อาคารชุด
อาคารชุด[1][2] หรือ คอนโดมิเนียม[3] (อังกฤษ: condominium) เป็นที่อยู่อาศัยรูปแบบหนึ่งที่เจ้าของห้องชุดจะต้องแบ่งปันกรรมสิทธิ์หรือความเป็นเจ้าของร่วมกับเจ้าของห้องชุดอื่น ๆ ในพื้นที่ส่วนกลาง เช่น ทางเดิน บริเวณห้องโถง บันได ลิฟต์ โรงจอดรถ สระว่ายน้ำ สนามเด็กเล่น ซึ่งเจ้าของห้องทุกคนจะเป็นเจ้าของร่วมตามกฎหมาย ลักษณะของห้องในอาคารชุดจะเหมือนกับห้องอยู่อาศัย เพียงแต่เราเป็นเจ้าของห้อง ไม่ใช่ผู้เช่า

อาคารชุดในประเทศไทย มีผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ อยู่มากมายหลากหลายมากๆ ซึ่งบริษัทชั้นนำของนักพัฒนาอสังหาฯไทย จะมี แสนสิริ, เอพี ดีเวลลอปเม้นท์, ออริจิ้น พร็อพเพอร์ตี้, อนันดา ดีเวลลอปเม้นท์, เอสซี แอสเสท คอร์ปอเรชั่น ฯลฯ
อาคารชุดเริ่มจากสหรัฐอเมริกาและแคนาดา ธนิดา กิตติอดิสร จากราชบัณฑิตยสถานระบุว่า "คำว่าคอนโดมิเนียมในภาษาอังกฤษหมายถึงการถือกรรมสิทธิ์ร่วมกันในอาคารขนาดใหญ่ที่แบ่งซอยเป็นส่วนต่าง ๆ ให้คนต่างครอบครัวพักอยู่ ต่อมามีความหมายถึง อาคารที่อยู่อาศัย อาคารสำนักงาน หรืออาคารอื่น ที่บุคคลสามารถแยกการถือกรรมสิทธิ์ออกได้เป็นส่วน ๆ โดยแต่ละส่วนประกอบด้วยกรรมสิทธิ์ในทรัพย์ส่วนบุคคลและกรรมสิทธิ์ร่วมในทรัพย์ส่วนกลาง"[4]
ในภาษาอังกฤษ คำเรียกอาคารชุดและกรรมสิทธิ์ร่วมในอาคารชุดนอกเหนือจากคำว่า condominium จะต่างกันไปในแต่ละประเทศหรือภูมิภาค เช่น ในออสเตรเลียและแคนาดาเฉพาะรัฐบริติชโคลัมเบียนิยมเรียกว่า strata title ในขณะที่รัฐควิเบกเรียกว่า divided co-property ส่วนในอังกฤษและเวลส์เรียกว่า commonhold ส่วนภาษาฝรั่งเศสจะเรียกว่า copropriété และในรัฐควิเบกอาจเรียกเป็นภาษาฝรั่งเศสว่า copropriété divise
อ้างอิง แก้ไข
- ↑ ราชบัณฑิตยสถาน. พจนานุกรมศัพท์สถาปัตยกรรมศาสตร์ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน. กรุงเทพฯ : ราชบัณฑิตยสถาน, 2554, หน้า 35.
- ↑ ราชบัณฑิตยสถาน. พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔ เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔. กรุงเทพฯ : ราชบัณฑิตยสถาน, 2556, หน้า 1401.
- ↑ ราชบัณฑิตยสถาน. พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔ เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔. กรุงเทพฯ : ราชบัณฑิตยสถาน, 2556, หน้า 247.
- ↑ คอนโด (๒๒ เมษายน ๒๕๕๑) .royin.go.th