คีปทอล์กกิงแอนด์โนบอดีเอกซ์โพลดส์

คีปทอล์กกิงแอนด์โนบอดีเอกซ์โพลดส์ (อังกฤษ: Keep Talking and Nobody Explodes) เป็นวิดีโอเกมปริศนาที่พัฒนาและเผยแพร่โดยสตูดิโอสตีลเครตเกมส์ของแคนาดา[1] เกมดังกล่าวกำหนดให้ผู้เล่นปลดระเบิดที่สุ่มสร้างขึ้นอย่างเป็นระบบโดยได้รับความช่วยเหลือจากผู้เล่นคนอื่น ๆ ที่กำลังอ่านคู่มือที่มีคำแนะนำอยู่ เกมนี้ได้รับการออกแบบโดยอาศัยการรองรับความเป็นจริงเสมือนโดยมีความพร้อมใช้งานก่อนในซัมซุงเกียร์ วีอาร์ ที่ขับเคลื่อนด้วยแอนดรอยด์[2] โดยมีพอร์ตในภายหลังไปยังอุปกรณ์ที่รองรับบนไมโครซอฟท์ วินโดวส์, โอเอสเท็น, เพลย์สเตชัน 4 และลินุกซ์ แม้ว่าจะสามารถเล่นได้โดยไม่มีความเป็นจริงเสมือนในบางกรณี ส่วนการอัปเดตสำหรับเกมที่วางจำหน่ายในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 2018 ได้เอาข้อกำหนดความเป็นจริงเสมือนสำหรับระบบที่มีอยู่เหล่านี้ออก รวมถึงการเปิดตัวสำหรับนินเท็นโด สวิตช์ และเอกซ์บอกซ์วัน ส่วนพอร์ตที่ไม่ใช่ความเป็นจริงเสมือนสำหรับไอโอเอสและแอนดรอยด์ได้เปิดตัวในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 2019

คีปทอล์กกิงแอนด์โนบอดีเอกซ์โพลดส์
ผู้พัฒนาสตีลเครตเกมส์
ผู้จัดจำหน่ายสตีลเครตเกมส์
ออกแบบ
  • อัลเลน เปสตาลูกี
  • เบน เคน
  • ไบรอัน เฟตเตอร์
โปรแกรมเมอร์
  • อัลเลน เปสตาลูกี
  • เบน เคน
  • ไบรอัน เฟตเตอร์
ศิลปินคริส เทย์เลอร์
แต่งเพลงเลียม โซเว
เอนจินยูนิตี
เครื่องเล่น
วางจำหน่าย
  • เกียร์ วีอาร์
  • 16 กรกฎาคม ค.ศ. 2015
  • ไมโครซอฟท์ วินโดวส์
  • 8 ตุลาคม ค.ศ. 2015
  • โอเอสเท็น
  • 14 ธันวาคม ค.ศ. 2015
  • โอคูลัส ริฟต์
  • 26 มีนาคม ค.ศ. 2016
  • เพลย์สเตชัน วีอาร์
  • 13 ตุลาคม ค.ศ. 2016
  • กูเกิล เดย์ดรีม
  • 10 พฤศจิกายน ค.ศ. 2016
  • ลินุกซ์
  • 19 ธันวาคม ค.ศ. 2017
  • โอคูลัส โก
  • 1 พฤษภาคม ค.ศ. 2018
  • นินเท็นโด สวิตช์, เพลย์สเตชัน 4, เอกซ์บอกซ์วัน
  • 16 สิงหาคม ค.ศ. 2018
  • โอคูลัส เควสต์
  • 21 พฤษภาคม ค.ศ. 2019
  • ไอโอเอส, แอนดรอยด์ (ไม่ใช่วีอาร์)
  • 1 สิงหาคม ค.ศ. 2019
แนวปริศนา
รูปแบบหลายผู้เล่น

รูปแบบการเล่น แก้

เกมดังกล่าวได้รับการออกแบบให้เล่นโดยมีผู้เล่นอย่างน้อยสองคน โดยมีผู้เล่นหนึ่งคนเป็น "ผู้ปลดชนวนระเบิด" โดยการเล่นเกมบนอุปกรณ์ (รองรับทั้งคีย์บอร์ดและเมาส์, หน้าจอสัมผัสและการควบคุมเกมแพด รวมถึงรองรับชุดหูฟังความเป็นจริงเสมือน) และผู้เล่นที่เหลือในฐานะ "ผู้เชี่ยวชาญ" ที่อ่านคู่มือการกู้ระเบิดที่ให้มา[3][4] ตามที่ออกแบบไว้ ผู้ปลดชนวนระเบิดไม่สามารถดูคู่มือได้และต้องพึ่งพาผู้เชี่ยวชาญเพื่อแนะนำ ในทำนองเดียวกัน ผู้เชี่ยวชาญจะมองไม่เห็นระเบิด และต้องพึ่งพาผู้ปลดชนวนระเบิดเพื่ออธิบายระเบิดให้พวกเขาฟัง ทั้งนี้ ผู้เชี่ยวชาญและผู้ปลดชนวนระเบิดสามารถสื่อสารกันได้โดยตรงจากโต๊ะตัวอื่น หรือทางออนไลน์โดยใช้บริการเสียงแยกต่างหาก

