การประดิษฐ์เส้นหวายให้มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง  0.25-0.33 มิลลิเมตร

อุปกรณ์และการจัดเตรียมวัตถุดิบ

 มีดผ่าหวาย  เป็นมีดปลายแหลมด้านคมมีดมีความโค้งหรือหักมุมเสี้ยววงจันทร์ ตั้งแต่กลางลำมีดออกไปสู่ปลายมีด ส่วนต้นลำของมีดจะตรง  ด้ามมีดจะต่อด้วยด้ามไม้เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ ๑ นิ้ว มีความยาวโดยประมาณ ๑๒ นิ้วซึ่งลักษณะการใช้งานของมีดจะมีความสัมพันธ์กับโสตประสาทของร่างกาย

- โดยส่วนปลายมีดมีหน้าที่ ขัดเสี้ยน ไสเนื้อ เกลาผิวหวาย

- ส่วนต้นของลำมีดใช้ผ่า แบ่งเส้นหวาย

-ส่วนด้ามของมีด ใช้รับและส่งแรง โดยใช้ท่อนแขนด้านในและลำตัวของผู้ปฏิบัติช่วยประครอง ขัดเสี้ยน ไสเนื้อ เกลาผิว

 จานเรียดชักหวาย  ทำมาจากจานโลหะสเตนเลส ผ่านกรรมวิธีสร้างรูไว้สำหรับชักเรียดนี้ ได้ออกแบบให้มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางของรูชักเรียดลดหลั่นกันจากรูใหญ่ขนาดเส้นผ่าศุนย์กลาง 1 เซนติเมตรมาจนเหลือ ที่ 0.25 มิลลิเมตร  ซึ่งไม่มีดอกสว่านขนาดเล็กเท่านี้ที่นำมาเจาะจานโลหะสเตนเลสได้ ความพิเศษที่ยิ่งไปกว่านั้นก็คือ ด้วยเทคนิคเฉพาะที่ทำให้รูชักเรียดนั้นมีความคมสามารถไส กลึงและเหลา เส้นหวาย ให้ได้ตามขนาดที่ต้องการ รูสี่เหลี่ยมตรงกลางจานชักเรียดมีขนาด 1 เซนติเมตร  คลิกดูรูปภาพ  
 ต้นหวายหอม ความยาว 2 เมตร สภาพสมบูรณ์ไม่มีริ้วรอยข่วน ฉีกขาด  ซึ่งสำคัญมากต่อคุณภาพของเส้นหวาย ปกติหวายหอมเป็นพืชไม้เลื้อยต้องนำมาจากป่า ซึ่งผู้ที่จะนำออกมาได้ต้องได้รับการสัมปะทาน หวายหอมมีคุณสมบัติที่เหมาะสมที่สุด คือ นิ่ม ขาวสะอาด เนียน ยืดหยุน ไม่มีเสี้ยน คุณสมบัติที่กล่าวมานี้ หวายชนิดอื่นเช่น หวายหิน หวายตะค้า หวายโปร่ง หวายข้อดำ ไม่มีคุณสมบัติเพียงพอ  หวายหอมราคาสูงที่สุด ด้วยคุณสมบัติที่กล่าวมาของหวายหอมจึงเป็นหวายชนิดเดียวที่สามารถนำมาชักเรียดให้ได้ขนาดเล็กตามที่ต้องการได้   ภาพเปรียบเทียบขนาดของต้นหวาย กับ เส้นหวายที่ผ่านการชักเรียดแล้ว 

