ความคิดเห็นทางศาสนาของไอแซก นิวตัน
บทความนี้อาจต้องการตรวจสอบต้นฉบับ ในด้านไวยากรณ์ รูปแบบการเขียน การเรียบเรียง คุณภาพ หรือการสะกด คุณสามารถช่วยพัฒนาบทความได้ |
ไอแซก นิวตัน (4 มกราคม 1643 – 31 มีนาคม 1727)[1] ถือเป็นนักศาสนศาตร์ที่มีความรู้และความเชียวชาญตามความเห็นของชาวโปรเตสแตตนต์ร่วมสมัย[2][3][4] เขาเขียนผลงานขึ้นหลายฉบับที่ปัจจุบันอาจจัดเป็นรหัสยศาสตร์ และยังเขียนบทความด้านศาสนาที่เกี่ยวข้องกับการตีความคัมภีร์ไบเบิลแบบตรงตัว[5] เขาคงความเชื่อนอกรีตเป็นการส่วนตัว
แนวคิดโลกทางกายภาพของนิวตันได้สร้างแบบจำลองที่มั่นคงให้กับโลก นิวตันมองว่าพระเป็นเจ้า เป็นผู้สร้างสรรค์สิ่งต่าง ๆ และการดำรงอยู่นั่นไม่อาจปฏิเสธได้เมื่อพิจารณาจากความงดงามของสิ่งต่างๆ ที่ถูกสร้างขึ้นมา[6][7] แม้ว่าเขาเกิดในครอบครัวนิกายแองกลิคัน แต่ในช่วงอายุสามสิบนิวตันได้ยึดถือความศรัทธาที่ศาสนาคริสต์สายหลักไม่ถือว่าเป็นแบบดั้งเดิม ถ้าเขาเปิดเผยความศรัทธา[8] นักวิชาการหลายคนจัดให้เขานับถือลัทธิเอเรียสแบบไม่อิงตรีเอกภาพ
ประวัติช่วงต้น
แก้นิวตันถือกำเนิดขึ้นในครอบครัวที่นับถือนิกายแองกลิกันสามเดือนหลังจากที่พ่อของเขาเสียชีวิต พ่อของเขาเป็นชาวนาที่ร่ำรวยและชื่อไอแซ็ค นิวตันเช่นกัน เมื่อนิวตันอายุสามขวบ แม่ของเขาแต่งงานกับพระอธิการซึ่งอาศัยอยู่ใกล้บ้านในแพริชนอร์ธ วิทแฮม และได้ย้ายไปอาศัยกับสาธุคุณบาร์นาบัส สมิธ สามีใหม่ของเธอ โดยปล่อยให้ลูกอยู่ในความเลี้ยงดูของแม่ยาย, มาร์เจรี ไอสคอช[9] เห็นได้ชัดว่าไอแซกเกลียดพ่อเขยและไม่มีความสัมพันธ์กับเขาในช่วงวัยเด็ก[8] ลุงของไอแซค, พระอธิการผู้รับใช้ในเบอร์ตัน ค็อกเกิลส์[10] มีส่วนร่วมในการเลี้ยงดูไอแซก
ใน ค.ศ. 1667 นิวตันเข้ารับการศึกษาที่วิทยาลัยทรีนิตี เคมบริดจ์[11] เขาจำเป็นต้องทำศีลอนุกรมเพื่อศึกษาด้านศิลปศาสตรมหาบัณฑิตให้จบภายในเจ็ดปี แล้วยังต้องกล่าวสัตย์ปฏิญาณการอยู่เป็นโสด และรับหลักศาสนาสามสิบเก้าข้อของคริสตจักรแห่งอังกฤษ[12] นิวตันตัดสินใจหยุดเรียนก่อนจบหลักสูตรเพื่อหลีกเลี่ยงการบวชเป็นนักบวชตามกฎหมายของพระเจ้าชาลส์ที่ 2[1][13] ภายหลังเขาหลีกเลี่ยงกฎหมายได้สำเร็จ ด้วยความช่วยเหลือจากไอแซก แบร์โรว เนื่องจากใน ค.ศ. 1676 โจเซฟ วิลเลียมสัน รัฐมนตรีในขณะนั้น ได้เปลี่ยนกฎข้อบังคับของวิทยาลัยทรีนิตีเพื่อยกเลิกข้อผูกมัดในหน้าที่ดังกล่าว[12] เมื่อทราบผลล่วงหน้าเช่นนี้ นิวตันจึงเริ่มศึกษาและค้นคว้าประวัติของคริสตจักรในยุคแรกในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1680 เขากลับประสบความสำเร็จในการสืบหาต้นกำเนิดของศาสนาแทน ซึ่งเป็นช่วงเวลาเดียวกับที่เขาได้พัฒนามุมมองวิทยาศาสตร์ต่อสสารและการเคลื่อนที่[13]ในบทความ Philosophiæ Naturalis Principia Mathematica (หลักปรัชญวิทยาต่อธรรมชาติและคณิตศาสตร์) เขากล่าวไว้ดังนี้:[14]