ระเบิดแต่ละลูกในเกมประกอบด้วยหลายหน่วยที่นำมาประกอบ ซึ่งหน่วยที่นำมาประกอบเป็นอิสระจากกันและสามารถปลดในลำดับใดก็ได้[5] หน่วยที่นำมาประกอบส่วนใหญ่ต้องการการปลด โดยจะปลดระเบิดได้สำเร็จเมื่อปลดหน่วยที่นำมาประกอบดังกล่าวทั้งหมดได้สำเร็จ การปลดหน่วยที่นำมาประกอบเหล่านี้ต้องการให้ผู้ปลดชนวนระเบิดถ่ายทอดตัวบ่งชี้ที่มองเห็นได้ไปยังผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งจะใช้คู่มือนี้เพื่อกำหนดว่าผู้ปลดชนวนระเบิดจะดำเนินการอย่างไร ส่วนหน่วยที่นำมาประกอบอื่น ๆ นั้น "ยากลำบาก" ซึ่งไม่สามารถปลดได้ และต้องการการดูแลเป็นระยะเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการปะทะขณะที่ระเบิดยังเตรียมพร้อม ระเบิดแต่ละลูกจะมีนาฬิกาจับเวลาถอยหลัง ถ้านาฬิกาจับเวลาถึงศูนย์ ระเบิดดังกล่าวจะระเบิด ระเบิดจะมีค่าการปะทะสูงสุดที่เกิดจากข้อผิดพลาดระหว่างการปลด (รวมถึงการเร่งตัวจับเวลาด้วย) และหากถึงขีดจำกัดสูงสุด ระเบิดดังกล่าวก็จะระเบิด อุปสรรคอื่น ๆ ของผู้ปลดชนวนระเบิด ได้แก่ ไฟในห้องเสมือนที่ดับลงชั่วขณะ และนาฬิกาปลุกที่จะทำให้ผู้ปลดชนวนระเบิดเสียสมาธิ[ต้องการอ้างอิง]

หน่วยที่นำมาประกอบใช้ชุดคำสั่งที่ซับซ้อนและองค์ประกอบที่คล้ายปริศนาเพื่อแก้ไข และโดยทั่วไปคำสั่งที่ยกเลิกจะมีเงื่อนไขในการกำหนดค่าของหน่วยที่นำมาประกอบนั้น ๆ ตัวอย่างเช่น ผู้เชี่ยวชาญอาจจำเป็นต้องแนะนำผู้ปลดชนวนระเบิด ผ่านทางวกวนที่กำแพงซึ่งผู้ปลดชนวนระเบิดไม่สามารถมองเห็นได้ แต่เนื่องจากคู่มือมีแผนที่สำหรับทางวกวนจำนวนหนึ่ง ผู้ปลดชนวนระเบิดต้องช่วยผู้เชี่ยวชาญระบุว่าแผนที่ใดใช้ได้กับหน่วยที่นำมาประกอบที่กำหนดในปัจจุบัน[5] บางหน่วยที่นำมาประกอบจงใจทำให้การสื่อสารด้วยวาจาซับซ้อน บางหน่วยที่นำมาประกอบใช้อักษรภาพแปลก ๆ ที่ต้องมีคำอธิบาย หน่วยที่นำมาประกอบอื่น ๆ ใช้คำที่อาจเป็นคำพ้องเสียงของคำอื่นที่คล้ายคลึงกัน (เช่น "sees" ถึง "seas") สำบัดสำนวนด้วยวาจา ("uhhh" หรือ "uh huh") หรือคำทั่วไปที่อาจใช้ในสถานการณ์นั้น ("press" หรือ "left") ที่อาจสับสนได้ง่ายในการสื่อสารระหว่างผู้ปลดชนวนระเบิดกับผู้เชี่ยวชาญ[5] หน่วยที่นำมาประกอบจำนวนมากมีหลายขั้นตอนที่ต้องการให้ผู้เชี่ยวชาญติดตามการดำเนินการที่ผ่านมาขณะทำงานในแต่ละขั้นตอน การปลดหน่วยที่นำมาประกอบบางส่วนอาจขึ้นอยู่กับสถานะของระเบิด เช่น จำนวนครั้งของการปะทะในปัจจุบัน หรือการตกแต่งภายนอกบนระเบิด เช่น หมายเลขซีเรียลหรือการมีอยู่ของแบตเตอรี่[5]

