ความรุนแรงในโรงเรียน

ความรุนแรงในโรงเรียน ครอบคลุมถึงความรุนแรงต่อกาย รวมทั้งการต่อสู้ระหว่างนักเรียน และการลงโทษทางกาย ความรุนแรงต่อจิตใจ รวมทั้งการละเมิดด้วยคำพูด ความรุนแรงทางเพศ รวมทั้งการข่มขืนกระทำชำเราและการล่วงละเมิดทางเพศ ถูกอันธพาลรังแก รวมทั้งการระรานทางไซเบอร์ และการพกพาอาวุธในโรงเรียน[1]

รูปแบบของความรุนแรงในโรงเรียน แก้

การระราน แก้

การระราน (bullying) มีลักษณะเป็นพฤติกรรมก้าวร้าวที่เกี่ยวข้องกับการกระทำเชิงลบที่ไม่พึงประสงค์ เกิดซ้ำ ๆ และมีความไม่สมดุลของอำนาจหรือพละกำลังระหว่างผู้ลงมือและผู้เสียหาย อาจแบ่งประเภทได้เป็นการระรานทางกาย จิตใจ เพศและการระรานทางไซเบอร์

  • การระรานทางกาย ได้แก่ ความก้าวร้าวเกิดซ้ำ ๆ เช่น ถูกตี ถูกทำร้าย ถูกเตะ ถูกผลัก ถูกกระชากลากถู หรือถูกกักขังไว้ในห้องหนึ่ง ถูกลักขโมย ถูกริบหรือทำลายทรัพย์สินส่วนบุคคล หรือถูกบีบบังคับให้ทำสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ทั้งนี้ไม่รวมความรุนแรงต่อกายอย่างการต่อสู้และการโจมตีทางกาย
  • การระรานทางจิต รวมถึงการละเมิดทางวาจา การละเมิดอารมณ์ และการถูกกีดกันทางสังคม และหมายความถึงการถูกล้อหรือด่าชื่อ การถูกกลั่นแกล้งในทางที่ไม่น่าอภิรมย์ การถูกกีดกันจากกิจกรรมโดยเจตนา ถูกกีดกันหรือละเลยโดยสิ้นเชิง และการตกเป็นเป้าของคำโกหกหรือข่าวลือเสีย ๆ หาย ๆ
  • การระรานทางเพศ หมายความถึงการถูกล้อด้วยมุกตลกทางเพศ รวมทั้งมีความเห็นหรือการแสดงท่าทาง
  • การระรานทางไซเบอร์ รวมทั้งการถูกระรานด้วยสาร หรือการสร้างเว็บไซต์ที่ล้อนักเรียนหรือใช้ภาพ นอกจากนี้ยังรวมถึงการปฏิบัติในทางที่ทำให้รู้สึกเจ็บช้ำหรือเสีย ๆ หาย ๆ ด้วยโทรศัพท์เคลื่อนที่ (เช่น ข้อความ การโทรเข้า คลิปวิดีทัศน์) หรือออนไลน์ (อีเมล การส่งสารทันที สื่อสังคม ห้องแชต)

อ้างอิง แก้

  1. UNESCO (2017). School Violence and Bullying: Global Status Report (PDF). Paris, UNESCO. pp. 9, 110–111. ISBN 978-92-3-100197-0.