เมื่อผมเขียนบทความเกี่ยวกับระบบของเรา ผมพบว่าหลักการดังกล่าวอาจเข้ากันได้กับแนวความคิดของคนกลุ่มหนึ่งที่เชื่อเรื่องพระเจ้า และไม่มีสิ่งใดที่จะทำให้ผมรู้สึกยินดีได้เท่ากับการที่ทำให้ทราบว่ามันมีประโยชน์กับคนกลุ่มนั้น
ความเชื่อนอกรีต
แก้นักวิชาการส่วนใหญ่ระบุว่านิวตันนั้นเป็นคนในลัทธิเอเรียส โดยไม่เชื่อในตรีเอกานุภาพ[15][16][17]
การศึกษาของนิวตันนำไปสู่การปฏิเสธความเชื่อในดวงวิญญาณอันเป็นอมตะ เช่นเดียวกันกับการปฏิเสธตรีเอกภาพ[15]
แม้ว่าเขาไม่ใช่พวกโซซิเนียน แต่เขาก็มีความเชื่อหลายส่วนที่คล้ายกันกับกลุ่มลัทธินี้[15] เอกสารตัวเขียนที่เขาส่งให้จอห์น ล็อกเพื่อโต้แย้งเรื่องการมีตัวตนของตรีเอกภาพไม่ได้รับการตีพิมพ์ ใน ค.ศ. 2019 จอห์น รอเจอส์ระบุว่า "จอห์น มิลตันและไอแซกนิวตันผู้นอกรีตทั้งคู่ที่นักวิชาการส่วนใหญ่ยอมรับว่าเป็นผู้นับถือลัทธิเอเรียส"[18][15]
นิวตันนั้นปฏิเสธการทำพิธีศักดิ์สิทธิ์ของคริสต์จักรแองกลิคันก่อนที่เขาจะเสียชีวิต[8]
พระเจ้าในฐานะที่เป็นผู้สร้าง
แก้นิวตันนั้นมีมุมมองต่อพระเจ้าว่าเป็นพระผู้สร้างที่ยิ่งใหญ่ที่ไม่อาจปฏิเสธการดำรงอยู่ของพระองค์ได้เมื่อพิจารณาจากความงดงามในสิ่งต่างๆ ที่ทรงสร้างขึ้น[19] อย่างไรก็ดี เขาปฏิเสธคำวินิจฉัยของไลบ์นิทซ์ที่ว่าพระเจ้าควรจะสร้างโลกที่สมบูรณ์แบบที่ไม่ต้องมีการแทรกแซงจากพระเจ้าอีก ในข้อสอบถามที่ 31 ของOpticks นิวตันได้กล่าวข้อโต้แย้งถึงการทรงสร้างและความจำเป็นที่ต้องมีการแทรกแซงไว้ดังนี้:
ในขณะที่ดาวหางต่างมีการเคลื่อนที่เป็นวิถีที่บิดเบี้ยว ชะตากรรมที่ถูกปิดตา ไม่อาจทำให้ดาวเคราะห์ทุกดวงเคลื่อนที่ไปในทิศทางและรูปร่างเดียวกัน บางดวงอาจจะมีรูปร่างที่แปลกบ้างซึ่งก็อาจเกิดจากการแรงกระทำคู่ระหว่างดาวหางและดาวเคราะห์ซึ่งท้ายที่สุดและระบบก็จำเป็นจะต้องได้รับการปฏิรูปใหม่[20]
ข้อความดังกล่าวถูกไลบ์นิทซ์โจมตีทันทีในจดหมายที่เขาเขียนส่งถึงคาโรลีเนอแห่งอันส์บัค เพื่อนของเขาไว้ว่า:
เซอร์ไอแซก นิวตันและเพื่อนของเขานั้นมีแนวความคิดที่แปลกประหลาดมากในเรื่องการทำงานของพระเจ้า เมื่อพิจารณาจากทฤษฎีของพวกเขา จะพบว่าพระเจ้าผู้ทรงพลังต้องไขลานนาฬิกาบ้างในบางครั้ง เพื่อไม่ให้มันหยุดเดิน ฟังดูราวกับว่าพระเจ้านั้นไม่ได้ทรงหยั่งรู้มันล่วงหน้าถึงไม่ได้สร้างนาฬิกาที่สามารถเดินได้เองตลอดกาล[21]