เกมดังกล่าวแบ่งออกเป็นระดับที่กำหนดไว้ล่วงหน้าหลายระดับ โดยแบ่งออกเป็นกลุ่มทักษะที่กำหนดจำนวนและประเภทของหน่วยที่นำมาประกอบ, เวลาที่จะปลดชนวนระเบิด และค่าการปะทะสูงสุด แต่ละระดับจะสร้างระเบิดและหน่วยที่นำมาประกอบเพื่อคลี่คลายในลักษณะที่เป็นขั้นตอน[6] ผู้เล่นยังสามารถสร้างความท้าทายที่กำหนดเองตามจำนวนหน่วยที่นำมาประกอบ, เวลา และการปะทะ

การพัฒนา แก้

เหล่านักพัฒนา ได้แก่ อัลเลน เปสตาลูกี, เบน เคน และไบรอัน เฟตเตอร์ เดิมได้สร้างเกมนี้สำหรับโกลเบิลเกมแจม ค.ศ. 2014[7][8] ที่นั่น พวกเขามีชุดพัฒนาอ็อกคิวลัสลิฟต์สองสามชุด และต้องการใช้ประโยชน์จากความแปลกใหม่ของความเป็นจริงเสมือน เกมดั้งเดิมของพวกเขา ซึ่งเป็นเกมจำลองการนั่งรถไฟเหาะตีลังกาได้ดึงดูดผู้คนจำนวนมากให้ลองเล่น แต่ทั้งสามสังเกตเห็นว่าในขณะที่ผู้สวมชุดหูฟังกำลังเพลิดเพลินกับตัวเอง ผู้ที่รอคิวกลับไม่ได้รับการแบ่งปันความเพลิดเพลินนั้น สิ่งนี้ทำให้พวกเขามีแนวคิดเกี่ยวกับเกมที่ทั้งผู้สวมใส่ชุดหูฟังและและผู้ที่เฝ้าดูผู้สวมใส่สามารถแบ่งปันกันได้ แม้ว่าพวกเขาจะมีหลายสถานการณ์อยู่ในใจ แต่แนวคิดเรื่องการปลดชนวนระเบิดก็เป็นเรื่องที่น่าสนใจที่สุด เช่นเดียวกับสิ่งที่พวกเขาสามารถทำได้ในระหว่างเกมแจม[8] ในตอนท้ายของเกมแจม พวกเขานำเสนอเกมของตนต่อผู้พัฒนาที่เข้าร่วมรายอื่น ๆ โดยบันทึกการเล่นผ่านเกมครั้งแรกของพวกเขาเองซึ่งพวกเขาโพสต์ในยูทูบในภายหลัง ซึ่งการตอบสนองทั้งที่เกมแจม และจากผู้ชมยูทูบที่กล่าวถึงเกมนี้ว่า "เฮฮา" ทำให้ทั้งสามคนตระหนักว่าพวกเขาอยู่ในเกมที่วางขายในตลาดได้ และได้พัฒนาเกมสำหรับการเปิดตัวอย่างเต็มรูปแบบ[8][6] ในการพัฒนาหลักเกณฑ์ต่าง ๆ สำหรับการปลดอาวุธ หน่วยที่นำมาประกอบเหล่านี้ถูกสร้างขึ้นในขั้นต้นตามขั้นตอนเช่นเดียวกับตัวระเบิดเอง เพื่อให้สามารถปรับเปลี่ยนไปมาระหว่างการสาธิตต่าง ๆ ในงานแสดงสินค้า แม้ว่าเกมสุดท้ายจะมีหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้แบบคงที่สำหรับการปลดชนวนระเบิด แต่ก็มีกรอบงานที่สามารถใช้เพื่อผสมผสานหลักเกณฑ์ในเวอร์ชันต่อ ๆ ไป[9]

