คุรุทวาราดรบาร์สาหิบ กรตารปุระ

คุรุทวาราดรบาร์ซาฮิบ กรตารปุระ (Gurdwara Darbar Sahib Kartarpur) หรือ กรตารปุระสาหิบ (Kartarpur Sahib) เป็นคุรุทวาราในกรตารปุระ แคว้นปัญจาบ ประเทศปากีสถาน[1][2] ตั้งอยู่บนตำแหน่งที่ศาสดาผู้ก่อตั้งศาสนาซิกข์ คุรุนานัก ได้ตั้งรกรากและรวมชุมนชาวซิกข์ขึ้นหลังท่านได้เดินทาง (udasis) ไปยังหฤทวาร, เมกกะ-เมดินา, ลังกา, แบกแดด, กัศมีร์ และ เนปาล[3][4]) และได้อาศัยอยู่เป็นเวลา 18 ปีจนกระทั่งท่านได้เสียชีวิตที่นี่ในปี 1539[5] ที่นี่เป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์สูงสุดของชาวซิกข์ร่วมกับหริมนเทียรสาหิบในอมฤตสระและคุรุทวาราชนัมอัสถานในนานกานาสาหิบ[6][7]

คุรุทวาราดรบารสาหิบ กรตารปุระ
گُردُوارا دربار صاحِب کرتارپُور
ਗੁਰਦੁਆਰਾ ਦਰਬਾਰ ਸਾਹਿਬ ਕਰਤਾਰਪੁਰ
แผนที่
ข้อมูลทั่วไป
ประเภทคุรุทวารา
สถาปัตยกรรมสถาปัตยกรรมซิกข์
เมืองกรตารปุระ, หมู่บ้านชาการครห์, อำเภอนโรวัล, แคว้นปัญจาบ
ประเทศประเทศปากีสถาน ปากีสถาน
พิกัด32°05′14″N 75°01′00″E / 32.08735°N 75.01658°E / 32.08735; 75.01658
เว็บไซต์
www.etpb.gov.pk/kartarpur-corridor

นอกจากนี้คุรุทวารานี้ยังเป็นที่รู้จักในฐานะที่ตั้งอยู่ชิดกับพรมแดนอินเดียและปากีสถานจนสามารถมองเห็นอาคารได้จากฝั่งอินเดีย[8] มีการสร้างพื้นที่สำหรับมองไปยังกรตารปุระจากฝั่งอินเดีย ที่ซึ่งศาสนิกชนเดินทางไปสักการะในระยะไกล[9] ท้ายที่สุดเมื่อ 9 พฤศจิกายน 2019 นายกรัฐมนตรีปากีสถาน อิมราน ข่าน ได้เปิดระเบียงกรตารปุระ อย่างเป็นทางการ ไม่กี่วันก่อน 550 ปี ชาตกาลคุรุนานักชยันตี ระเบียงพรมแดนนี้อนุญาตให้ชาวซิกข์จากอินเดียสามารถเดินทางเข้าไปยังคุรุทวารากรตารปุระในปากีสถานได้โดยไม่ต้องขอวีซ่า[10][11] ที่นี่ยังเคยถูกอ้างว่าเป็นคุรุทวาราที่ใหญ่ที่สุดในโลกด้วย[12][13][14][15]

อ้างอิง

แก้
  1. Virdee, Pippa. "Sikh shrines in India and Pakistan – why construction of visa-free Kartarpur corridor is so historic". The Conversation (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 10 November 2019.
  2. "In pictures: Spruced up Gurdwara Darbar Sahib set to welcome Sikh pilgrims from around the world". DAWN.COM (ภาษาอังกฤษ). 8 November 2019. สืบค้นเมื่อ 10 November 2019.
  3. Sheikh, Abdul Majid (7 November 2019). "COMMENT: Guru Nanak travelled widely but always returned to Kartarpur". DAWN.COM (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 10 November 2019.
  4. "Guru Nanak: A wandering religious preacher". Outlook India. สืบค้นเมื่อ 10 November 2019.
  5. Singh, H. S. (2000). The Encyclopedia of Sikhism. Hemkunt Press. ISBN 9788170103011. สืบค้นเมื่อ 27 May 2017.
  6. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ Tribune
  7. "Guru Nanak: Sikh founder's 550th birthday celebrated". BBC. 12 November 2019. สืบค้นเมื่อ 16 November 2019.
  8. "Pakistan 'blocks' darshan of Gurdwara Kartarpur Sahib". Times of India. 26 October 2017.
  9. "MP wants Kartarpur Sahib corridor to be in Indo-Pak talks agenda". Times of India. 8 April 2017. สืบค้นเมื่อ 27 May 2017.
  10. Masih, Niha. "In goodwill gesture, Pakistan opens corridor to Sikh shrine for Indian pilgrims amid wider tensions". Washington Post (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 10 November 2019.
  11. "India pilgrims in historic trip to Pakistan temple" (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). 9 November 2019. สืบค้นเมื่อ 10 November 2019.
  12. "Kartarpur Corridor: India and Pakistan sign deal on Sikh Temple project and renovation making it biggest in the world". BBC World News (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 12 November 2019.
  13. "Imran Khan to open Kartarpur Corridor to India on November 9". Gulf News. 20 October 2019. สืบค้นเมื่อ 9 November 2019.
  14. Jamal, Sana (7 November 2019). "What is significance of Kartarpur?". Gulf News. สืบค้นเมื่อ 16 November 2019.
  15. "US welcomes opening of Kartarpur corridor". India Today. 10 November 2019. สืบค้นเมื่อ 16 November 2019. Guru Nanak Dev spent the last 18 years of his life at Kartarpur Sahib, which has now become the world's largest Sikh Gurdwara.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้