คอมเซเว่น

เป็นบริษัทดำเนินธุรกิจจำหน่ายสินค้าไอที ประเภทคอมพิวเตอร์แล็บท็อป คอมพิวเตอร์แบบตั้งโต

บริษัท คอมเซเว่น จำกัด (มหาชน) เป็นบริษัทดำเนินธุรกิจจำหน่ายสินค้าไอที ประเภทคอมพิวเตอร์แล็บท็อป คอมพิวเตอร์แบบตั้งโต๊ะ โทรศัพท์เคลื่อนที่ แท็บเล็ต และอุปกรณ์เสริมที่เกี่ยวข้อง ผ่านช่องทางร้านค้า รวมทั้งให้บริการศูนย์ซ่อมสินค้าของแอปเปิล เจ้าของร้าน BaNANA, Studio7, BKK, KingKong Phone, Bb, BPlay และ Brand Shop เป็นต้น

บริษัท คอมเซเว่น จำกัด (มหาชน)
ประเภทบริษัทมหาชน
การซื้อขาย
SET:COM7
อุตสาหกรรมบริการ
ก่อตั้ง27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2547
สำนักงานใหญ่549/1 ถนนสรรพาวุธ แขวงบางนา เขตบางนา กรุงเทพมหานคร
บุคลากรหลัก
สุระ คณิตทวีกุล (ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร)
เว็บไซต์www.comseven.com

ประวัติ แก้

 
พันธุ์ทิพย์พลาซ่า

คอมเซเว่นก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. 2539 โดยสุระ คณิตทวีกุล และผู้ร่วมก่อตั้งคนอื่น ๆ มีร้านค้าปลีกสินค้าไอทีในห้างพันธุ์ทิพย์พลาซ่าในชื่อ บิ๊กอิต (Big It) เริ่มแรกมีพนักงาน 5 คน[1]

จนเมื่อ พ.ศ. 2547 จดทะเบียนจัดตั้งบริษัท คอมเซเว่น อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด เมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2547 และยังได้ขยายธุรกิจโดยทำธุรกิจค้าส่งสินค้าไอทีให้กับร้านค้าทั่วประเทศ ควบคู่กับการขายปลีกผ่านหน้าร้านของตัวเองในห้างพันธุ์ทิพย์พลาซ่า ต่อมาเห็นว่าธุรกิจค้าปลีกมีข้อดีกว่าการขายส่ง จึงมุ่งสู่ธุรกิจค้าปลีก โดยขยายสาขาร้านค้าปลีกไปยังศูนย์การค้า และห้างสรรพสินค้าต่าง ๆ ทั่วประเทศ[2] พ.ศ. 2548 บริษัทเข้าทำสัญญาเป็น Authorized Reseller กับบริษัท Apple South Asia (Thailand) Ltd. เพื่อจัดจำหน่ายสินค้าของแบรนด์แอปเปิล ภายใต้ร้านชื่อ iStudio, iBeat และ U-Store by Comseven[3]

ในช่วงการระบาดทั่วของโควิด-19 ในประเทศไทย แม้ร้านจำหน่ายอุปกรณ์ไอทีต้องปิดบริการเช่นเดียวกับธุรกิจอื่น แต่ความต้องการสินค้าไอทีที่เพิ่มขึ้นมากกว่าปกติ มียอดขายทางออนไลน์จากประมาณ 60-70 ล้านบาท เพิ่มมาเป็นราว 400 ล้านบาท แต่หลังจากห้างเปิดได้ปกติยอดออนไลน์ลดลงมาเหลือ 200-300 ล้านบาท[4]

เดือนกันยายน พ.ศ. 2564 บริษัทย่อยชื่อ บริษัท เอเดพท์ จำกัด (เดิมชื่อ บริษัท บานาน่า กรุ๊ป จำกัด) ได้ดำเนินธุรกิจจัดจำหน่ายสินค้าแบรนด์ Realme