เกมเวอร์ชันเพลย์สเตชัน วีอาร์ ได้รับการวางจำหน่ายเมื่อวันที่ 13 ตุลาคม ค.ศ. 2016[2] ในขณะที่เวอร์ชันสำหรับแพลตฟอร์มความเป็นจริงเสมือนอย่างกูเกิล เดย์ดรีม ที่ใช้ระบบแอนดรอยด์ได้รับการเปิดตัวในวันที่ 10 พฤศจิกายน ค.ศ. 2016[2] บริษัทสตีลเครตได้เปิดตัวเวอร์ชันที่ไม่ใช่วีอาร์สำหรับเพลย์สเตชัน 4, นินเท็นโด สวิตช์ และเอกซ์บอกซ์วัน เมื่อวันที่ 16 สิงหาคม ค.ศ. 2018 ซึ่งนี่เป็นการอัปเดตฟรีสำหรับเจ้าของเกมที่มีอยู่[10][11] ส่วนพอร์ตสำหรับอุปกรณ์ไอโอเอสและแอนดรอยด์ที่ไม่รองรับวีอาร์วางจำหน่ายในวันที่ 1 สิงหาคม ค.ศ. 2019[12]

การตอบรับ แก้

การตอบรับ
คะแนนรวม
ผู้รวมคะแนน
เมทาคริติก(นินเท็นโด สวิตช์) 84/100[13]
(พีซี) 71/100[14]
(เพลย์สเตชัน 4) 88/100[15]
คะแนนปฏิทรรศน์
สิ่งพิมพ์เผยแพร่คะแนน
เดสทรักทอยด์9/10[16]

คีปทอล์กกิงแอนด์โนบอดีเอกซ์โพลดส์เวอร์ชะนพีซี ได้รับการวิจารณ์แบบ "ผสมหรือปานกลาง" ในขณะที่เวอร์ชันนินเท็นโด สวิตช์ และเพลย์สเตชัน 4 ได้รับ "บทวิจารณ์ที่เป็นที่ชื่นชอบโดยทั่วไป" ตามข้อมูลจากตัวรวบรวมบทวิจารณ์อย่างเมทาคริติก[14][15][13]

เว็บไซต์เดสทรักทอยด์ให้คะแนน 9 เต็ม 10 โดยกล่าวว่า "หากคุณเบื่อที่จะเล่นกาดส์อเกนต์ฮิวแมนิตี, โมนอโพลี และเกมกระดานการ์กอยส์บนเลเซอร์เดิสก์ ถ้าอย่างนั้นคีปทอล์กกิงแอนด์โนบอดีเอกซ์โพลดส์จะช่วยแก้ปัญหาที่คุณต้องการได้อย่างแน่นอน โดยรอว่าคุณมีเพื่อนที่พร้อมจะทุ่มเทกับภารกิจใกล้มือ"[16]

แซม มาชโคแวค แห่งเว็บไซต์อาส์เทคนิกา ได้วิจารณ์เกมนี้โดยกล่าวถึงว่าเป็น "เกมที่ต้องมี" แม้ว่าเขาจะยังตั้งข้อสังเกตว่าเมื่อผู้เล่นเข้าใจหน่วยที่นำมาประกอบบางอย่างแล้ว พวกเขาสามารถ "ทำจังหวะที่น่าเบื่อ" แทนการท้าทายได้[17] และเขายังสังเกตเห็นศักยภาพของเกมในฐานะเกมปาร์ตีที่สนุกสนานไม่แพ้กันสำหรับผู้ชม[17]

นอกจากนี้ ที่งานเนชันแนลออฟวิดีโอเกมรีวิวเวอส์ (NAVGTR) ประจำปี 2015 คีปทอล์กกิงแอนด์โนบอดีเอกซ์โพลดส์ชนะรางวัลเกม, สเตรทิจี[18] เกมดังกล่าวยังได้รับรางวัลเอกเซลเลนซ์อินดีไซน์ ซูมัส แมกนาลลี แกรนด์ไพรซ์ และได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงนูโอโว (อินโนเวชัน) อะวอร์ด ที่งานอินดีเพ็นเดนต์เกมส์เฟสติวัลประจำปี 2016[19][20] ส่วนสตีลเครตเกมส์ได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลเปิดตัวยอดเยี่ยมสำหรับเกมของงานเกมดีเวลอเปอส์ชอยส์อะวอดส์ประจำปี 2016[21] และบริติชอะแคเดมีเกมส์อะวอดส์ประจำปี 2016[22] ส่วนออฟฟิเชียล ยูเค เพลย์สเตชันแมกกาซีน ได้ระบุถึงเกมนี้ว่าเป็นเกมเพลย์สเตชัน วีอาร์ ที่ดีที่สุดอันดับสาม[23]

และภายในเดือนมีนาคม ค.ศ. 2016 เกมดังกล่าวมียอดขายมากกว่า 200,000 ชุด[9]

