จอห์น คลูนิส (อังกฤษ: John Clunis) เป็นสถาปนิกชาวอังกฤษ ถือเป็นช่างหลวงชาวตะวันตกคนแรกของรัฐบาลสยาม มีบทบาทมากในการแปลงสถาปัตยกรรมไทยให้เป็นรูปแบบสถาปัตยกรรมตะวันตก และเป็นผู้ออกแบบและก่อสร้างหมู่พระที่นั่งจักรีมหาปราสาทอันเป็นอาคารฝรั่งที่สำคัญที่สุดในสยามสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว[1]

จอห์น คลูนิส
John Clunis
เกิดพ.ศ. 2373
เสียชีวิต19 กรกฎาคม พ.ศ. 2437
สัญชาติอังกฤษ
อาชีพสถาปนิก

จอห์น คลูนิสเป็นชาวอังกฤษ เกิดเมื่อ พ.ศ. 2373 จบการศึกษาจากยอร์กไชร์ เดินทางมาสิงคโปร์ด้วยวัย 19 ปี ทำงานในตำแหน่ง Municipality Engineer ที่สิงคโปร์ มีส่วนร่วมในการสร้าง New Harbour Dock มีผลงานอีกหลายชิ้นเช่น สะพานคาวานัจ (Cavanagh Bridge) ธนาคารพาณิชย์ บ้านเอกชน[2] ได้สร้างชื่อเสียงให้กับตนเองครั้งแรกในการสร้างตึกจวนผู้สำเร็จราชการอังกฤษ (Government House) เมื่อครั้งเดิมทางมายังสิงคโปร์อันเป็นเมืองขึ้นเก่าของอังกฤษ สร้างตึกหลังนี้เมื่อ พ.ศ. 2412 จนเมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จประพาสสิงคโปร์ครั้งแรก พ.ศ. 2414 เป็นเวลาถึง 1 สัปดาห์ พระองค์ประทับอาคารหลังนี้ทำให้ทรงประทับใจในฝีมือของนายคลูนิสอย่างมาก

ต่อมาอีก 2 ปี นายคลูนิสก็ได้ถูกว่าจ้างในฐานะ "อากีเต็กหลวง" ให้เข้ามารับราชการกับรัฐบาลสยามตามนโยบายใหม่ของรัฐบาลที่จะเร่งสร้างความเจริญแบบตะวันตกในเมืองบางกอก โดยรัฐบาลจะก่อสร้างพระบรมมหาราชวัง[3] เดิมทีจะออกแบบพระที่นั่งจักรีมหาปราสาทเป็นอาคารตะวันตกแท้ ๆ แต่ฝ่ายอนุรักษ์นิยมไม่ต้องการให้เป็นอาคารตะวันตกแท้ เป็นผลทำให้ปรับหลังคาเป็นรูปแบบสถาปัตยกรรมไทยประเพณี[4]

The Singapore Free Press and Mercantile Advertiser รายงานข่าวการเสียชีวิตของคลูนิสในปี พ.ศ. 2437 ศพนายคลูนิสฝังอยู่ที่สุสานโปรเตสแตนต์ กรุงเทพมหานคร ป้ายหลุมศพระบุเสียชีวิตเมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2437[5]

อ้างอิง แก้

  1. พีรศรี โพวาทอง. ช่างฝรั่งในกรุงสยาม : ต้นแผ่นดินพระพุทธเจ้าหลวง. โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2548.
  2. Pinai Sirikiatikul. "The Reconstruction of Chakri Maha Prasat Throne Hall's Roof Spires, 1926 - 1932".
  3. "ความรุ่งเรืองสถาปัตยกรรมฝรั่งในบางกอก สวนทางกับชีวิตลุ่มๆ ดอนๆ ของช่างฝรั่งผู้สร้าง". ศิลปวัฒนธรรม.
  4. ภัสภรณ์ ชีพชล. "สถาปัตยกรรมอิทธิพลตะวันตกในเมืองเพชรบุรี" (PDF). ดำรงวิชาการ.
  5. "John Clunis". Find a Grave.