ค่างแว่นถิ่นเหนือ
ค่างแว่นถิ่นเหนือ[1] | |
---|---|
ค่างแว่นถิ่นเหนือที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูเขียว จังหวัดชัยภูมิ | |
สถานะการอนุรักษ์ | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | Animalia |
ไฟลัม: | Chordata |
ชั้น: | Mammalia |
อันดับ: | Primates |
วงศ์: | Cercopithecidae |
สกุล: | Trachypithecus |
สปีชีส์: | T. phayrei |
ชื่อทวินาม | |
Trachypithecus phayrei (Blyth, 1847) | |
ชนิดย่อย | |
| |
แผนที่แสดงการกระจายพันธุ์ | |
ชื่อพ้อง | |
|
ค่างแว่นถิ่นเหนือ (ชื่อวิทยาศาสตร์: Trachypithecus phayrei) เป็นค่างชนิดหนึ่ง มีรูปร่างคล้ายกับค่างแว่นถิ่นใต้ (T. obscurus) ที่อยู่ในสกุลเดียวกัน
มีสีขนที่หลากหลาย ตั้งแต่สีน้ำตาลเข้มไปจนถึงสีเทาเข้ม ในขณะที่บางตัวอาจจะเข้มมากจนดูคล้ายสีสนิม ขนบริเวณหลังและด้านบนลำตัวจะเข้มกว่าสีขนที่อยู่ด้านล่าง สีขนด้านล่างของบางตัวอาจเป็นสรเทาอ่อนหรือขาวขุ่น บริเวณใบหน้าจะมีสีดำหรือสีเทาอมฟ้า มีลักษณะเด่น คือ บริเวณรอบดวงตาและริมฝีปากมีสีน้ำเงินปนขาว แต่สีขาวรอบวงตานั้นบางตัวอาจไม่เป็นรูปวงกลม ในขณะที่บางตัวอาจจะมีริมฝีปากเป็นสีขาวขุ่น มือและเท้าโดยทั่วไปจะเข้มกว่าบริเวณหลัง
มีความยาวลำตัวตั้งแต่หัวจรดโคนหาง 52-62 เซนติเมตร ความยาวหาง 58.5-88 เซนติเมตร น้ำหนักตัวประมาณ 6-9 กิโลกรัม
พบกระจายพันธุ์ในประเทศบังกลาเทศ, ประเทศอินเดีย, ประเทศพม่า, ประเทศจีน, ประเทศไทย, ประเทศลาว และประเทศเวียดนาม[2] ในประเทศไทยพบมากทางภาคเหนือ
มีด้วยกัน 3 ชนิดย่อย คือ[1]
- Trachypithecus phayrei phayrei
- Trachypithecus phayrei crepusculus
- Trachypithecus phayrei shanicus
ค่างแว่นถิ่นเหนือมีพฤติกรรมชอบอยู่รวมฝูงกันในป่าที่มีต้นไม้สูง ในบางครั้งอาจลงมาหากินป่าไผ่หรือป่าเสื่อมโทรมที่ผ่านการใช้ประโยชน์จากมนุษย์มาแล้ว มีนิสัยขี้อาย กลัวมนุษย์ บางกลุ่มอาจอาศัยในถ้ำที่เกิดจากชะง่อนผาหินปูน มักพบเห็นบนต้นไม้สูง แต่ในบางครั้งอาจลงมาหากินบนยอดไม้ที่มีความสูงประมาณ 15 เมตร หรืออาจลงมาพื้นดินเพื่อดื่มน้ำตามโป่งหรือตามลำธาร ในช่วงเวบานี้ จะมีสมาชิกอยู่บางตัวที่ทำหน้าที่เสมือนยาม จะร้องเตือนตัวอื่น ๆ ให้รับรู้ จากนั้นจะกระโดดหนีไปในทิศทางเดียวกันทั้งหมด เมื่อกระโดดจากต้นไม้ต้นหนึ่งไปยังต้นหนึ่ง จะกางแขนกางขาให้กว้าง เพื่อเป็นการผ่อนน้ำหนัก[3]
อ้างอิง
แก้- ↑ 1.0 1.1 Groves, C. (2005-11-16). Wilson, D. E.; Reeder, D. M. (บ.ก.). Mammal Species of the World (3rd ed.). Johns Hopkins University Press. p. 178. ISBN 0-801-88221-4.
- ↑ 2.0 2.1 Bleisch, B., Brockelman, W., Timmins, R. J., Nadler, T., Thun, S., Das, J. & Yongcheng, L. (2008). Trachypithecus phayrei. In: IUCN 2008. IUCN Red List of Threatened Species. Downloaded on 4 January 2009.
- ↑ ชุติอร กาญวัฒนกิจ. สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในประเทศไทยและภูมิภาคอินโดจีน. กรุงเทพฯ : กองทุนสัตว์ป่าโลก. สำนักงานประเทศไทย, 2543. 256 หน้า. หน้า 33-34. ISBN 974-87081-5-2
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ Trachypithecus phayrei ที่วิกิสปีชีส์