อ้างอิง แก้

  1. "Steel Crate Games". Twitter. สืบค้นเมื่อ February 9, 2020.
  2. 2.0 2.1 2.2 "Press Kit". Steel Crate Games. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 September 2018. สืบค้นเมื่อ 4 October 2018.
  3. "Bomb Defusal Manual". Keep Talking and Nobody Explodes Manual. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 30 กันยายน 2017. สืบค้นเมื่อ 10 ตุลาคม 2015.
  4. "How it Works". Keep Talking and Nobody Explodes - Official Website. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 กุมภาพันธ์ 2018.
  5. 5.0 5.1 5.2 5.3 "Defusing Bombs". Keep Talking and Nobody Explodes Manual. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 มกราคม 2018.
  6. 6.0 6.1 "Keep Talking and Nobody Explodes". Steel Crate Games. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 มกราคม 2018. สืบค้นเมื่อ 11 ตุลาคม 2015.
  7. "Keep Talking and Nobody Explodes (Oculus Rift + Razer Hydra)". Global Game Jam. สืบค้นเมื่อ 17 October 2015.
  8. 8.0 8.1 8.2 Graft, Kris (29 มกราคม 2016). "Road to IGF: Steel Crate Games' Keep Talking and Nobody Explodes". Gamasutra. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 สิงหาคม 2017. สืบค้นเมื่อ 29 มกราคม 2016.
  9. 9.0 9.1 Marks, Tim (3 มีนาคม 2016). "Keep Talking and Nobody Explodes has sold over 200,000 copies". PC Gamer. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 มีนาคม 2016. สืบค้นเมื่อ 3 มีนาคม 2016.
  10. Devore, Jordan (7 June 2018). "Keep Talking and Nobody Explodes will be so great on Nintendo Switch". Destructoid. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-05-14. สืบค้นเมื่อ 7 June 2018.
  11. Dent, Steve (10 August 2018). "'Keep Talking and Nobody Explodes' no longer requires VR on PS4". Engadget. สืบค้นเมื่อ 10 August 2018.
  12. Robertson, Adi (25 July 2019). "Awesome bomb defusal game Keep Talking and Nobody Explodes comes to phones next week". The Verge. สืบค้นเมื่อ 25 July 2019.
  13. 13.0 13.1 "Keep Talking and Nobody Explodes (Switch)". Metacritic. สืบค้นเมื่อ October 24, 2021.
  14. 14.0 14.1 "Keep Talking and Nobody Explodes (PC)". Metacritic. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 พฤษภาคม 2017. สืบค้นเมื่อ 29 มีนาคม 2018.
  15. 15.0 15.1 "Keep Talking and Nobody Explodes (PS4)". Metacritic. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 ตุลาคม 2017. สืบค้นเมื่อ 29 มีนาคม 2018.
  16. 16.0 16.1 "Review: Keep Talking and Nobody Explodes". Destructoid (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 ธันวาคม 2016. สืบค้นเมื่อ 19 พฤษภาคม 2017.
  17. 17.0 17.1 "Keep Talking and Nobody Explodes review: The exact opposite of a bomb". Ars Technica. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 ธันวาคม 2017. สืบค้นเมื่อ 11 ตุลาคม 2015.
  18. "NAVGTR Awards (2015)". National Academy of Video Game Trade Reviewers. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 21 กุมภาพันธ์ 2017.
  19. Nunneley, Stephany (6 มกราคม 2016). "Her Story, Undertale, Darkest Dungeon receive multiple 2016 IGF Award nominations". VG247. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 มกราคม 2016. สืบค้นเมื่อ 6 มกราคม 2016.
  20. Gamasutra Staff (16 มีนาคม 2016). "Her Story takes home top honors at the 18th annual IGF Awards". Gamasutra. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 เมษายน 2016. สืบค้นเมื่อ 16 มีนาคม 2016.
  21. Nunneley, Stephany (8 มกราคม 2016). "The Witcher 3, Metal Gear Solid 5 lead nominees for GDC 2016 Awards". VG247. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 มกราคม 2016. สืบค้นเมื่อ 8 มกราคม 2016.
  22. Nunnely, Stephany (10 มีนาคม 2016). "Rocket League, The Witcher 3, Fallout 4, others up for BAFTA Best Game Award". VG247. Gamer Network. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 พฤษภาคม 2016. สืบค้นเมื่อ 10 มีนาคม 2016.
  23. PS VR Hall of Fame, Official UK PlayStation Magazine, Issue 136, June 2017, Future Publishing, page 108

แหล่งข้อมูลอื่น แก้