คำสั่งคอมมานโด (เยอรมัน: Kommandobefehl) เป็นคำสั่งที่ได้ถ่ายทอดโดยอดอล์ฟ ฮิตเลอร์ เมื่อวันที่ 18 ตุลาคม ค.ศ. 1942 ได้ประกาศว่า เมื่อหน่วยรบคอมมานโดของฝ่ายสัมพันธมิตรทั้งหมดได้เผชิญหน้ากับกองกำลังเยอรมันในยุโรปและแอฟริกาสมควรจะต้องถูกสังหารทันทีโดยไม่ต้องขึ้นศาล แม้พวกเขาจะอยู่ในชุดเครื่องแบบที่เหมาะสมหรือได้พยายามที่จะยอมจำนน หน่วยคอมมานโดหรือกลุ่มขนาดเล็กของหน่วยคอมมานหรือหน่วยที่มีลักษณะคล้ายคลึง, สายลับ, และผู้ก่อวินาศกรรมไม่ได้อยู่ในเครื่องแบบที่เหมาะสมซึ่งได้ตกอยู่ในเงื้อมมือของกองกำลังทหารเยอรมันโดยวิธีการอื่นๆนอกเหนือจากการสู้รบโดยตรง (ผ่านทางตำรวจในดินแดนที่ยึดครอง,สำหรับตัวอย่าง),จะถูกมอบทันทีให้กับหน่วยซีแชร์ไฮท์สดีนสท์ (SD,หน่วยบริการความปลอดภัย) คำสั่งถูกใช้งานอย่างลับ ๆ โดยหากไม่ทำตามก็จะถือว่าเป็นความประมาทเลินเล่อซึ่งสามารถต้องโทษได้ตามกฎหมายทหารเยอรมัน[1] นี่คือส่วนที่สองของข้อเท็จจริง "คำสั่งคอมมานโด",[2] ผู้ที่เริ่มออกคำสั่งเป็นคนแรกโดยจอมพลแกร์ด ฟอน รุนด์ชเตดท์ เมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม ค.ศ. 1942 ได้ประกาศว่า พลทหารโดดร่มที่จับกุมมาได้ควรจะส่งมอบทันทีให้กับหน่วยเกสตาโพ[3]ภายหลังสงครามโลกครั้งที่สอง,ที่การพิจารณาคดีเนือร์นแบร์ก,คำสั่งคอมมานโดได้ถูกพบว่าเป็นการละเมิดกฏหมายสงครามโดยตรง,และเจ้าหน้าที่ทหารเยอรมันผู้ที่ได้ดำเนินการประหารชีวิตที่ผิดกฏหมายภายใต้คำสั่งคอมมานโดได้ถูกตัดสินว่ามีความผิดในข้อหาอาชญากรรมสงคราม

อ้างอิง แก้

  1. USGPO Translation of order, UK: UWE, คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-06-18.
  2. "The Commando Order", History learning site, UK.
  3. CAB/129/28, British National Archives, ... under which parachutists who were taken prisoner not in connection with battle actions were to be transferred to the Gestapo by whom they were, in fact, killed.