เทคนิคและวิธีการสร้างเส้นหวายให้เส้นผ่าศูนย์กลางขนาด 0.25-0.33 มิลลิเมตร

     การแบ่งเส้นหวาย

๑ นำต้นหวายหอมที่สภาพดีมาเกลาผิวโดยใช้มือข้างที่ถนัดบังคับมีดจากรูปภาพจะเห็นว่าคมมีดส่วนปลายจะแนบกับผิวของต้นหวายโดยการเกลาผิวหวายจะเกลาผิวจากปลายต้นไปหาโคนของต้นหวาย ( วิธีสังเกตุว่าส่วนใดเป็นส่วนปลายหรือส่วนโคนของต้นหวายให้ดูที่ข้อหวายว่ามีหนอกิ่งเล็กชี้ไปทางไหนทางนั้นคือปลาย และทางปลายจะเรียวเล็กกว่า ) ในรูปอาจารย์ นพดล จะใช้นิ้วกลาง ของมือที่บังคับมีดรองและพยุงต้นหวาย โดยใช้ท่อนแขนด้านในและลำตัวบังคับด้ามมีดเอาไว้ส่วนอีกมือจับปลายหวายจะขยับโดยใช้มือที่บังคับมีดเท่านั้น ข้อมือและท่อนแขนจะขนานกับด้ามมีดตลอด ซึ่งในช่วงลำของหวายหอมมีข้อที่ต้องเกลา ประมาณ 15-20 ข้อ ( การเกลาข้อถือเป็นเรืองที่มีความสำคัญเพราะ เส้นหวายที่เราต้องการต้องมีเรียบถ้าเป็นข้อปูดโปน จะเป็นอุปสรรคในการชักเรียดและอาจเป็นสาเหตุสำคัญมี่ทำให้เส้นหวายขาดหรือชำรุดในขณะที่ทำการชักเรียด )

๒ เมื่อเราเกลาข้อหวายจนเรียบดีแล้วก็นำหวายต้นนั้นมาทำการผ่ากลางโดยการบังคับมีดให้นิ่งแล้วใช้มือที่จับหวายเลื่อนขยับหวายเข้าหามีด จากรูป๒. ๑, ๒.๒ จะเห็นว่าเราจะบังคับมีดให้ตั้งตรงโดยเลื่อนขยับดันต้นหวายเข้าหาคมมีดโดยนิ้วมือที่จับหวายจะประกบข้างลำต้นหวายเมื่อเราค่อยๆขยับดันต้นหวายคมมีดที่แหวกลางลำต้นจะไม่บาดนิ้วของเราที่ประกบอยู่ข้างลำต้นหวาย

๓ ทำการแบ่งหรือผ่าเส้นหวายในที่ได้จากข้อ ๒ มาแบ่งครึ่งตลอดทั้งเส้น ซึ่งทำแบบเดียวกับข้อ ๒ จนสามารถแบ่งได้ครบ ๘ เส้น

หมายเหตุ แบ่งเส้นหวายสามารถแบ่งได้ ๘เส้น ต่อ หนึ่งต้น คือนำต้นหวายมาแบ่งทีละครึ่ง จาก ๑ เป็น ๒เส้น จาก ๒ เส้นแบ่งเส้นละครึ่งได้ ๔ เส้น และ๔ นี้นำมาแบ่งเส้นละครึ่งได้เป็น ๘ เส้น ซึ่งหวายทุกต้นสามารถแบ่งได้แค่ ๘ เส้น

      การปรับสภาพเส้นหวาย
           การปรับสภาพของเส้นหวายมีความสำคัญต่อการสร้างเส้นหวาย หลังจากที่เราแบ่งเส้นหวายได้ ๘ เส้น แล้วแต่     
        เรายังไม่สามารถนำเส้นหวายที่เราทำการแบ่งไว้แล้วมาทำการชักเรียดได้ เพราะเส้นหวายที่แบ่งจะมีส่วนเนื้อผิวเป็น
        คลื่นและไม่สม่ำเสมอ จึงต้องนำไสเนื้อออกโดยมีวิธีการบังคับมีดคล้ายกับขั้นตอนการเกลาผิว ซึ่งในขั้นตอนนี้ต้อง  
อาศัยความชำนาญในการไสเนื้อหวาย โดยเริ่มไสจากเนื้อในของหวายและด้านข้างทั้งสอง โดยคงด้านผิวนอกเอาไว้
เพราะผิวของหวายเป็นส่วนสำคัญที่เราต้องการใช้งาน การปรับสภาพเส้นหวายต้องทำการปรับจากปลายมาสู่โคนของลำหวาย ก่อนที่จะผ่านขั้นตอนการชักเรียด คลิกเพื่อดูภาพ

การชักเรียดเส้นหวาย

        การชักเรียดเส้นหวาย คือ การนำเส้นหวายที่ผ่านการแบ่งและปรับสภาพให้เป็นที่พอสอดเข้ารูของจานชักเรียด

