จรวดขนส่งหนักพิเศษ

จรวดขนส่งหนักพิเศษ เป็นจรวดที่สามารถส่งน้ำหนักบรรทุกหนักพิเศษขึ้นสู่วงโคจรต่ำของโลก กล่าวคือน้ำหนักบรรทุกมากกว่า 50 เมตริกตัน (110,000 ปอนด์)[1][2]ตามนิยามของสหรัฐ และมากกว่า 100 เมตริกตัน (220,000 ปอนด์) ตามนิยายของรัสเซีย[3] โดยหมวดหมู่นี้เป็นหมวดหมู่ของพาหนะส่งที่มีความสามารถในการส่งมวลสู่วงโคจรมากที่สุด เหนือกว่าความสามารถของพาหนะในหมวดหมู่จรวดขนส่งหนัก

ภาพเปรียบเทียบจรวดขนส่งหนักพิเศษตามขนาด
ภาพรวมชั้น
ชื่อ: จรวดขนส่งหนักพิเศษ
ผู้ใช้งาน: องค์การอวกาศต่างๆ
ก่อนหน้าโดย: จรวดขนส่งหนัก
สร้างเมื่อ: 1967–
อยู่ในระหว่างสั่งซื้อ:
กำลังสร้าง:
ปลดประจำการ:
ลักษณะเฉพาะ
ระบบขับเคลื่อน: จรวดเชื้อเพลิงเหลวและเครื่องยนต์เชื้อเพลิงแข็งแบบต่าง ๆ
ความจุ:
  • >50 ตัน (นาซา)
  • >100 ตัน (รัสเซีย)

ใน ค.ศ. 2022 การส่งน้ำหนักบรรทุกในหมวดหมู่นี้เพียงแค่ 13 ครั้ง: 12 ครั้งในโครงการอะพอลโลก่อน ค.ศ. 1972 และหนึ่งครั้งในการส่งของจรวดเอเนอร์เกียใน ค.ศ. 1987 ในปัจจุบัน แผนภารกิจสู่ดวงจันทร์และระหว่างดาวเคราะห์ส่วนใหญ่จำเป็นที่จะต้องใช้พาหนะส่งเหล่านี้

แนวคิดของจรวดขนส่งหนักพิเศษหลายแนวคิดในยุคแรกถูกคิดขึ้นในช่วงคริสต์ทศวรรษที่ 1960 เช่นจรวดซีดรากอน ในช่วงการแข่งขันอวกาศ จรวดแซตเทิร์น Vและเอ็น1ถูกสร้างโดยสหรัฐและสหภาพโซเวียตตามลำดับ ภายหลังจากความสำเร็จของโครงการอะพอลโลและจรวดแซตเทิร์น V และความล้มเหลวของจรวดเอ็น 1 สหภาพโซเวียตส่งจรวดเอเนอร์เกียสองครั้งในคริสต์ทตวรรษที่ 1980 หนึ่งครั้งในการส่งยานอวกาศบูรัน และแท่นอาวุธโคจรโปลูสในอีกหนึ่งครั้ง ในอีกสองทศวรรษต่อมามีการพัฒนาแนวคิดต่าง ๆ ขึ้นมาอีกครั้ง เช่นโครงการพาหนะสืบจากกระสวยอวกาศและรุส-เอ็ม ในคริสต์ทศวรรษที่ 2010 มีความสนใจในจรวดขนส่งหนักพิเศษอีกครั้ง นำร่องโดยการส่งขึ้นของจรวดฟัลคอนเฮฟวี ระบบการส่งอวกาศ และสตาร์ชิป และการพัฒนาโครงการจรวดฉางเจิงและเยนีเซย์

อ้างอิง แก้

  1. McConnaughey, Paul K.; และคณะ (November 2010). "Draft Launch Propulsion Systems Roadmap: Technology Area 01" (PDF). NASA. Section 1.3. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-03-24. สืบค้นเมื่อ 2023-07-12. Small: 0–2 t payloads; Medium: 2–20 t payloads; Heavy: 20–50 t payloads; Super Heavy: > 50 t payloads
  2. "Seeking a Human Spaceflight Program Worthy of a Great Nation" (PDF). Review of U.S. Human Spaceflight Plans Committee. NASA. October 2009. pp. 64–66. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2019-02-16. สืบค้นเมื่อ 2023-07-12. ...the U.S. human spaceflight program will require a heavy-lift launcher ... in the range of 25 to 40 mt ... this strongly favors a minimum heavy-lift capacity of roughly 50 mt....
  3. Osipov, Yury (2004–2017). Great Russian Encyclopedia. Moscow: Great Russian Encyclopedia. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 May 2021. สืบค้นเมื่อ 9 June 2021.