จดหมายของเลียบนิซนั้นเป็นจุดเริ่มต้นของการโต้ตอบทางจดหมายของไลบ์นิทซ์-คลาร์ก เห็นได้ชัดจากซามูเอล คลาร์ก เพื่อนของนิวตันและสาวก ถึงกระนั้น คาโรลีเนอทรงเขียนว่า จดหมายของคลาร์กนั้น "ไม่ได้ถูกเขียนโดยปราศจากคำแนะนำของนิวตัน"[22] คลาร์คได้ตัดพ้อมุมมองเลียบนิซต่อพระเจ้าที่ว่าเป็น "ผู้ที่มีความฉลาดเฉลียวอย่างสูง" และเป็นผู้ที่ "สถาปนาสิ่งต่างๆ ไว้อย่างลงตัว" นั้นเป็นเพียงคำกล่าวที่ใกล้เคียงกับหลักของผู้ที่ไม่เชื่อว่ามีพระเจ้าอยู่จริง "เพราะเมื่อพิจารณาคำดังกล่าวที่แสร้งว่าระบอบการปกครองใดๆ บนโลกนี้สามารถดำเนินไปได้ด้วยตัวมันเองอย่างสมบูรณ์ ปราศจากกษัตริย์ที่คอยสั่งการหรือจัดระเบียบต่างๆ เช่นนั้นแล้วก็เป็นที่น่าจะเชื่อได้ว่าพวกเขาต้องการที่จะตั้งกษัตริย์แยกไว้ต่างหาก ดังนั้นใครก็ตามที่พอใจในสิ่งนี้ที่ว่าสิ่งมีชีวิตบนโลกสามารถดำรงอยู่ได้โดยที่ไม่ต้องพึ่งพิงการชี้นำของพระเจ้า...ปรัชญานี้แท้จริงแล้วในทางปฏิบัติก็คือต้องการขีดกั้นพระเจ้าออกจากโลก"[23]
นอกเหนือจากที่เข้าร่วมมามีส่วนในการปรับปรุงระบบสุริยะ นิวตันได้กล่าวถึงการทำงานของพระเจ้าที่เข้ามาแทรกแซงเพื่อป้องกันดวงดาวต่างๆ ชนกัน และบางครั้งคำกล่าวนี้รวมไปถึงการที่พระเจ้าทรงป้องกันไม่ให้จักรวาลนั้นเสื่อมสลายไปเนื่องจากผลของความหนืดและแรงเสียดทาน[24] ในการโต้ตอบส่วนตัวนิวตันบางครั้งได้กล่าวเป็นนัยว่าแรงโน้มถ่วงแท้จริงคืออิทธิพลมาจากสิ่งที่ไม่เป็นสสาร:
นี่เป็นสิ่งที่ไม่อาจสามารถเข้าใจได้ว่ามีแรงหรือการกระทำซึ่งมองไม่เห็นที่ทำงานของมันอยู่ที่ส่งผลกระทบต่อสสารโดยที่การกระทำดังกล่าวไม่ได้เป็นปฏิกิริยาแบบสองทาง[25]
ไลบ์นิทซ์กล่าวว่าอิทธิพลที่ไม่ปรากฏดังกล่าวคงจะเป็นการอัศจรรย์ที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง นี่เป็นอีกหัวข้อหนึ่งที่เขาได้โต้เถียงกับคลาร์ก
มุมมองของนิวตันถือว่ามีความใกล้ชิดกับเทวัสนิยม โดยนักชีวประวัติและนักวิชาการบางส่วนต่างระบุให้เขาเป็นนักเทวัสนิยมที่ได้รับอิทธิพลจากศาสนาคริสต์อย่างสูง[26][27][28][29] อย่างไรก็ดี เขามีความแตกต่างจากผู้นับถือเทวัสนิยมอย่างเคร่งครัดตรงที่เขาอ้างถึงพระเจ้าว่าเป็นลักษณะทางกายภาพแบบพิเศษที่ควบคุมการเคลื่อนที่ของดาวเคราะห์[16] เขายังได้เตือนถึงการใช้กฎแรงโน้มถ่วงที่มองจักรวาลเป็นเพียงเครื่องจักรชิ้นหนึ่ง ดังนาฬิกาเรือนใหญ่ เขากล่าวว่า:
ความงดงามของระบบที่ประกอบไปด้วยดวงอาทิตย์, ดาวเคราะห์, และเหล่าดาวหางต่างๆ นั้นสามารถดำรงอยู่ได้ด้วยภายใต้การควบคุมของสิ่งมีชีวิตอันชาญฉลาด พระเจ้าเป็นผู้ควบคุมทุกสิ่ง ไม่เพียงแต่เป็นแค่จิตวิญญาณของโลก แต่ยังเป็นองค์พระผู้เป็นเจ้าสำหรับทุกสิ่ง และเนื่องจากการที่พระองค์ปกครองนั้น ท่านจะถูกเรียกว่า "องค์พระผู้เป็นเจ้า" παντοκρατωρ [pantokratōr] หรือ "ผู้ปกครองแห่งสากลโลก" [...] พระเจ้าสูงสุดนี้เป็นผู้ที่ดำรงอยู่นิจนิรันดร์[6]