จากข้อมูลไตรมาส 3 ของ พ.ศ. 2564 มีสาขาภายใต้การบริหารงานของกลุ่มบริษัท รวมทั้งหมด 958 สาขา แบ่งเป็น BaNANA 353 สาขา Studio7 109 สาขา KingKong Phone 85 สาขา True Shop by Com7 123 สาขา แฟรนไชส์ 109 สาขา BKK 43 สาขา iCare 30 สาขา และอื่น ๆ 106 สาขา[5]

ธุรกิจ แก้

ธุรกิจร้านค้าปลีก แก้

 
ร้าน BaNANA และ ร้าน Huawei Shop ที่เดอะมอลล์ ท่าพระ
  • ร้าน BaNANA จำหน่ายอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ โทรศัพท์มือถือ แท็บเล็ต เครื่องเล่นวิดีโอเกม และอุปกรณ์เสริมที่เกี่ยวข้อง
  • ร้าน BKK และ Kingkong Phone จำหน่ายโทรศัพท์มือถือ แท็บเล็ต และอุปกรณ์เสริมที่เกี่ยวข้อง
  • ร้าน Studio7 (ชื่อเดิม iStudio by Com7[6]) และ U-Store จำหน่ายสินค้าของแอปเปิล
  • ร้าน Samsung Shop จำหน่ายสินค้าของซัมซุง
  • ร้าน Oppo Shop
  • ร้าน Vivo Shop
  • ร้าน Huawei Shop
  • ร้าน Xiaomi Shop

ธุรกิจบริการลูกค้า แก้

  • ร้าน iCare ให้บริการรับซ่อมสินค้าของแอปเปิล
  • ร้าน TRUE by Com7 ได้รับสิทธิ์ในการบริหารร้าน TRUE Shop

ธุรกิจบริการลูกค้าองค์กร แก้

จัดหาผลิตภัณฑ์ทั้งด้านอุปกรณ์ ระบบ โปรแกรมและโซลูชันให้กับองค์กรธุรกิจ สถาบันการศึกษาต่าง ๆ

ธุรกิจค้าปลีกออนไลน์ แก้

บริษัทได้จัดตั้งช่องทางการสั่งซื้อสินค้าทางออนไลน์ภายใต้ชื่อ www.bnn.in.th

บริษัทย่อย แก้

บริษัทย่อยและการร่วมค้า ณ วันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2562

  • บริษัท บานาน่า กรุ๊ป จำกัด ถือหุ้นร้อยละ 99.99
  • บริษัท ดีเอ็นเอ รีเทล ลิงก์ จำกัด ประกอบธุรกิจจำหน่ายอุปกรณ์สื่อสาร ภายใต้ชื่อ KingKong Phone[7] ถือหุ้นร้อยละ 99.99
  • บริษัท ไอเทค ซอฟต์แวร์ จำกัด ถือหุ้นร้อยละ 51
  • บริษัท โนวัส อินทิเกรชั่น จำกัด ถือหุ้นร้อยละ 90
  • บริษัท ดับเบิ้ลเซเว่น จำกัด ถือหุ้นร้อยละ 99.99
  • บริษัท เน็คซ์ แคปปิตอล จำกัด ถือหุ้นร้อยละ 40

อ้างอิง แก้

  1. "เปิดวิสัยทัศน์ COM7 จากร้านคอมเล็กๆ สู่ค้าปลีกสินค้า IT เบอร์หนึ่งในประเทศไทย". brandinside.asia.
  2. "ใครคือเจ้าของร้านสินค้าไอที Studio7 และ BaNANA ?". marketthink.
  3. "แบบฟอร์ม 56-1 2562 (31/03/2563)". ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย.
  4. "สุระ คณิตทวีกุล รีสตาร์ทตลาดมือถือ "แสนล้าน"". ฟอบส์ประเทศไทย.
  5. "COM7 โกยรายได้ไตรมาส 3 ทะลุหมื่นล้าน". ผู้จัดการออนไลน์.
  6. รู้หรือไม่ใครตั้ง iStudio แล้วทำไม Com7 ถึงทิ้งแบรนด์นี้ เพื่อสร้างร้านใหม่
  7. "คอมเซเว่นฯทุ่ม 210 ล้านฮุบ 'คิงคองโฟน'". กรุงเทพธุรกิจ.