จกโล (อินโดนีเซีย: Joglo) เป็นโอมะฮ์ (รูมะฮ์อาดัตแบบชวา) ชนิดหนึ่ง โดยคำว่า "จกโล" หมายถึงรูปแบบของหลังคาแบบบาหลี หลังคาแบบนี้ใช้เป็นเครื่องบ่งบอกสถานะในสังคมสมัยก่อน[1]

มัสยิดแห่งหนึ่งในชวาที่สร้างด้วยหลังคาทรงจกโลขั้นสูงสุดที่เรียกว่า "ตาจุก" (Tajug) หรือทรง "เมอรู" (Meru)

หลังคาจกโลมักพบประกอบในบ้าน (โอมะฮ์) และศาลา (เปินดาปา) จกโลถือเป็นหลังคาชวาแบบที่ซับซ้อนที่สุด นอกจากนี้ยังพบการประยุกต์ทรงของจกโลโยการเพิ่มยอดแหลมด้านบนเรียกว่าแบบตาจุก (Tajug) หรือ เมอรู (Meru) หลังคาแบบนี้จะสร้างในศาสนสถาน เช่น มัสยิด เท่านั้น หลังคาแบบจกโลจึงถือเป็นลักษณะเด่นของสถาปัตยกรรมแบบชวา

อ้างอิง

แก้
  1. Gunawan Tjahjono 1998, pp. 34–5.
  • Gunawan Tjahjono, บ.ก. (1998). Architecture. Indonesian Heritage. Vol. 6. Singapore: Archipelago Press. ISBN 981-3018-30-5.
  • Schoppert, P.; Damais, S. (1997). Java Style. Singapore: Didier Millet. ISBN 9625932321.
  • Suwito Santoso; Kestity Pringgoharjono (2006). The Centhini Story: The Javanese Journey of Life : Based on the Original Serat Centhin. แปลโดย Suwito Santoso (illustrated ed.). Singapore: Marshall Cavendish. ISBN 9789812329752. สืบค้นเมื่อ October 18, 2015.