แนวความคิดของนิวตันต่อโลกทางกายภาพได้ให้แบบจำลองที่สมดุลของโลกตามธรรมชาติซึ่งช่วยเสริมความมั่นคงและการประสานกันในสังคมแห่งประชากร[30]
พระคัมภีร์ไบเบิล
แก้นิวตันใช้เวลาเป็นอย่างมากในการค้นคว้าข้อความที่ถูกซ่อนไว้ในพระคัมภีร์ หลัง ค.ศ. 1690 นิวตันได้เขียน บทความทางศาสนาที่เกี่ยวข้องกับการตีความตัวอักษรในคัมภีร์ไบเบิล และในเอกสารตัวเขียนที่นิวตันเขียนไว้ใน ค.ศ. 1704 เขาได้อธิบายความพยายามที่จะดึงข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ออกมาจากไบเบิล เขาประมาณการว่าโลกจะพบกับจุดจบภายในปี 2060 ในการทำนายนี้เขากล่าวว่า "นี่ผมไม่ได้กล่าวว่าเวลาที่สิ้นสุดจะเป็นเมื่อไหร่ แต่เพื่อจะหยุดการคาดเดาไปต่างๆ นานาของพวกที่จินตนาการไปเรื่อยถึงวันที่สิ้นสุดของโลก เพราะการกระทำดังกล่าวได้ลดทอนความน่าเชื่อถือของคำพยากรณ์อันศักดิ์สิทธิ์และบ่อยครั้งคำทำนายของพวกเขาก็ล้มเหลว"[31]
คำพยากรณ์
แก้นิวตันเชื่อต่อคำพยากรณ์ที่อยู่ในพระคัมภีร์ เขาเชื่อว่าการตีความของเขาจะช่วยบันทึกต่อสิ่งที่เขาพิจารณาว่า "เข้าใจได้น้อยมาก"[32] แม้เขาจะไม่เคยเขียนผลงานที่เกี่ยวข้องกับคำพยากรณ์อย่างต่อเนื่องกัน แต่ความเชื่อของนิวตันได้นำเขาไปสู่การเขียนบทความหลายชิ้นในหัวข้อดังกล่าว รวมถึงหัวข้อที่ไม่ได้ถูกเผยแพร่ในเรื่องคำแนะนำในการตีความคำพยากรณ์ ชื่อ กฎของการตีความคำและภาษาในคัมภีร์ไบเบิล ในบทความดังกล่าวเขาได้เล่าถึงสิ่งที่จำเป็นต่อการแปลพระคัมภีร์ให้เหมาะสม
วาระสุดท้ายของโลก
แก้ในบทความ สิ่งที่พบจากคำทำนายของดาเนียลและคำพยากรณ์ของนักบุญยอห์น ที่เผยแพร่หลังนิวตันเสียชีวิต นิวตันได้บรรยายความรู้สึกต่อความเชื่อของเขาว่าคำพยากรณ์ที่ปรากฏในพระคัมภีร์นั้นจะไม่สามารถเข้าใจได้จนกว่าจะ "ถึงวาระสุดท้าย" และเมื่อถึงเวลานั้นแล้วก็ตาม "จะไม่มีคนชั่วคนใดเข้าใจได้เลย" เมื่ออ้างถึงสิ่งนั้นที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ("ยุคสุดท้าย, ยุคที่จะเปิดเผยสิ่งต่างๆ , กำลังเข้าใกล้เข้ามา") นิวตันยังได้คาดการณ์ว่า "วาระแห่งการประกาศข่าวประเสริฐที่จะพบได้ทั่วไปนั้นใกล้เข้ามาแล้ว" และ "ข่าวประเสริฐจะต้องถูกเผยแพร่ไปยังชนชาติต่างๆ ก่อนที่เหตุการณ์เลวร้ายครั้งใหญ่จะตามมา และนั้นคือวาระสุดท้ายของโลก"[33]
