คาร์ล เดอริง
คาร์ล ซีคฟรีท เดอริง (เยอรมัน: Karl Siegfried Döhring; 14 สิงหาคม พ.ศ. 2422 ที่โคโลญ – 1 มิถุนายน พ.ศ. 2484 ที่ดาร์มชตัท) เป็นสถาปนิก นักประวัติศาสตร์ศิลปะ และนักโบราณคดีชาวเยอรมัน ใช้ชีวิตส่วนใหญ่ในประเทศสยาม หรือปัจจุบันคือประเทศไทย
เดอริงเข้ามารับราชการเป็นสถาปนิก ได้ทำงานในกรมศุขาภิบาล ใน พ.ศ. 2452 และในปีนี้ยังได้รับการมอบหมายให้สร้างวังพระองค์เจ้าดิลกนพรัฐ และในเดือนกันยายน พ.ศ. 2452 ได้รับการแต่งตั้งจากพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ เป็นผู้ออกแบบและควบคุมการก่อสร้างพระรามราชนิเวศน์ที่จังหวัดเพชรบุรี
งานสำคัญอื่น เช่นสร้างวังวรดิศสำหรับเป็นที่ประทับมารดาของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ในปี พ.ศ. 2454 ต่อมาในปี พ.ศ. 2456 เดอริงล้มป่วยจนต้องเดินทางกลับไปเยอรมนีเพื่อทำการรักษาและไม่กลับมายังประเทศไทยอีกเลย จนเสียชีวิตในปี พ.ศ. 2484
ระหว่างทำงานในไทย เดอริงแต่งตำราเกี่ยวกับสถาปัตยกรรมและศิลปะในสยามที่ชื่อ Siam, Land und Volk และได้รับการตีพิมพ์ใหม่ในชื่อ The Country and People of Siam มีเนื้อหาบรรยายลักษณะธรรมเนียม ประเพณี ศิลปะ และแง่มุมทางกฎหมายในสยาม[1]
ผลงานอาคารบางส่วน
แก้- สถานีรถไฟธนบุรี (เดิม)
- สถานีรถไฟอุตรดิตถ์
- พระรามราชนิเวศน์
- วังวรดิศ
- วังดิลกนพรัฐ
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2452 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 4 จัตุรถาภรณ์ช้างเผือก (จ.ช.)[2]