จากรูปจะสังเกตุเห็นว่าเมื่อเส้นหวายผ่านรูจานชักเรียด รูที่ออกแบบไว้ด้วยเทคนิคพิเศษจะทำหน้าที่ ไส และ เกลา เนื้อหวายส่วนเกินออกไป ( ถ้าเราไม่เอาใจใส่ทุกขั้นตอนตั้งแต่การตรวจสภาพของผิวหวาย การเกลาผิว แล้ว จะไม่สามารถผ่านขั้นตอนชักเรียดไปได้เพราะผิวของเนื้อหวายโดยรอบจะไม่เรียบสม่ำเสมอ เวลาสอดเส้นหวายจะเกิดแรงดึงแรงเฉือนไม่เท่ากัน อาจเป็นสาเหตุทำให้เราใช้แรงมากเกินไปจนเกิดความเสียหายบนผิวของเส้นหวายได้ )

     จากรูปจะเห็นว่าขี้หวายที่จานชักเรียดขูดออกมานั้นมีจำนวนมากขึ้น การชักเรียดเส้นหวายไม่สามารถลดขนาดรูชักเรียดโดยฉับพลันได้ ต้องค่อยๆลดขนาดของรูชักเรียด ลงทีละ 0.1-0.2 มิลลิเมตร ด้วยเหตุผลเพื่อให้เส้นหวายปรับสภาพลดขนาดของพื้นผิวโดยที่ไม่ฝืนกำลังฉุดดึงมากเกินไป  
       จากรูปเราจะเห็นว่าอาจารย์ นพดล นำเส้นหวายที่ผ่านการชักเรียดมาปรับสภาพอีกครั้ง ซึ่งการปรับสภาพนี้จะช่วยลดแรงฝืนจากการฉุดดึง การปรับสภาพนั้นบางครั้งเราต้องใช้กระดาษทรายเบอร์ละเอียด เพื่อลบความคม ตามภาพ ซึ่งในภาพนี้อาจารย์ นพดล ได้ชักเรียดเส้นหวายจนเหลือขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 0.5 มิลลิเมตร แล้วจึงนำเส้นหวายไปชักเรียดในรูที่ลดขนาดลง  ซึ่งทุกขั้นตอนจะต้องใส่ใจทุกรายละเอียด ใช้ทุกประสาทสัมผัส  
     จากรูปจะสังเกตุว่าอาจารย์ นพดล นำใส้ดินสอปากกาเส้นหวายซึ่งยังไม่ใช่เส้นหวายที่เล็กที่สุด  จากรูปจะสังเกตุว่าเส้นหวายมีความเรียวเล็กกว่าเส้นดินสอ  จากภาพทางด้านซ้าย คือต้นหวายหอม  ถัดไปทางด้านขวาคือเส้นหวายที่แบ่ง ๒  และ แบ่ง ๔ ตามลำดับ  เส้นซ้ายสุด คือเส้นหวายที่ ผ่านทุกขั้นตอน จนได้เส้นหวายขนาด 0.25 มิลลิเมตร  ซึ่งก่อนที่อาจารย์ นพดล จะสร้างสรรงานสานที่ยิ่งใหญ่ ต้องจัดเตรียม เส้นหวายขนาด 0.25 มิลลิเมตร  ไม่ต่ำกว่า 10,000 เส้น 

หมายเหตุ ผมไม่ทราบวิธีใส่รูปภาพ ถ้าใครรู้โปรดให้คำแนะนำด้วย จะได้นำมาฝากผู้ที่เข้ามาเยี่ยมชม หรือ ขอชมรูปได้ที่ สุจิตmanpyya@thaimail.com --ข้อความนี้ไม่ได้ลงชื่อ ซึ่งออกความเห็นโดยผู้ใช้ Manpyya (พูดคุยหน้าที่เขียน) 11:12, 8 มีนาคม 2551 (ICT)

ทักทาย แก้

สวัสดีครับ การใส่รูปต้องอัปโหลดไฟล์ภาพก่อนครับ แล้ว ใช้คำสั่ง [[ภาพ:ชื่อไฟล์....]] ลองคลิกดู "แก้ไข" ในบทความอื่นๆ ดูนะครับ --ธวัชชัย 11:19, 8 มีนาคม 2551 (ICT)