ในช่วงเวลาหลายปีที่ผ่านมา สื่อจำนวนมากและสาธารณชนได้ให้ความสนใจต่อเอกสารฉบับหนึ่งที่ไม่ถูกเปิดเผยและไม่ได้รีบการตีพิมพ์ แต่จากหลักฐานพบว่าเขียนขึ้นโดยไอแซก นิวตัน ซึ่งบ่งชี้ว่าเขาเชื่อว่าโลกจะถึงกาลอวสานในปี 2060 ในขณะที่นิวตันยังมีปีอื่นที่คิดว่าเป็นไปได้ (เช่น 2034)[34] เขาไม่เชื่อว่าวาระสุดท้ายของโลกจะมาถึงในปี 2060 เป็นการเฉพาะ[35]
2016 หรือ 2060
แก้ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
เพื่อที่จะทำความเข้าใจต่อที่มาของปี 2060 การทำความเข้าใจต่อความเชื่อของนิวตันที่มีต่อศาสนศาสตร์ควรจะนำมาคำนึงด้วยเช่นกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการที่นิวตันไม่เชื่อในตรีเอกานุภาพ และความคิดเชิงลบต่อระบบสันตะปาปา ทั้งสองอย่างนี้เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับเขาในการคำนวณซึ่งเขาเชื่อว่าได้ปรากฏและถูกทำนายเอาไว้แล้วในพระธรรมวิวรณ์และดาเนียล
แม้ว่าภาพการทำนายจุดจบของโลกในปี 2060 ของนิวตันนั้นอาจไม่ได้หมายถึงการทำลายล้างโลก และเหล่าประชากร แต่เขาเชื่อว่าโลกจะถูกแทนที่ด้วยสิ่งใหม่ที่เป็นการเปลี่ยนแปลงของยุคที่มีแต่สันติสุข ในคริสตศาสนศาสตร์ แนวความคิดเช่นนี้บ่อยครั้งจะถูกเชื่อมโยงว่าเป็นการเสด็จกลับมาครั้งที่สองของพระเยซูคริสต์และการสถาปนาแผ่นดินสวรรค์ในราชอาณาจักรของพระเจ้าบนโลก[34]
ความเชื่ออื่น
แก้ความเชื่อต่อจักรวาลและการปฏิเสธทวินิยมการ์เตเชียนของเฮนรี มอร์อาจมีอิทธิพลต่อแนวคิดศาสนาของนิวตัน ผลงานช่วงท้ายอย่าง The Chronology of Ancient Kingdoms Amended (1728) และ Observations Upon the Prophecies of Daniel and the Apocalypse of St. John (1733) ได้รับการตีพิมพ์หลังเสียชีวิต[36]
หลักปรัชญากลศาสตร์ของนิวตันและบอยล์ได้รับการสนับสนุนจากผู้เขียนหนังสือเล่มเล็กที่ยึดหลักเหตุผลนิยมเป็นทางเลือกอื่นแทนกลุ่มผู้ถือสรรพเทวนิยมและผู้คลั่งไคล้ในศาสนา และได้รับการยอมรับอย่างลังเลใจทั้งจากนักบวชออร์ทอดอกซ์และนักเทศน์ที่เห็นต่าง เช่น กลุ่มผู้ยึดมั่นในขนบธรรมเนียมประเพณี (latitudinarians)[30] ความชัดเจนและเรียบง่ายของวิทยาศาสตร์นั้นถูกนำมาใช้เป็นหนทางในการต่อสู้กับการใช้ความรู้สึกและความเชื่อในเรื่องโชครางและสิ่งลึกลับต่าง ๆ รวมทั้งภัยคุกคามจากอเทวนิยม[30]
การโจมตีที่มีขึ้นต่อความคิดเชิงไสยศาสตร์ก่อนยุคเรืองปัญญา และคุณสมบัติด้านรหัสยลัทธิของศาสนาคริสต์เป็นรากฐานในหลักกลศาสตร์จักรวาลของบอยล์ นิวตันทำให้แนวคิดของบอยล์สมบูรณ์ยิ่งขึ้นด้วยการพิสูจน์เชิงคณิตศาสตร์ และที่สำคัญกว่าคือการทำให้แพร่หลายจนประสบความสำเร็จ[36] นิวตันได้ให้มุมมองต่อโลกใหม่ว่าถูกปกครองโดยพระเจ้าที่คอยดูแลบนโลกใบที่พระองค์ได้ทรงออกแบบและสร้างขึ้นด้วยหลักอันเป็นสากลในจักรวาล[37] หลักการนี้ทุกคนสามารถเข้าถึงและค้นพบได้ ซึ่งช่วยให้แต่ละคนสามารถค้นหาและตามหาจุดมุ่งหมายในชีวิตของตนเองให้เกิดผลในโลกนี้ ไม่ใช่โลกหน้า และทำตัวเองให้สมบูรณ์ได้ด้วยกำลังของตน[38]
