จักรพรรดิพิลิปปุสที่ 2
มาร์กุส ยูลิอุส เซเวรุส พิลิปปุส (ละติน: Marcus Julius Severus Philippus; ค.ศ. 237–249) หรือที่รู้จักในพระนาม พิลิปปุสผู้ลูก เป็นพระราชโอรสและรัชทายาทของจักรพรรดิแห่งโรมันพระนามว่า พิลิปปุส ชาวอาหรับ กับพระอัครมเหสีของพระองค์พระนามว่า มาร์เซีย โอตาซิเลีย เซเวรา
พิลิปปุสที่ 2 | |
---|---|
จักรพรรดิแห่งจักรวรรดิโรมัน | |
![]() รูปสลักที่พิพิธภัณฑ์แซ็ง-แรมง ตูลูซ[1] | |
พระนามเต็ม | มาร์กุส ยูลิอุส เซเวรุส พิลิปปุส |
พระปรมาภิไธย | อิมแปราตอร์ ไกซาร์ มาร์กุส ยูลิอุส เซเวรุส พิลิปปุส เอากุสตุส |
ครองราชย์ | |
สมัย | ค.ศ. 247 – ค.ศ. 249 |
ร่วมกับ | พิลิปปุส ชาวอาหรับ |
รัชกาลก่อนหน้า | พิลิปปุส ชาวอาหรับ (เพียงพระองค์เดียว) |
รัชกาลถัดไป | เดกิอุส |
ข้อมูลส่วนพระองค์ | |
พระราชสมภพ | ค.ศ. 237 |
สวรรคต | ค.ศ. 249 (พระชนมพรรษา 12 พรรษา), โรม |
พระราชบิดา | พิลิปปุส ชาวอาหรับ |
พระราชมารดา | มาร์เซีย โอตาซิเลีย เซเวรา |
หมวดหมู่: จักรพรรดิโรมัน จักรพรรดิโรมันตะวันตก - จักรพรรดิไบแซนไทน์ |
พระชนม์ชีพ แก้
เมื่อพระราชบิดาของพระองค์ทรงขึ้นเป็นจักรพรรดิในปี ค.ศ. 244 พระองค์ในพระชนมพรรษา 7 พรรษาทรงได้รับแต่งตั้งให้เป็นไกซาร์ ในปี ค.ศ. 247 พระองค์ทรงรั้งตำแหน่งกงสุล และต่อมาพระราชบิดาของพระองค์ทรงได้เลื่อนตำแหน่งเป็นเอากุสตุสและทรงเป็นผู้ปกครองร่วม[2] วันครบรอบหนึ่งพันปีของการสถาปนากรุงโรมตรงกับรัชสมัยของพระองค์ และมีการวางแผนจัดการละเล่นและการแสดงเพื่อเฉลิมฉลองอย่างยิ่งใหญ่[3]
นักประวัติศาสตร์โบราณกล่าวว่าจักรพรรดิพิลิปปุส ชาวอาหรับและจักรพรรดิพิลิปปุสที่ 2 ทรงถูกจักรพรรดิเดกิอุสสังหารในสนามรบในปี ค.ศ.249[4] ส่วนนักประวัติศาสตร์สมัยใหม่กล่าวว่า เมื่อข่าวการสวรรคตของจักรพรรดิพิลิปปุส ชาวอาหรับไปถึงยังกรุงโรม จักรพรรดิพิลิปปุสที่ 2 ก็ทรงถูกสังหารโดยกองทหารรักษาพระองค์เมื่อพระชนมพรรษาได้สิบสองพรรษา[2][4][5] นักประวัติศาสตร์บางคนโต้แย้งว่าจักรพรรดิพิลิปปุสที่ 2 ทรงเป็นผู้ปกครองจักรวรรดิแต่เพียงพระองค์เดียวในช่วงฤดูใบไม้ร่วงปี ค.ศ. 249[4]
อ้างอิง แก้
- ↑ Portrait de Philippe le Jeune. Musée Saint-Raymond.
- ↑ 2.0 2.1 Portrait de Philippe le Jeune. Musée Saint-Raymond.
- ↑ Eutropius, Breviarium Historiae Romanae, IX, 3.
- ↑ 4.0 4.1 4.2 Pohlsander, Hans A (1982). "Did Decius Kill the Philippi?". Historia: Zeitschrift für Alte Geschichte. 31 (2): 214–222. JSTOR 4435802 – โดยทาง JSTOR.
- ↑ Aurelius Victor, Epitome de Caesaribus. xxviii.