ความผิดพลาดชนิดที่ 1 และ 2

ในวิชาสถิติ ความผิดพลาดชนิดที่ 1 คือการที่ผู้วิจัยสรุปผิดโดยปฏิเสธสมมติฐานว่างทั้งที่แท้แล้วเป็นจริง (บอกว่ามีความแตกต่างโดยที่ความแตกต่างไม่มีอยู่จริง) ส่วนความผิดพลาดชนิดที่ 2 คือการที่ผู้วิจัยไม่ได้ปฏิเสธสมมติฐานว่างที่ไม่เป็นจริง (บอกว่าไม่มีความแตกต่างโดยที่ความแตกต่างนั้นมีอยู่จริง)

นิยาม

แก้

ทางสถิติศาสตร์ สมมติฐานว่าง (null hypothesis) หมายถึงข้อความที่ผู้วิจัยจะต้องพยายามปฏิเสธให้ได้ ส่วนใหญ่จะกำหนดให้เป็นสมมติฐานที่ระบุว่าปรากฎการณ์ที่ผู้วิจัยต้องการศึกษานั้นไม่มีผลหรือไม่มีความแตกต่าง ตัวอย่างเช่นข้อความว่า "อาหารนี้ไม่มีผลต่อน้ำหนักของผู้กิน" เป็นสมมติฐานว่างอย่างหนึ่ง ผู้วิจัยมักตั้งสมมติฐานว่างหนึ่งๆ ขึ้นมา ด้วยความตั้งใจที่จะหาหลักฐานมาปฏิเสธสมมติฐานว่างนั้นๆ ผ่านการเก็บข้อมูลหรือการทำการทดลองที่มีหลักฐานแสดงว่าปรากฎการณ์ที่สนใจนั้นๆ มีผลจริงหรือมีความแตกต่างจริง[1] บางครั้งอาจมีการกำหนดสมมติฐานทางเลือก (alternative hypothesis) ขึ้นมาเป็นการเฉพาะ ซึ่งมีเนื้อความตรงกันข้ามกับสมมติฐานว่าง หรืออาจไม่มีก็ได้

ความผิดพลาดชนิดที่หนึ่ง (type I error) คือการปฏิเสธสมมติฐานว่างที่เป็นจริง มักหมายถึงการสรุปว่าผลนั้นๆ หรือความแตกต่างนั้นๆ มีอยู่จริง ทั้งที่จริงๆ แล้วไม่มีอยู่ ตัวอย่างเช่นการตรวจโรคที่ให้ผลว่าผู้รับการตรวจเป็นโรค ทั้งๆ ที่จริงๆ แล้ว ไม่ได้เป็น หรือสัญญาณเตือนไฟไหม้ดังขึ้นทั้งๆ ที่ไม่มีไฟไหม้อยู่จริง หรือการสรุปว่ายาที่ทดลองอยู่สามารถรักษาโรคได้ทั้งๆ ที่จริงๆ แล้วรักษาไม่ได้ เป็นต้น

ความผิดพลาดชนิดที่สอง (type II error) คือการไม่ปฏิเสธสมมติฐานว่างที่เป็นเท็จ

  1. Sheskin, David (2004). Handbook of Parametric and Nonparametric Statistical Procedures. CRC Press. p. 54. ISBN 1584884401.