งานเขียน
แก้งานเขียนชิ้นแรกของนิวตันที่เกี่ยวข้องกับศาสนามีชื่อว่า Introductio. Continens Apocalypseos rationem generalem (Introduction. Containing an explanation of the Apocalypse) ซึ่งมีแผ่นที่ไม่มีเลขหน้าระหว่างสี่หน้ายก 1 กับ 2 ที่มีหัวข้อย่อย De prophetia prima[39] เขียนในภาษาละตินในช่วงก่อน ค.ศ. 1670 การเขียนเป็นภาษาอังกฤษในภายหลังเป็น การบันทึกเกี่ยวกับประวัติศาสตร์คริสตจักรยุคต้นและศีลธรรมที่เหนือกว่าของ 'ชนป่าเถื่อน' ต่อชาวโรมัน งานเขียนสุดท้ายที่ตีพิมพ์ใน ค.ศ. 1737 พร้อมกับผลงานจิปาถะของจอห์น กรีฟส์มีชื่อว่า A Dissertation upon the Sacred Cubit of the Jews and the Cubits of the several Nations[4] นิวตันไม่เคยตีพิมพ์งานเขียนที่เกี่ยวข้องกับไบเบิลศึกษาเลยตอนที่มีชีวิตอยู่[3][40] งานเขียนทั้งหมดของนิวตันที่เกี่ยวกับความทุจริตในพระคัมภีร์และคริสตจักรเขียนขึ้นในช่วงปลายคริสต์ทตวรรษ 1670 ถึงก่อนกลาง ค.ศ. 1690[3]
ดูเพิ่ม
แก้อ้างอิง
แก้- ↑ 1.0 1.1 Christianson, Gale E. (19 September 1996). Isaac Newton and the scientific revolution. – 155 pages Oxford portraits in science Oxford University Press. p. 74. ISBN 0-19-509224-4. สืบค้นเมื่อ 28 January 2012.
- ↑ Austin, William H. (1970), "Isaac Newton on Science and Religion", Journal of the History of Ideas, 31 (4): 521–542, doi:10.2307/2708258, JSTOR 2708258
- ↑ 3.0 3.1 3.2 [ENGLISH & LATIN] "The Newton Project Newton's Views on the Corruptions of Scripture and the Church". สืบค้นเมื่อ 28 January 2012.
- ↑ 4.0 4.1 Professor Rob Iliffe (AHRC Newton Papers Project) THE NEWTON PROJECT – Newton's Religious Writings [ENGLISH & LATIN] prism.php44. University of Sussex. สืบค้นเมื่อ 28 January 2012.
- ↑ "Newton's Views on Prophecy". The Newton Project. 5 April 2007. สืบค้นเมื่อ 15 August 2007.
- ↑ 6.0 6.1 Principia, Book III; cited in; Newton's Philosophy of Nature: Selections from his writings, p. 42, ed. H.S. Thayer, Hafner Library of Classics, NY, 1953.
- ↑ A Short Scheme of the True Religion, manuscript quoted in Memoirs of the Life, Writings and Discoveries of Sir Isaac Newton by Sir David Brewster, Edinburgh, 1850; cited in; ibid, p. 65.
