หญิง (ไม่มีพระนาม)
ไม่ปรากฏ ไม่ปรากฏ ไม่ปรากฏ

พระสาทิสลักษณ์ที่ยังคงเหลืออยู่

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. ประวัติศาสตร์จีนฉบับย่อ, 2556, สำนักพิมพ์มติชน, หน้า 484
"Wanli Daily Life Notes": "ในวันนี้ ข้าพเจ้าขอเสนอชื่อพระราชโอรสองค์แรกของเจ้าชายรัชทายาทด้วยความเคารพ โดยมีคำว่า "Xiao" "โรงเรียน" หมายถึง Juxiaoqie

บรรณานุกรม

แก้
  • ประวัติศาสตร์จีนฉบับย่อ, เว่ยจงเสียนรวบอำนาจไว้ในมือแต่เพียงผู้เดียว, สำนักพิมพ์มติชน, 2556, หลีเฉวียน ผู้เขียน, เขมณัฏฐ์ ทรัพย์เกษมชัย ผู้แปล
ก่อนหน้า จักรพรรดิเทียนฉี่ ถัดไป
จักรพรรดิไท่ชาง   จักรพรรดิจีน
(พ.ศ. 2163 – พ.ศ. 2170)
  จักรพรรดิฉงเจิน