N1 (จาก Raketa-nositel, "จรวดบรรทุก"), หรือ Н1 (จาก Ракета-носитель) ในภาษารัสเซีย[4] เป็น super heavy-lift launch vehicle มีจุดมุ่งหมายเพื่อขนส่งน้ำหนักบรรทุกไปเกินกว่าวงโคจรต่ำของโลก. N1 ของโซเวียตเป็นคู่เหมือนกับจรวด แซตเทิร์น 5 ของอเมริกันและมีจุดประสงค์ที่จะทำให้มนุษย์สามารถเดินทางไปยังดวงจันทร์ของโลกและไกลกว่านั้น[5] โดยเริ่มมีการวิจัยตั้งแต่ปี 1959[6] ส่วนแรกของมันยังคงเป็นส่วนของจรวดที่มีพละกำลังมากที่สุดเท่าที่เคยสร้างมา[7] แต่ว่าจรวด N1 ทั้งหมดสี่ลำที่เคยถูกปล่อยนั้น ส่วนแรกได้ทำงานล้มเหลว

N1/L3
หน้าที่จรวดขนส่งมนุษย์สู่ดวงจันทร์
ผู้ผลิตOKB-1
ประเทศสหภาพโซเวียต
ขนาด
สูง105.3 เมตร (345 ฟุต)*[1]
เส้นผ่านศูนย์กลาง17.0 เมตร (55.8 ฟุต)*[2]
มวล2,750,000 กิโลกรัม (6,060,000 ปอนด์)
ท่อน5
ความจุ
น้ำหนักบรรทุกสู่ LEO
มวล95,000 kg (209,000 lb)[3]
น้ำหนักบรรทุกสู่ TLI
มวล23,500 kg (51,800 lb)
ประวัติการบิน
สถานะล้มเหลว, ยกเลิก
จุดส่งตัวLC-110, บัยโกเงอร์
จำนวนเที่ยวบิน4
สำเร็จ0
ล้มเหลว4
เที่ยวบินแรก21 กุมภาพันธ์ 1969
เที่ยวบินสุดท้าย23 พฤศจิกายน 1972
ท่อนแรก – บล็อก A
เส้นผ่านศูนย์กลาง17.0 m (55.8 ft)
เครื่องยนต์30 NK-15
แรงส่ง45,400 kN (10,200,000 lbf)
แรงดลจำเพาะ330 second (3.2 กิโลเมตรต่อวินาที)
ระยะเวลาการเผาไหม้125 s
เชื้อเพลิงRP-1/LOX
ท่อนที่สอง – บล็อก B
เครื่องยนต์8 NK-15V
แรงส่ง14,040 kN (3,160,000 lbf)
แรงดลจำเพาะ346 second (3.39 กิโลเมตรต่อวินาที)
ระยะเวลาการเผาไหม้120 s
เชื้อเพลิงRP-1/LOX
ท่อนที่สาม – บล็อก V
เครื่องยนต์4 NK-21
แรงส่ง1,610 kN (360,000 lbf)
แรงดลจำเพาะ353 second (3.46 กิโลเมตรต่อวินาที)
ระยะเวลาการเผาไหม้370 s
เชื้อเพลิงRP-1/LOX
ท่อนที่สี่ (N1/L3) – บล็อก G (เดินทางออกจากโลก)
เครื่องยนต์1 NK-19
แรงส่ง446 kN (100,000 lbf)
แรงดลจำเพาะ353 second (3.46 กิโลเมตรต่อวินาที)
ระยะเวลาการเผาไหม้443 s
เชื้อเพลิงRP-1/LOX

N1-L3 ถูกออกแบบมาเพื่อแข่งขันกับโครงการอะพอลโล ของสหรัฐอเมริกาเพื่อลงจอดบนดวงจันทร์โดยใช้วิธีการนัดพบในวงโคจรดวงจันทร์ที่คล้ายกัน N1 พื้นฐานมีสามส่วนซึ่งจะบรรทุก L3 กับนักบินอวกาศสองคนขึ้นสู่วงโคจรโลกต่ำของโลก L3 มีส่วนหนึ่งที่ใช้สำหรับการจุดระเบิดเพื่อตั้งวงโคจรสู่ดวงจันทร์ อีกส่วนใช้สำหรับการแก้ไขวงโคจรระหว่างทาง การเข้าสู่วงโคจรดวงจันทร์ และใช้ในการลดความสูงลงสู่ดวงจันทร์ในช่วงแรก ยานลงจอดอวกาศนักบินเดียว Lk และยานโคจรดวงจันทร์นักบินคู่ Soyuz 7K-LOK จะกลับสู่โลก

N1-L3 ได้รับงบประมาณต่ำและรีบเร่งในเริ่มต้นพัฒนาตั้งแต่เดือนตุลาคม 1965 เกือบสี่ปีหลังจาก แซตเทิร์น 5 โครงการนี้หยุดชะงักจากการเสียชีวิตของหัวหน้านักออกแบบของเซียร์เกย์ โคโรเลฟในปี 1966 ความพยายามในยิงจรวด N1 ทั้งสี่ครั้งล้มเหลว ด้วยความพยายามครั้งที่สองส่งผลให้ยานพาหนะกระแทกกลับเข้าสู่แท่นยิงจรวดไม่นานหลังจากการปล่อยตัวและส่งผลให้เกิดหนึ่งในการระเบิดที่ไม่ใช่นิวเคลียร์ที่ใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ของมนุษย์ โครงการ N1 ถูกระงับในปี 1974 และยกเลิกอย่างเป็นทางการในปี 1976 รายละเอียดทั้งหมดของโครงการของโซเวียตเพื่อส่งมนุษย์ไปดวงจันทร์ ถูกเก็บเป็นความลับจนกระทั่งสหภาพโซเวียตใกล้จะล่มสลายในปี 1989[8]

อ้างอิง แก้

  1. "Complex N1-L3 Components". S.P. Korolev Rocket-Space Corporation Energia. S.P. Korolev RSC "Energia" 4A Lenin Street, Korolev, Moscow area 141070 Russia. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-08-04. สืบค้นเมื่อ 13 June 2019. เก็บถาวร 2019-08-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  2. Rockets:Launchers N1
  3. Zak, Anatoly. "Soviet N1 moon booster". russianspaceweb.com. Anatoly Zak. สืบค้นเมื่อ 24 January 2015.
  4. Barensky, C. Lardier, Stefan (2013). The Soyuz launch vehicle the two lives of an engineering triumph. New York: Springer. p. 82. ISBN 978-1-4614-5459-5.
  5. "N1". Encyclopedia Astronautica. สืบค้นเมื่อ 2011-09-07.
  6. "The N1 Moon Rocket - a brief History". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-10-31. สืบค้นเมื่อ 2013-01-01.
  7. "สำเนาที่เก็บถาวร" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2018-12-30. สืบค้นเมื่อ 2019-10-18.
  8. history.com, News, he Soviet Response to the Moon Landing? Denial There Was a Moon Race at All, Until 1989, Russians claimed they were not trying to reach the Moon first and that the U.S. was in “a one-nation race." by Becky Little