- ↑ 8.0 8.1 8.2 Richard S. Westfall – Indiana University The Galileo Project. (Rice University). สืบค้นเมื่อ 5 July 2008.
- ↑ Nichols, John Bowyer (1822). Illustrations of the literary history of the eighteenth century: Consisting of authentic memoirs and original letters of eminent persons; and intended as a sequel to the Literary anecdotes, Volume 4. Nichols, Son, and Bentley. p. 32.
- ↑ C. D. Broad (2000). Ethics and the History of Philosophy: Selected Essays. Vol. 1. Routledge. p. 3. ISBN 978-0-415-22530-4.
- ↑ Cambridge University Alumni Database Retrieved 29 January 2012
- ↑ 12.0 12.1 Professor Rob Iliffe (AHRC Newton Papers Project) THE NEWTON PROJECT prism.php15. University of Sussex. สืบค้นเมื่อ 7 February 2012.
- ↑ 13.0 13.1 Cambridge University Library .ac. สืบค้นเมื่อ 29 January 2012.
- ↑ S.D.Snobelen (University of King's College) – To Discourse of God : Isaac Newton's Heterdox Theology and Natural Philosophy Nova Scotia Retrieved 29 January 2012
- ↑ 15.0 15.1 15.2 15.3 Snobelen, Stephen D. (1999). "Isaac Newton, heretic : the strategies of a Nicodemite" (PDF). British Journal for the History of Science. 32 (4): 381–419. doi:10.1017/S0007087499003751. S2CID 145208136. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 8 September 2014.
- ↑ 16.0 16.1 Avery Cardinal Dulles. The Deist Minimum. 2005.
- ↑ Richard Westfall, Never at Rest: A Biography of Isaac Newton, (1980) pp. 103, 25.
- ↑ John Rogers, "Newton's Arian Epistemology and the Cosmogony of Paradise Lost." ELH: English Literary History 86.1 (2019): 77-106 online.
- ↑ Webb, R.K. ed. Knud Haakonssen. "The emergence of Rational Dissent." Enlightenment and Religion: Rational Dissent in eighteenth-century Britain. Cambridge University Press, Cambridge: 1996. p19.
- ↑ Newton, 1706 Opticks (2nd Edition), quoted in H. G. Alexander 1956 (ed): The Leibniz-Clarke correspondence, University of Manchester Press.
- ↑ Leibniz, first letter, in Alexander 1956, p. 11
- ↑ Caroline to Leibniz, 10 January 1716, quoted in Alexander 1956, p. 193. (Chev. = Chevalier i.e. Knight.)
- ↑ Clarke, first reply, in Alexander 1956 p. 14.
- ↑ H.W. Alexander 1956, p. xvii
- ↑ Newton to Bentley, 25 February 1693
- ↑ Force, James E.; Popkin, Richard Henry (1990). Force, James E.; Popkin, Richard Henry (บ.ก.). Essays on the Context, Nature, and Influence of Isaac Newton's Theology. Springer. p. 53. ISBN 9780792305835.
Newton has often been identified as a deist. ...In the 19th century, William Blake seems to have put Newton into the deistic camp. Scholars in the 20th-century have often continued to view Newton as a deist. Gerald R. Cragg views Newton as a kind of proto-deist and, as evidence, points to Newton's belief in a true, original, monotheistic religion first discovered in ancient times by natural reason. This position, in Cragg's view, leads to the elimination of the Christian revelation as neither necessary nor sufficient for human knowledge of God. This agenda is indeed the key point, as Leland describes above, of the deistic program which seeks to "set aside" revelatory religious texts. Cragg writes that, "In effect, Newton ignored the claims of revelation and pointed in a direction which many eighteenth-century thinkers would willingly follow." John Redwood has also recently linked anti-Trinitarian theology with both "Newtonianism" and "deism."
- ↑ Gieser, Suzanne (14 February 2005). The Innermost Kernel: Depth Psychology and Quantum Physics. Wolfgang Pauli's Dialogue with C.G. Jung. Springer. pp. 181–182. ISBN 9783540208563.
Newton seems to have been closer to the deists in his conception of God and had no time for the doctrine of the Trinity. The deists did not recognize the divine nature of Christ. According to Fierz, Newton's conception of God permeated his entire scientific work: God's universality and eternity express themselves in the dominion of the laws of nature. Time and space are regarded as the 'organs' of God. All is contained and moves in God but without having any effect on God himself. Thus space and time become metaphysical entities, superordinate existences that are not associated with any interaction, activity or observation on man's part.
- ↑ McCauley, Joseph L. (1997). Classical Mechanics: Transformations, Flows, Integrable and Chaotic Dynamics. Cambridge University Press. p. 3. ISBN 9780521578820.
Newton (1642–1727), as a seventeenth century nonChristian Deist, would have been susceptible to an accusation of heresy by either the Anglican Church or the Puritans.
- ↑ Hans S. Plendl, บ.ก. (1982). Philosophical problems of modern physics. Reidel. p. 361.
Newton expressed the same conception of the nature of atoms in his deistic view of the Universe.
- ↑ 30.0 30.1 30.2 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อjacob
- ↑ "Papers Show Isaac Newton's Religious Side, Predict Date of Apocalypse". Associated Press. 19 June 2007. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 June 2007. สืบค้นเมื่อ 17 May 2018.
- ↑ Newton, Isaac (5 เมษายน 2007). "The First Book Concerning the Language of the Prophets". The Newton Project. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 พฤศจิกายน 2007. สืบค้นเมื่อ 15 สิงหาคม 2007.
- ↑ Observations upon the Prophecies of Daniel, and the Apocalypse of St. John by Sir Isaac Newton, 1733, J. DARBY and T. BROWNE, Online
- ↑ 34.0 34.1 Snobelen, Stephen D. "Statement on the date 2060". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 October 2013. สืบค้นเมื่อ 4 February 2014.
- ↑ "A time and times and the dividing of times": Isaac Newton, the Apocalypse and 2060 AD Snobelen, S Can J Hist (2003) vol 38 เก็บถาวร 21 กุมภาพันธ์ 2014 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ↑ 36.0 36.1 Westfall, Richard S. (1973) [1964]. Science and Religion in Seventeenth-Century England. U of Michigan Press. ISBN 978-0-472-06190-7.
- ↑ Fitzpatrick, Martin. ed. Knud Haakonssen. "The Enlightenment, politics and providence: some Scottish and English comparisons." Enlightenment and Religion: Rational Dissent in eighteenth-century Britain. Cambridge University Press, Cambridge: 1996. p64.
- ↑ Frankel, Charles. The Faith of Reason: The Idea of Progress in the French Enlightenment. King's Crown Press, New York: 1948. p1.
- ↑ The Newton Project, THEM00046, retrieved 20 January 2014
- ↑ James E. Force; Richard Henry Popkin (1990). Essays on the Context, Nature, and Influence of Isaac Newton's Theology. Springer Science & Business Media. p. 103. ISBN 978-0-7923-0583-5.
อ่านเพิ่ม
แก้- Eamon Duffy, "Far from the Tree" The New York Review of Books, vol. LXV, no. 4 (8 March 2018), pp. 28–29; a review of Rob Iliffe, Priest of Nature: the Religious Worlds of Isaac Newton, (Oxford University Press, 2017).
- Feingold, Mordechai. "Isaac Newton, Heretic? Some Eighteenth-Century Perceptions." in Reading Newton in Early Modern Europe (Brill, 2017) pp. 328-345.
- Feingold, Mordechai. "The religion of the young Isaac Newton." Annals of science 76.2 (2019): 210-218.
- Greenham, Paul. "Clarifying divine discourse in early modern science: divinity, physico-theology, and divine metaphysics in Isaac Newton’s chymistry." The Seventeenth Century 32.2 (2017): 191-215. doi:10.1080/0268117X.2016.1271744.
- Iliffe, Rob. Priest of Nature: The Religious Worlds of Isaac Newton. Oxford University Press: 2017, 536 pp. online review
- Joalland, Michael. "Isaac Newton Reads the King James Version: The Marginal Notes and Reading Marks of a Natural Philosopher". Papers of the Bibliographical Society of America, vol. 113, no. 3 (2019): 297–339. doi:10.1086/704518.
- Manuel, Frank. E. The Religion of Isaac Newton. Oxford: Clarendon Press, 1974.
- Rogers, John. "Newton's Arian Epistemology and the Cosmogony of Paradise Lost." ELH: English Literary History 86.1 (2019): 77-106 online.
- Snobelen, Stephen D. "Isaac Newton, heretic: the strategies of a Nicodemite." British journal for the history of science 32.4 (1999): 381–419. online
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- Isaac Newton Theology, Prophecy, Science and Religion – writings on Newton by Stephen Snobelen
- The Newton Manuscripts at the National Library of Israel – the collection of all his religious writings